ADVANC ชู 3 แกนกลยุทธ์ ขับเคลื่อนธุรกิจโตแกร่ง วางเป้าปีนี้ลูกค้า 5G แตะ 2 ล้านราย

ADVANC ชู 3 แกนเชิงกลยุทธ์ ขับเคลื่อนธุรกิจโตแกร่งระยะยาว วางเป้าปีนี้ลูกค้า 5G แตะ 2 ล้านราย เผยอยู่ระหว่างศึกษาตั้งกองทุน IFF


นางสาวญาดา กีรติพงศ์ภักดี นักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC นำเสนอข้อมูลสรุปผลประกอบการไตรมาส 2/2564 สิ้นสุด 30 มิ.ย. 2564 และภาพรวมธุรกิจบริษัทในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 10 ส.ค. 2564 ว่า การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในช่วงไตรมาส 2/2564 นับตั้งแต่เดือนเม.ย.2564 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคปรับลดลง

โดยธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงได้รับผลกระทบและมีรายได้ลดลง ส่วนโครงข่าย 5G มองว่าเป็น New s-curve ของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งในช่วงไตรมาส 2/2564 มีลูกค้าที่สมัครใช้บริการ 5G กว่า 1 ล้านราย และตั้งเป้าหมายสิ้นปี 2564 จะมีลูกค้าเพิ่มเป็น 2 ล้านราย ขณะที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านมีความต้องการสูงขึ้นจากความจำเป็นในการทำงานและเรียนจากที่บ้าน ส่งผลให้รายได้ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านในช่วงไตรมาส 2/2564 เพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้า และธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรยังคงเติบโต 13% จากปีก่อน

ทั้งนี้รายได้รวมในไตรมาส 2/2564 ทรงตัวเมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และมี EBITDA  เท่ากับ 23,006 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบกับปีก่อน จากการควบคุมต้นทุนที่ดีโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ส่วนกำไรสุทธิเท่ากับ 7,041 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 เทียบกับปีก่อน และลดลงร้อยละ 6 เทียบกับไตรมาสก่อน

ด้าน นางสาวนัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ADVANC เปิดเผยว่า กลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท แบ่งออกเป็น 3 แกนเชิงกลยุทธ์ ใน 4 ธุรกิจ ประกอบด้วย แกนที่ 1 Optimize Core Business คือการสร้างธุรกิจหลักให้เติบโตแข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยเน้นขับเคลื่อนธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไรให้บริษัทมาอย่างยาวนาน ซึ่งการที่จะรักษาให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ก็คือ 5G ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างคอนเนคผ่านเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ โดยการการบริหารจัดการระบบให้กระชับ รวดเร็ว และปรับการให้บริการลูกค้าให้เป็นในรูปแบบดิจิทัลหรือออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ธุรกิจยังเติบโตอย่งแข็งแรงต่อเนื่อง

แกนที่ 2 Build Growth Engine เป็นการสร้างธุรกิจในระยะกลาง หรือในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ได้แก่ ธุรกิจอินเตอร์เน็ตบ้าน (FBB) หรือ เอไอเอสไฟเบอร์ เป็นธุรกิจต่อยอดจากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยการสนับสนุนให้ลูกค้ามือถือเอไอเอสมาเป็นลูกค้าอินเตอร์เน็ตบ้าน ซึ่งปัจจุบันลูกค้าอินเตอร์เน็ตบ้านราว 80% ก็เป็นลูกค้ามือถือของเอไอเอส ซึ่งการเข้าถึงครัวเรือนก็จะเปิดโอกาสบริการใหม่ๆ เข้าไปได้ยิ่งเป็นยุค 5G ไม่ว่าจะเป็น Home solution , Security solution ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต

รวมถึงธุรกิจกลุ่มลูกค้าองค์กร (Enterprise) ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวข้องกับดิจิทัล clound , IoT , cyber security ที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการเติบโตในระยะกลาง โดยธุรกิจ Enterprise เป็นธุรกิจที่มีโปรดักส์หลากหลาย และมีผู้เล่นที่หลากหลายเช่นเดียวกัน โดยสิ่งสำคัญในส่วนนี้คือ การที่บริษัทเป็นตัวเร่งให้เกิดการปรับตัวขององค์กรไทยให้เข้าสู่กับยุคดิจิทัลมากขึ้น

