จับตา! แบงก์เด้งรับ “พาวเวล” ชิงประธานเฟดสมัย 2 คาดส่งสัญญาณปรับขึ้นดบ.เร็วขึ้น

KBANK-SCB-BBL ลุ้นเด้งรับ "พาวเวล" ติดโผรายชื่อชิงประธานเฟดสมัยที่ 2 คาดส่งสัญญาณปรับขึ้นดบ.เร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายของไทยเริ่มเข้าสู่รอบขาขึ้นเช่นกัน หนุน NIM ฟื้นตัว


ผู้สื่อข่าวรายว่า ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดนตัดสินใจเสนอชื่อนายเจอโรม พาวเวล ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นสมัยที่ 2

เนื่องจากนายพาวเวลจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีในเดือนก.พ.2565 โดยเขาเข้ารับตำแหน่งประธานเฟดในเดือนก.พ.2561 อย่างไรก็ดีการเสนอนชื่อครั้งนี้นายพาวเวลก็ต้องผ่านการรับรองจากวุฒิสภาสหรัฐ

อย่างไรก็ตามนักลงทุนจับตาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดนอาจเสนอชื่อประธานเฟดคนต่อไป ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการกำหนดกฎระเบียบควบคุมตลาดหุ้นวอลล์สตรีท

ขณะเดียวกันการเข้ามารับตำแหน่งอีกสมัยคาดเป็นการส่งสัญญาณทิศทางของเฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น

โดย FedWatch Tool ของ CME Group ซึ่งวิเคราะห์การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนก.ค.2565 จากเดิมที่คาดไว้ในเดือนก.ย.2565

ทั้งนี้นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ว่าเฟดมีแนวโน้ม 80% ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ค.2565 และมีแนวโน้ม 100% ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.2565 ส่วนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนธ.ค.2565 นอกจากนี้ นักลงทุนยังคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปี 2566

ส่วนในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 3 พ.ย.2564 เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% พร้อมกับประกาศปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มตั้งแต่เดือนพ.ย. ซึ่งการลดวงเงิน QE ดังกล่าวจะทำให้เฟดยุติการทำ QE โดยสิ้นเชิงในกลางปี 2565

อย่างไรก็ตามอาจเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น

ทั้งนี้กลุ่มธนาคารพาณิชย์จะได้ประโยชน์ของการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed จะส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายของไทยเริ่มเข้าสู่รอบขาขึ้นเช่นกัน หนุน NIM ฟื้นตัว บวกกับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงที่เริ่มฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ (เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย.2564) ลดความเสี่ยงจากหนี้เสีย การตั้งสำรองลดลง โดยหุ้นแบงก์ที่น่าสนใจ ได้แก่  KBANK, SCB และ BBL

Back to top button