IMH ส่งชุดตรวจ “ONSITE” เสริมทัพสู้ “โอมิครอน” มั่นใจดันรายได้ปี 65 ทะลุ 1.2 พันลบ.
IMH ส่งเอทีเค "ONSITE" เสริมทัพสู้ "โอมิครอน" มั่นใจดันรายได้ปี 65 ทะลุ 1.2 พันลบ. ส่งซิกปิดดีล M&A เร็วๆ นี้ ฟากโบรกฯปรับเป้าแตะ 28 บ.
ดร.สิทธิวัตน์ กำกัดวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ จำกัด (มหาชน) หรือ IMH เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 65 เป็นต้นมา กลุ่ม IMH ได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโควิด ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการแพร่ระบาดของโควิด เชื้อกลายพันธุ์ใหม่ “โคมิครอน” ทั้งการตรวจโควิด และการรักษาคนไข้โควิดแบบครบวงจร ซึ่งล่าสุด IMH ได้เปิดตัว ชุดตรวจโควิดแบบใหม่ “ONSITE” ATK ซึ่งมีความไว (Sensitivity) ในการตรวจจับไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์แบบใหม่ ที่ช่วยในการตรวจเชื้อที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกแบรนด์นึง
ทั้งนี้ การระบาดในวงกว้างของ “โอมิครอน” ในรอบนี้ จะส่งผลให้คนไข้โควิด ในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย เพิ่มขึ้นได้กว่า 10,000 – 30,000 คนต่อวัน จากการประเมินของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจทำให้เตียงคนไข้ มีไม่เพียงพอได้ และมีผลแทรกซ้อนร้ายแรงต่อคนไข้ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน เป็นต้น
“IMH จะเริ่มเปิดให้บริการตรวจโควิดแบบใหม่ “ONSITE” ATK และออกใบรับรองผลโควิด ได้ทั้ง ลูกค้า Walk in และให้บริการตรวจนอกสถานที่ ถึง บริษัท/โรงงาน เพื่อให้ความเชื่อมั่นกับลูกค้าที่กลับเข้าทำงาน และ เพื่อการเดินทาง ซึ่งจะเป็นวิธีทำให้การดำเนินชีวิตตามปกติ ได้อย่างปลอดภัยและ เกิดมั่นใจแก่ตนเองและคนที่ติดต่อรอบข้างอีกด้วย” ดร. สิทธิวัตน์ กล่าว
ขณะที่โรงพยาบาล ประชาพัฒน์ (บริษัทลูก) มีความพร้อมที่จะรับมือกับปริมาณคนไข้ที่จะเข้ามารักษาโควิด ทั้งทางติดต่อตรงที่ โรงพยาบาลประชาพัฒน์ และ ผ่านการตรวจ “ONSITE” ATK โดยหน่วยบุคลากรการแพทย์ ของ โรงพยาบาล อินเตอร์เมดฯ (บริษัทแม่) ซึ่งที่ผ่านมา โรงพยาบาล ประชาพัฒน์ มีประสบการณ์ ในการบริหารจัดการคนไข้โควิด ในปี 2564 ได้เป็นอย่างดี ตลอดจน ได้เตรียมศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะฯ จำนวน 200 เตียงสนาม และ 9 เตียงความดันลบ ซึ่งบริหารงานโดย โรงพยาบาลประชาพัฒน์ ไว้รองรับเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ดร. สิทธิวัตน์ ยังได้กล่าวถึงภาพรวมของกลุ่ม IMH สำหรับปี 2565 ว่า บริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้รวมแตะมีแนวโน้มระดับเกินกว่า 1,200 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นระดับนิวไฮใหม่ รวมทั้งยังสามารถบริหารต้นทุนรวมให้ต่ำลงได้มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จากการ synergy ระหว่าง โรงพยาบาล อินเตอร์เมดฯ (บริษัทแม่) และ โรงพยาบาลประชาพัฒน์ (บริษัทลูก) ซึ่งยังไม่รวมดีลขยายธุรกิจโรงพยาบาลแห่งใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา โดยคาดว่าจะชัดเจนภายในช่วงไตรมาส1/2565 นี้
ด้าน บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งประเมินว่า ภาพรวมธุรกิจ IMH ในช่วงที่ผ่านมาว่า IMH ได้รับอานิสงส์ จากการตรวจเชื้อและรักษาโควิดเนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่มีความครบวงจรด้านการตรวจรักษา รวมถึงผลจากการควบรวมกิจการ (M&A) ส่งผลให้จากการประเมินมองว่าผลกำไรของปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ในปี 2565 นี้ กลุ่ม IMH ยังมีแผนในการต่อยอดและขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจากปัจจัยสนับสนุนเชิงบวกจึงแนะนำซื้อ โดยให้ราคาเหมาะสม 28 บาท