สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 17 ส.ค. 2564

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 17 ส.ค. 2564


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (17 ส.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกดิ่งลงอย่างหนักในเดือนก.ค. อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่น่าผิดหวังของโฮม ดีโปท์ ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,343.28 จุด ลดลง 282.12 จุด หรือ -0.79% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,448.08 จุด ลดลง 31.63 จุด หรือ -0.71% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,656.18 จุด ลดลง 137.58 จุด หรือ -0.93%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (17 ส.ค.) โดยฟื้นตัวขึ้นหลังจากร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ในวันอังคาร หลังจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซนที่สดใสได้ช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นของโรคโควิด-19 ในเอเชียและในภูมิภาคอื่นๆ

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดตลาดที่ระดับ 473.78 จุด เพิ่มขึ้น 0.33 จุด หรือ +0.07%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,181.11 จุด เพิ่มขึ้น 27.13 จุด หรือ +0.38% แต่ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,819.84 จุด ลดลง 18.93 จุด หรือ -0.28% และดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,921.95 จุด ลดลง 3.78 จุด หรือ -0.02%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (17 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและเฮลธ์แคร์ และการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงข้อมูลการจ้างงานที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในอังกฤษ

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,181.11 จุด เพิ่มขึ้น 27.13 จุด หรือ +0.38%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (17 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 70 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 66.59 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 2564

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 48 เซนต์ หรือ 0.70% ปิดที่ 69.03 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 2564

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 ส.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐขยายตัวแข็งแกร่งในเดือนก.ค.

ทั้งนี้สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 2 ดอลลาร์ หรือ 0.11% ปิดที่ 1,787.80 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 13.20 เซนต์ หรือ 0.55% ปิดที่ 23.659 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 27.30 ดอลลาร์ หรือ 2.67% ปิดที่ 993.80 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 102.40 ดอลลาร์ หรือ 3.90% ปิดที่ 2,495.60 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16  ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ รวมทั้งวุ่นวายทางการเมืองในอัฟกานิสถาน, การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และการที่จีนคุมเข้มกฎระเบียบในบริษัทกลุ่มเทคโนโลยี

ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.54% แตะที่ 93.1253 เมื่อคืนนี้

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.56 เยน จากระดับ 109.22 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9148 ฟรังก์ จากระดับ 0.9122 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2624 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2571 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1710 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1775 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3735 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3838 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7251 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7335 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button