สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 1 มี.ค. 2564
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 1 มี.ค. 2564
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเกือบ 600 จุดในวันอังคาร (1 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน รวมทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังจากชาติมหาอำนาจพร้อมใจกันคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะแถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,294.95 จุด ร่วงลง 597.65 จุด หรือ -1.76%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,306.26 จุด ลดลง 67.68 จุด หรือ -1.55% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,532.46 จุด ร่วงลง 218.94 จุด หรือ -1.59%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดทรุดตัวลงในวันอังคาร (1 มี.ค.) โดยถูกกดดันจากการเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนและความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในยูเครน ขณะที่รัสเซียเดินหน้าโจมตียูเครนหลังการเจรจาเพื่อหยุดยิงนั้น ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 442.37 จุด ร่วงลง 10.74 จุด หรือ -2.37%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,396.49 จุด ร่วงลง 262.34 จุด หรือ -3.94%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,904.85 จุด ร่วงลง 556.17 จุด หรือ -3.85% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,330.20 จุด ร่วงลง 128.05 จุด หรือ -1.72%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงในวันอังคาร (1 มี.ค.) หลังวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายลงในยูเครนฉุดหุ้นกลุ่มธนาคารและหุ้นเหมืองแร่ที่ทำธุรกิจในรัสเซียร่วงลง นอกจากนี้ การเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทจดทะเบียนถ่วงตลาดลงด้วย
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,330.20 จุด ร่วงลง 128.05 จุด หรือ -1.72%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทะลุ 100 ดอลลาร์ในวันอังคาร (1 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการที่รัสเซียใช้ปฏิบัติการทางทหารบุกโจมตียูเครนจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังมองว่าการที่สำนักงานพลังงานสากล (IEA) มีมติระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองจำนวน 60 ล้านบาร์เรลนั้น เป็นการตอกย้ำว่าอุปทานน้ำมันโลกมีไม่เพียงพอที่จะรับมือกับภาวะชะงักงันในขณะนี้
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 7.69 ดอลลาร์ หรือ 8% ปิดที่ 103.41 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค. 2557 และเป็นการพุ่งขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ในวันเดียวที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. พุ่งขึ้น 7 ดอลลาร์ หรือ 7.2% ปิดที่ 104.97 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 2557
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทะลุระดับ 1,940 ดอลลาร์ในวันอังคาร (1 มี.ค.) เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ การร่วงของตลาดหุ้นสหรัฐและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำ
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 43.1 ดอลลาร์ หรือ 2.27% ปิดที่ 1,943.8 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2564
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.175 ดอลลาร์ หรือ 4.82% ปิดที่ 25.541 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 13.2 ดอลลาร์ หรือ 1.27% ปิดที่ 1,051.9 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 33.20 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 2,537.80 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (1 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้
ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.73% สู่ระดับ 97.4090
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9189 ฟรังก์ จากระดับ 0.9167 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2739 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2690 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 114.87 เยน จากระดับ 114.88 เยน
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1131 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1226 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3314 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3419 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7251 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7264 ดอลลาร์สหรัฐ