“บลจ.วี” เปิดขาย IPO กองทุน “ วี โกลบอล วอเตอร์” ช่วง 19-29 พ.ย.นี้

“บลจ.วี” เปิดขาย IPO กองทุนเปิด “ วี โกลบอล วอเตอร์” ระหว่างวันที่ 19-29 พ.ย.นี้ ชูสร้างโอกาสรับผลตอบแทนธุรกิจบริหาร “น้ำ” ทั่วโลก ลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท


นายอิศรา พุฒตาลศรี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (บลจ.วี)  เปิดเผยว่า การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำ เป็นเรื่องสำคัญมากต่อเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตบนโลก จากปริมาณน้ำที่มีมากถึง 70% ต่อสัดส่วนพื้นที่โลกทั้งหมด แต่ปริมาณน้ำ 97.5% บนโลกเป็นน้ำเค็มจากทะเลและมหาสมุทร มีน้ำจืดเพียง 2.5% เท่านั้นและในจำนวนน้ำจืดทั้งหมดนี้มนุษย์สามารถเข้าถึงเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้มีเพียง 1% เท่านั้น

ขณะที่ประชากรโลกมีจำนวนกว่า 7,500 ล้านคน และคาดว่าอีก 30 ปีข้างหน้า ภายในปี 2050 ประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนถึง 9,000 ล้านคน แต่แหล่งน้ำของโลกยังมีปริมาณเท่าเดิม ดังนั้นจะมีผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว นอกจากนี้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปัญหาที่เกี่ยวกับน้ำยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น อาทิเช่น น้ำท่วมในฤดูฝน น้ำแล้งในฤดูร้อน กระแสน้ำในแม่น้ำต่ำลง อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น วิกฤตสภาพภูมิอากาศ หรือการเกิดมลพิษในแหล่งน้ำ ไปจนถึงการกระทบกับภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนชุมชนเมือง และโครงสร้างพื้นฐาน  หากยังไม่มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี

หากพิจารณาแล้วทรัพยากรธรรมชาติเป็นสมบัติของส่วนรวมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงน้ำได้โดยเสรีไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแน่ชัด แต่จากข้อมูลพบว่าผลกระทบที่เกิดกับน้ำมีอยู่ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เช่น ทั่วโลกมีน้ำเสียประมาณ 80% ที่เกิดขึ้นจากมนุษย์และการปล่อยมลพิษทางอุตสาหกรรมที่ยังไม่ผ่านการบำบัด , น้ำดื่มที่บำบัดแล้ว 2 หมื่นล้านลิตรในสหรัฐฯ สูญเสียเปล่าไปทุกวันเนื่องจากท่อประปาที่ชำรุด รวมไปถึงเรื่อง ปริมาณการใช้น้ำในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มขึ้น 33% ต่อชั้นของแผ่นเวเฟอร์ ที่ผลิตระหว่างปี 2015 และ 2019

ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าว จึงเป็นแรงให้เกิดการผลักดันในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อดำเนินการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เสนอให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ โดยมีงบประมาณการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับน้ำประมาณ 50,000 -120,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงและยกระดับการบริหารจัดการน้ำ ที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว , เชื้อโรคต่าง ๆ และสารเคมีมีพิษชนิดอื่น และการจัดการน้ำเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เช่นเดียวประเทศจีน มีการออกพันธบัตรรัฐบาลแบบพิเศษ 1.5 แสนล้านหยวน (ราว 6.96 แสนล้านบาท) เพื่อสนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการอนุรักษ์น้ำในปี 2020 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการเริ่มก่อสร้างโครงการอนุรักษ์น้ำขนาดใหญ่ 45 โครงการ เช่น โครงการการควบคุมน้ำท่วม การสร้างอ่างเก็บน้ำ และอาคารด้านชลประทาน

“นางสาวนิตยา เลิศแสงเพชร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด บลจ. วี กล่าวว่า   ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วโลกมีการลงทุนในเรื่อง นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในระยะยาวและมองว่าเป็นโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำทั่วโลก

ดังนั้นบลจ.วี จึงเปิดเสนอขาย IPO กองทุนเปิด วี โกลบอล วอเตอร์ (WE-AQUA) (ความเสี่ยงระดับ 6 : ความเสี่ยงสูง) ระหว่างวันที่ 19-29 พ.ย. 2564 ลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่ประกอบธุรกิจทางน้ำหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ผ่านกองทุนหลัก BNP PARIBAS AQUA FUND  ด้วยแนวทางการคัดเลือกสินทรัพย์ คือ 1.) คัดเลือกธุรกิจที่มีรายได้เติบโตสูงจากการบริหารทรัพยากรน้ำ  2.) คัดเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ จากการมีแนวทางแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  และ 3.) นำมาทำการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ในระยะยาวโดยผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญ

