“เอสซีจี” จับมือ “เอาท์ซิสเต็มส์” นำเทคฯ “Low-Code” พลิกโฉมดิจิทัล-แอปพลิเคชัน
“เอสซีจี” จับมือ “เอาท์ซิสเต็มส์” นำเทคโนโลยี Low-Code มาสร้างความสำเร็จ พลิกโฉมกระบวนการทางบัญชีดิจิทัลและพัฒนาแอปพลิเคชันให้บริษัทในเครือกว่า 200 แห่ง
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (SCG) กลุ่มบริษัทชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ประกาศตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการผลิตวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับเพิ่มทักษะการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ด้วยแพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชัน Low-Code จากเอาท์ซิสเต็มส์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มองค์ความรู้แก่พนักงานในการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟที่มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจจากการร่วมมือกับเอาท์ซิสเต็มส์ โดยล่าสุดบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านกระบวนการทางการเงินและบัญชีไปสู่ดิจิทัลด้วยเอาท์ซิสเต็มส์
โดยปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ประกอบกับความต้องการให้ทีมไอทีมุ่งเน้นการทำงานที่เน้นเป้าหมายทางธุรกิจมากขึ้น เอสซีจีจึงได้นำแพลตฟอร์ม Low-Code จากเอาท์ซิสเต็มส์มาใช้เพิ่มทักษะแก่ทีมงานไอทีและพัฒนาแอปพลิเคชันระบบบัญชีต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยทีมของเอสซีจีเอง ด้วยแนวทางการพัฒนาแบบ Low-Code เอสซีจีสามารถสร้างแอปพลิเคชันเพื่อรองรับการดำเนินงานของบริษัทในเครือได้มากกว่า 200 แห่งและยังวางแผนสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงต่อยอดพัฒนานวัตกรรมโซลูชันเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในอนาคต
สำหรับเป้าหมายหลักของเอสซีจีคือการเพิ่มทักษะและพัฒนาองค์ความรู้แก่ทีมงานภายในอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้บริษัทฯ เน้นการพัฒนาด้วยรูปแบบการเขียนโค้ดเป็นหลัก และอาศัยความเชี่ยวชาญของแผนกไอที หรือว่าจ้างบุคคลภายนอกเพื่อให้ทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ ในเครือกว่า 200 บริษัท
ทั้งนี้หน่วยงานด้านไอทีภายใต้สำนักงานบัญชีที่ทรัพยากรต่างๆ เป็นความท้าทายหลักขององค์กร เพราะธุรกิจหลักมุ่งไปที่การพัฒนาแอปพลิเคชันระดับองค์กรที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถรักษาต้นทุนรวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนที่สูงขึ้นได้ ซึ่งจากการนำเทคโนโลยี Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์มาใช้ ทำให้เอสซีจีสามารถพัฒนาแอปฯ ใหม่ๆ ได้มากกว่า 10 แอปฯ ในเวลาเพียง 1 ปี ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขหรืออัปเดตระบบต่าง ๆ ของบริษัทในเครือ ดังนั้นจึงเป็นความสำเร็จที่ตอกย้ำความสามารถของเทคโนโลยี Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์สำหรับนักพัฒนาในทุกองค์กร ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้
นายพิชิต ลีละพันธ์เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานบัญชีกลาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC และกรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี แอคเค้าน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทเอสซีจี มีธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (Cement Building Materials) ธุรกิจเคมี (Chemical) และธุรกิจแพคเกจจิ้ง Packaging) ที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยส่วนกลาง (Corporate) ซึ่งจะรวมถึงฝ่ายไอทีที่ให้การสนับสนุนเรื่องดิจิทัลในทุกด้าน เช่น การพัฒนาระบบบัญชีให้กับทุกธุรกิจในเครือ อาทิ การของบประมาณ ขอสินทรัพย์ และรับผิดชอบดูแลเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้งานในองค์กรอีกด้วย เช่น High-Code, Low-Code, Blockchain, Robotic Process Automation (RPA) เป็นต้น และเนื่องจากบุคลากรไอทีจากส่วนกลางดูแลรับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีทั้งหมดในองค์กร ดังนั้นจึงสามารถนำเทคโนโลยีที่มีอยู่นำมาใช้งานได้อย่างสอดประสานกันได้อย่างลงตัว
“แพลตฟอร์ม Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์ช่วยให้เราขยายทักษะและความสามารถด้านไอทีในการพัฒนาระบบใหม่ ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแก่ทีมงานบัญชีต่าง ๆ ของเรา นอกจากนี้ยังช่วยให้เราพัฒนาและอัปเดตแอปพลิเคชันอื่น ๆ อีกมากกว่า 20 แอปฯ โดยบางแอปฯ เราพัฒนาได้รวดเร็วขึ้นถึง 50% ที่สำคัญเราพัฒนาด้วยทีมงานของเราเอง นอกจากนี้เอสซีจียังได้ต่อยอดจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะแก่บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ โดยตั้งเป้าผลิตนักพัฒนาที่ผ่านการรับรองมาตราฐานจากเอาท์ซิสเต็มส์เพิ่มเป็น 20 ราย ภายในปีนี้ อีกจุดเด่นหลักๆ ของการนำเทคโนโลยี Low-Code มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในเครือคือเราสามารถผสานเข้ากับแอปพลิเคชันต่างๆ รวมถึงแพลตฟอร์มที่ใช้อยู่ปัจจุบันได้ทันที อาทิ SAP, Microsoft และ SCG Integration Hub โดยใช้ เอาท์ซิสเต็มส์เป็นตัวเชื่อม (Gateway API)” นายพิชิต กล่าว
อย่างไรก็ดีเป้าหมายในอนาคตของเอสซีจีคือการเป็นศูนย์กลางการผลิตวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเป็นแหล่งเพิ่มพูนทักษะให้แก่พนักงาน โดยบริษัทฯ วางแผนอัปเกรดทักษะต่างๆ สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี Low-Code เพื่อสร้าง Prototype ออกแบบและพัฒนา UX/UI และมีแผนต่อยอดความร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง เอาท์ซิสเต็มส์ ที่เป็นผู้ให้บริการหลัก ร่วมพัฒนาองค์ความรู้และชุดทักษะที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจ Low-Code Consultant เนื่องจากตลาดในประเทศไทยมีความต้องการเป็นอย่างสูง