แกนที่ 3 Invest in future คือลงทุนเข้าหาธุรกิจใหม่ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องในอนาคต ซึ่งเป็นการสร้างฐานธุรกิจในระยะยาว เป็น New Digital Business อาทิ การทำ AIS Play การทำเกมแพลตฟอร์ม เป็นต้น

สำหรับ 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile) บริษัทดำเนินธุรกิจนี้มา 30 ปี สร้างผลกำไรและเงินสดแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดย S-Curve ที่มาใหม่ คือ 5G

2.ธุรกิจอินเตอร์เน็ตบ้าน เป็นการเปิดประตูสู่คร้วเรือน โดยการให้บริการผ่านสายไฟเบอร์ ปัจจุบันเป็นเบอร์ 4 ในตลาดมีส่วนแบ่งตลาด 12% โดยในปี 2565 บริษัทตั้งเป้าหมายขึ้นเป็นเบอร์ 3

3.ธุรกิจ Enterprise เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเหลือองค์กรในการลดต้นทุน ผลักดันลุกค้าองค์กรเข้าสู่การดำเนินงานและเข้าถึงลูกค้าในรูปแบบใหม่ สำหรับธุรกิจในส่วนนี้บริษัทพร้อมเปิดรับพันธมิตรผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยี และผู้ให้บริการทางด้าน IT Solution เข้ามาเสริมศัพยภาพการดำเนินงาน อาทิ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญในช่วงระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะช่วยผลักดันการเติบโตของ Cloud Service

4.Digital Platform ที่เห็นชัดเจนได้แก่ AIS Play เป็นแพลตฟอร์มที่ไปพร้อมอินเตอร์เน็ตบ้าน คือกล่อง AIS Play และผ่านมือถือ เป้าหมายหลักธุรกิจนี้ ต้องการสร้าง Retention ให้ลูกค้ามี royalty กับเอไอเอส เป็นบริการต่อยอดที่ให้ Value กับลูกค้าเพิ่มขึ้น และมีใช้จ่ายมากขึ้น ก็จะเกิด ARPU ที่สูงขึ้น และจะทำให้เกิดลูกค้ารายใหม่ที่จะเข้ามาใช้เอไอเอส

โดยในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาหลังจากเปิดตัว Disney Hotstar และรายการโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ มีฐานลูกค้า AIS Play มากกว่า 4 ล้านรายแล้ว ทั้งนี้ value ของธุรกิจที่เกิดขึ้นได้แก่ พรีเมียมแพ็กเกจ ที่จะจับมือกับพาร์ทเนอร์ เช่น disney  หรือ VIU ,การสร้างเกิด Mass market จะเปิดโอกาสฐานโมเดลโฆษณาได้ด้วย อย่างรายการโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ ก็จะเพิ่มคอนเท้นน์นี้เข้ามา , การได้สิทธิ์ถ่ายทอดสดรายการโตเกียวโอลิมปิกเกมส์

ส่วนกรณีที่ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เข้ามาลงทุนในบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH น่าจะมีโอกาสต่อยอดธุรกิจให้เอไอเอสได้ด้วย อย่างไรก็ดี ในส่วนที่ GULF ทำคำเสนอซื้อ ADVANC ต้องรอถึงวันที่ 13 ส.ค.นี้ ถึงจะทราบผล โดยเบื้องต้นรอให้ GULF ผู้ถือหุ้นใหม่ กับผู้ถือหุ้นเดิมของ INTUCH พูดคุยกัน รวมถึงที่นั่งกรรมการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการในส่วนของ INTUCH

นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการนำสินทรัพย์จากธุรกิจโทรคมนาคมขายเข้ากองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) โดยปัจจุบันเอไอเอสมีสินทรัพย์ที่หลากหลาย ได้แก่ สายไฟเบอร์ ซึ่งเอไอเอสน่าจะมีมากที่สุดในประเทศ และมีเสาโทรคมนาคมที่เอไอเอสเป็นเจ้าของมากกว่า 2.2 หมื่นเสา โดยบริษัทจะพิจารณาถึงการทำธุรกิจในระยะยาว และผลในเชิงการเงินว่าจะสามารถสร้างให้เกิด Value กับบริษัทได้อย่างไร

Back to top button