ทั้งนี้กองทุนเน้นลงทุนเชิงรุกในอุตสาหกรรมน้ำ 3 กลุ่มคือ 1.) การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานน้ำ (Water Infrastructure) ที่รองรับความต้องการอุปกรณ์และการบริการพื้นฐานต่างๆ 2.) การลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพน้ำ (Water Treatment Efficiency ) เช่น ระบบการเพิ่มประสิทธิภาพ, การนำกลับมาใช้ใหม่รวมถึงการทดสอบและตรวจสอบคุณภาพน้ำ และ 3.) ลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภคน้ำ (Water Utilities ) เช่น ระบบประปา การจัดหาน้ำดื่ม และการกลั่นน้ำทะเล

สำหรับตัวอย่างบริษัทที่กองทุนหลักเลือกลงทุนเช่น 1.American Water : บริษัทสาธารณูปโภคของอเมริกาที่ดำเนินงานธุรกิจในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ให้บริการต่างๆ เช่น ระบบการป้องกันท่อน้ำ, โปรแกรมฉุกเฉินเกี่ยวกับระบบประปาในบ้าน,2.Agilent Technologies  : ผู้นำการให้บริการวิเคราะห์, วินิจฉัยและเคมีประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์ที่มีห้องปฏิบัติการอยู่ทั่วโลกช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลเชิงลึกที่ต้องการ รวมถึงจัดหาเครื่องมือ, วัสดุ และแอปพลิ เคชันต่างๆเกี่ยวกับน้ำ

3.Zurn Water Solutions Corp : บริษัทผู้จัดหาโซลูชั่นระบบน้ำขั้นสูงที่หลากหลายในอุตสาหกรรม เช่น การปรับปรุงและรับรองคุณภาพน้ำ ,ความปลอดภัยและการควบคุมการไหล,4.GEORG FISCHER AG N : บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการขนส่งของเหลวและก๊าซโดยระบบท่อ และ 5.Veolia Environ. SA : บริษัทด้านสาธารณูปโภคของฝรั่งเศสที่จัดหาน้ำดื่ม, บริการจัดการของเสีย และพลังงาน

ทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์ลงทุนเชิงรุกและการคัดเลือกหุ้นคุณภาพในอุตสาหกรรมน้ำที่มีผลประกอบการดี ทำให้กองทุนหลัก BNP PARIBAS AQUA FUND (ข้อมูลจาก : BNP PARIBAS AQUA Factsheet  ณ วันที่ 30 ก.ย. 2564) ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่  23.74 %  ย้อนหลัง 1 เดือนอยู่ที่  -5.02 % ย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่  4.40 % ย้อนหลัง 6 เดือน  12.62% และ1 ปี อยู่ที่ 38.82 % เทียบกับดัชนี MSCI World (EUR) NR อยู่ที่ 19.34%,  -2.37%,  2.32%,  9.26%, และ 30.34 % ตามลำดับ (แสดงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง ไม่ปรับเป็นอัตราต่อปี)

“น้ำคือทรัพยากรจำเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต และเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของทุกประเทศ ที่จำเป็นต้องบริหารจัดการและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้รองรับกับความ ต้องการที่เพิ่มขึ้นและลดผลกระทบต่างๆ ทั้งด้านประชากร , สิ่งแวดล้อม ฯลฯ  “กองทุนเปิด วี โกลบอล วอเตอร์ (WE-AQUA) ”  จึงเป็นกองทุนที่สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ควบคู่ไปพร้อมๆกับการพัฒนาทรัพยากรน้ำเพื่อความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิต” นางสาวนิตยา กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (“บลจ.วี”) โทรศัพท์ 02-351-1800 กด 2 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ บลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระ, บล.เคจีไอ, บล.เอเชียเวลท์, บล.ฟิลลิป, บล.กรุงศรี, บล.ไทยพาณิชย์,  บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์,บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน),  บลน.โรโบเวลธ์, บลน.ฟินโนมินา,  บลน.เวลท์ รีพับบลิค, บลน.เว็ลธ์เมจิก, บลน. แอสเซนด์ เวลธ์ และ บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)

Back to top button