โบรกฯประสานเสียง “ซื้อ” BBL ปักเป้ากำไรปี 65 โต 10% พอร์ตสินเชื่อแกร่ง-ตั้งสำรองลด

โบรกฯประสานเสียง “ซื้อ” BBL ตั้งเป้ากำไรปี 65 โต 10% รับเป้าหมายการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ และการตั้งสำรองที่ดีกว่าคาด และคุณภาพสินทรัพย์ถือว่าไม่น่ากังวล ชูเป้าสูงสุด 165 บาท/หุ้น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โบรกเกอร์เริ่มออกบทวิเคราะห์ที่มีมุมมองต่อแนวโน้มของ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL โดยเฉพาะการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจที่แข็งแกร่งและต้นทุนสินเชื่อที่ลดลงในปี 2565 เพราะธนาคารได้รับผลกระทบจากโควิดน้อยมาก เนื่องจากเน้นให้สินเชื่อแก่บริษัท ขนาดใหญ่และลูกค้าต่างประเทศ (65% ของสินเชื่อทั้งหมด) คุณภาพสินทรัพย์ถือว่าไม่น่ากังวล เนื่องจาก NPL coverage สูงถึง 226% ในปี 2564 โดยเพิ่มคาดการณ์กำไรปี 2565-2566 ขึ้น 3-4% เพื่อสะท้อนการเติบโตของ NII ที่แข็งแกร่ง

โดยมีการประเมินเบื้องต้นทางฝ่ายวิเคราะห์ได้ปรับคาดการณ์กำไรปี 2565 ขึ้น 10% จากเป้าหมายการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ และการตั้งสำรองที่ดีกว่าคาดมอง BBL จะมีพอร์ตสินเชื่อเติบโตได้แข็งแกร่ง

ด้านบริษัท หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หลังจากได้เข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์กับคุณชาติศิริ ประธาน BBL เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา โดย BBL ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อที่ 4-6% (4-6% สำหรับทุกกลุ่มยกเว้น SME ที่ 1-3%) ซึ่งผู้บริหารมองว่าความ ต้องการสินเชื่อยังคงสูงจากการปล่อยกู้ให้องค์กรที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการควบรวม กิจการและการขยายธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทไทย ซึ่งเชื่อว่า BBL จะได้รับอานิสงส์จากการที่ธุรกิจจำนวนมากจากจีนย้ายไปยังเวียดนาม ไทย และอินโดนีเซียจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และเป้าปล่อยคาร์บอนของจีนเป็นศูนย์ เนื่องจากธนาคารมีสาขา 303 แห่งในอินโดนีเซีย และ 2 สาขาในเวียดนาม

ขณะที่ BBL ระบุว่าผลกระทบจาก Omicron นั้นจำกัดมากกว่าที่คาดไว้มาก และเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเนื่องจากการเปิดพรมแดนอีกครั้งและอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น ธนาคารตั้ง เป้าลดการตั้งสำรองเหลือ 2.6 หมื่นล้านบาทในปี 2565 (คาดการณ์ 2.9 หมื่นล้านบาท) จาก 3.1 –3.4 หมื่นล้านบาทในปี 2562-2564 และอัตราส่วน NPL ที่เกี่ยวของกับภาพบริการ

นอกจากนี้ ธนาคารคาดว่า NIM จะทรงตัวจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ 2.10% ในปี 2565 จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัว คาดการณ์ NIM เติบโต2.06% เนื่องจากคาดว่า BBL จะขยายพอร์ตสินเชื่อองค์กรที่ให้ ผลตอบแทนต่ำในปีนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมคาดว่าจะทรงตัวจากงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นสำหรับกองทุนรวมและ bancassurance เพื่อชดเชยค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ลดลงในแง่ของต้นทุน BBL ตั้งเป้าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ (CI) ที่ 50-52% และจะเพิ่มรายได้ของ Permata เพื่อลด CI ทั้งนี้เพิ่มคาดการณ์กำไร “ซื้อ” ราคาเป้าหมายเป็น 165 บาท

สอดคล้องไปกับบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ถึงกรณี BBL หลังจากแถลงเป้าหมายทางการเงินปี 2565 โดยตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อเติบโตในกรอบ 4- 6% สูงกว่าคาดการณ์เล็กน้อย การเติบโตคาดจะหนุนจากอุปสงค์ภาคองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ชัดขึ้น, อุปสงค์สินเชื่อของภาคธุรกิจเพื่อการ ลงทุนในธุรกิจใหม่ (S-curve), กระแสการย้ายฐานการผลิตมายังภูมิภาค ASEAN และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม BBL คาด NIM จะทรงตัว ในระดับ 2.1% เนื่องจากคาดว่าไม่มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ขณะที่รายได้ Non-NII ทรงตัวจากงวดเดียวกันของปีก่อน หลังผลการดำเนินงานแข็งแกร่งในปีที่ผ่านมา ด้านสัดส่วน C/I มองอยู่ในช่วง 50% สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวหลังการควบรวม Permata bank

