“กกพ.” เปิดชื่อ 43 รายผ่านคัดเลือก “โรงไฟฟ้าชุมชน” 150MW คาดเริ่ม COD ต้นปี 68
“กกพ.” เผยรายชื่อ 43 โครงการที่ผ่านผ่านการคัดเลือก “โรงไฟฟ้าชุมชน” กำลังผลิตรวม 150MW คาดเริ่มจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ช่วงเดือน ม.ค.68
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า มีผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) จำนวนทั้งสิ้น 43 ราย คิดเป็นปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 149.50 เมกะวัตต์ (ค่าไฟฟ้าเสนอขายเฉลี่ย 3.1831 บาทต่อหน่วย) แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนประเภทชีวมวลจำนวน 16 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 75.00 เมกะวัตต์ (ค่าไฟฟ้าเสนอขายเฉลี่ย 2.7972 บาทต่อหน่วย) และโรงไฟฟ้าชุมชนประเภทก๊าซชีวภาพรวม 27 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 74.50 เมกะวัตต์ (ค่าไฟฟ้าเสนอขายเฉลี่ย 3.5717 บาทต่อหน่วย) ตามกรอบเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดเป้าหมายจากเชื้อเพลิงชีวมวล 75 เมกะวัตต์ และเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ 75 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ สามารถแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้
สำหรับรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเสนอขายไฟฟ้าตามอัตราส่วนลด (%) FITF ในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) จำนวน 43 ราย มีดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมดจะต้องยอมรับเงื่อนไขการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภายใน 7 วันและลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ภายใน 120 วัน หลังประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ โดยกําหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายใน 36 เดือนนับจากวันลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือภายในวันที่ 21 มกราคม 2568 อย่างไรก็ตามหากผู้เสนอราคารายใดมีข้อสงสัยและต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการพิจารณาด้านราคาสามารถติดต่อสำนักงาน กกพ. ได้ที่ 0-2207-3599 ต่อ 855 ในวันทำการ เวลา 09.30 – 15.30 น.
“สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการจัดสัมมนาผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อชี้แจงแนวทางในการพัฒนาโครงการตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น การเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า การจัดเตรียมเอกสาร COP การจัดรับฟังความเห็นเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ การขอรับใบอนุญาต และ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อให้สามารถพัฒนาโครงการได้อย่างราบรื่น
อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ทำให้โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนฯ ประสบความสำเร็จและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นอยู่กับความเข้าใจของชุมชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพัฒนาโครงการแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการและเป็นต้นแบบของโรงไฟฟ้าชุมชนในระยะต่อไป” นายคมกฤช กล่าว