สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 18 มี.ค. 2565
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 18 มี.ค. 2565
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (18 มี.ค.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวขึ้นอย่างมาก หลังจากที่การเจรจาระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐและประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนนั้นได้สิ้นสุดลงโดยไม่มีเรื่องน่าประหลาดใจอย่างมากแต่อย่างใด
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,754.93 จุด เพิ่มขึ้น 274.17 จุด หรือ +0.80%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,463.12 จุด เพิ่มขึ้น 51.45 จุด หรือ +1.17% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,893.84 จุด เพิ่มขึ้น 279.06 จุด หรือ +2.05%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันศุกร์ (18 มี.ค.) ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน และขานรับการเจรจาระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐและประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 454.60 จุด เพิ่มขึ้น 4.11 จุด หรือ +0.91%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,620.24 จุด เพิ่มขึ้น 7.72 จุด หรือ +0.12%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,413.09 จุด เพิ่มขึ้น 25.03 จุด หรือ +0.17% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,404.73 จุด เพิ่มขึ้น 19.39 จุด หรือ +0.26%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกใกล้ระดับสูงสุดของวันศุกร์ (18 มี.ค.) และปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดในรอบกว่า 1 ปี เนื่องจากนักลงทุนขานรับการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน และการที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ระมัดระวังในการคุมเข้มนโยบายการเงินในอนาคต
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,404.73 จุด เพิ่มขึ้น 19.39 จุด หรือ +0.26% โดยดัชนีปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 2 สัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ (18 มี.ค.) แต่ยังคงลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากที่การซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวนในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะตึงตัวในตลาดน้ำมันหลังจากรัสเซียถูกคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมัน
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 1.72 ดอลลาร์ หรือ 1.7% ปิดที่ 104.70 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ลดลง 4.2% ในสัปดาห์นี้
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.29 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 107.93 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ลดลง 4.2% ในสัปดาห์นี้
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (18 มี.ค.) และปรับตัวลงรายสัปดาห์รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2564 โดยถูกกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2561
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 13.9 ดอลลาร์ หรือ 0.72% ปิดที่ 1,929.3 ดอลลาร์/ออนซ์ และร่วงลงราว 2.8% ในรอบสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการร่วงลงรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 52.9 เซนต์ หรือ 2.07% ปิดที่ 25.087 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 4.6 ดอลลาร์ หรือ 0.45% ปิดที่ 1,035.9 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 1.0 ดอลลาร์ หรือ 0.04% ปิดที่ 2,493 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและเยนในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (18 มี.ค.) หลังจากธนาคารสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกเมื่อวันพุธ (16 มี.ค.) และวางแผนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ
ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.27% แตะที่ 98.2360 เมื่อคืนนี้
ยูโรอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1056 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1105 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.3184 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3156 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.749 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7377 ดอลลาร์สหรัฐ
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 119.12 เยน จากระดับ 118.59 เยน แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9320 ฟรังก์ จากระดับ 0.9366 ฟรังก์ และดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2600 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2644 ดอลลาร์แคนาดา