ส่วนในแง่คุณภาพทรัพย์สิน ฝ่ายบริหารคาดว่าสัดส่วน NPL จะยังเพิ่มขึ้นหลังมาตรการ บรรเทาผลกระทบในการจัดชั้นหนี้จะหมดอายุลงในปีนี้ แต่จะยังต่ำกว่า 4% อย่างไรก็ตามการตั้งสำรองจะทยอยกลับสู่ระดับปกติโดยเฉพาะหลังจากที่ BBL ตั้งสำรองสูง กว่าคาดในปีที่ผ่านจากนโยบายระมัดระวังด้วยเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่รุนแรงกว่าคาด แต่ด้วยปัจจุบันธนาคารมีสัดส่วนการตั้งสำรองต่อ NPL (coverage ratio) สูงถึง 226% ฝ่ายบริหารจึงคาดรายจ่ายการตั้งสำรองที่ 2.6 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 ลดลงจาก 3.4 หมื่นล้านบาท ในปี 2564 และ 3.2 หมื่นล้านบาท ในปี 2563

ทั้งนี้ปรับคาดการณ์กำไรปี 2565 ขึ้น 10% จากเป้าหมายการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ และการตั้งสำรองที่ดีกว่าคาดมอง BBL จะมีพอร์ตสินเชื่อเติบโตได้แข็งแกร่งไม่ เพียงแต่เพราะธุรกิจกลับมาเริ่มดำเนินงาน แต่จะได้แรงหนุนจากการลงทุนใหม่ของ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน นอกจากนี้ BBL เป็นเพียงธนาคารเดียวที่มีการตั้งสำรอง สูงขึ้นในปีที่ผ่านมา การตั้งสำรองที่มีแนวโน้มกลับสู่ระดับปกติจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ ขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรในปี 2565 ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ” ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 154 บาท อ้างอิง PBV 0.57 เท่า (จาก 141 บาทก่อนหน้านี้)

รวมทั้ง บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า มีมุมมองเป็นกลางสำหรับ BBL จากการประชุมเพราะเป้าหมายทางการเงินยังเป็นไปตามคาดไว้ โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) ผู้บริหารคาดสินเชื่อปี 2565 จะเดินหน้าเติบโตได้ 4-6%  จากงวดเดียวกันของปีก่อน (คาด 3%) มาจากการเติบโตในส่วนของสินเชื่อรายใหญ่ 4-6%, Large-SME 3%, Medium-SME 1%, Retail 4-6% และต่างประเทศ 4-6% 2) เป้ าหมายการตั้งสำรองฯที่ 2.6 หมื่นล้านบาท (คาด 3.4 หมื่นล้านบาท) แต่ไม่ตื่นเต้น เพราะข้อมูลในอดีตจะตั้งมากกว่าเป้าที่บอกไว้

รวมทั้ง 3) Permata ทาง BBL ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุน ซึ่งอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Cost to Income ปรับตัวลดลงจาก 62.4% ในปี 2019 เหลือ 53.6% ใน 9 เดือนแรกของปี 2564 (งบปี 2564 ยังไม่ออก) แต่ยังมี ROE ที่เติบโตได้ช้ากว่าคาดเพราะผลกระทบโควิด โดยตั้งเป้า ROE จะแตะที่ 10% (9 เดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 4%) ได้ภายใน 3-5 ปี ข้างหน้า 4) Debt Relief ลดลงอยู่ที่ 11% ของสินเชื่อรวม จากครึ่งหลังของปี 2564 ที่ 14% เพราะหมดมาตรการช่วยเหลือ 2 เดือน และผลดีจากคลายล็อกดาวน์ 5) การเพิ่มขึ้นของ Bond yield จะเป็นบวกต่อ NIM และสินเชื่อของ BBL มากขึ้น เพราะต้นทุน Bond เพิ่มขึ้นท าให้คนเข้ามาขอสินเชื่อมากขึ้น 6) ผู้บริหารเปิดเผยว่ามีการทำเรื่อง digital อย่างต่อเนื่องแต่แค่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ในตอนนี้ยังคงประมาณการกำไรสุทธิในปี 2565 และคาดกำไรในไตรมาส 1 ปี 2565 จะโตได้ทั้งจากงวดเดียวกันของปีก่อน และจากไตรมาสก่อน

โดยทางฝ่ายยังคงประมาณการกำไรสุทธิในปี 2565 อยู่ที่ 2.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%  จากงวดเดียวกันของปีก่อน จากสำรองฯที่ลดลง และยังรายได้ค่าธรรมเนียมที่โตดีรวมถึงมีกำไรจากเงินลงทุนเข้ามาช่วยหนุน ขณะที่คาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2565 จะเติบโตได้ทั้งจากงวดเดียวกันของปีก่อน และจากไตรมาสก่อน จากสำรองฯที่ลดลง Valuation/Catalyst/Risk ราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 146.00 บาท อิงปี 2565 PBV ที่ 0.57 เท่า

อีกทั้ง BBL ยังเป็นธนาคารที่ laggard ที่สุดในกลุ่มธนาคาร โดยซื้อขายที่ PBV เพียง 0.5 เท่า ขณะที่มีความต้านทานต่อภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้ดีกว่ากลุ่มฯ จาก coverage ratio ที่สูงมากที่ระดับ 199% แต่มีความเสี่ยงจากผลกระทบจากโควิดรอบใหม่ และผลการด าเนินงานของธนาคาร Permata ที่อินโดนีเซียไม่เป็นไปตามคาด

Back to top button