SAPPE มั่นใจ Q1 กำไรแกร่ง อานิสงส์ยอดขาย ตลาดตปท.– เงินบาทอ่อนค่าหนุน

SAPPE มั่นใจผลประกอบการปี 2565 จะเติบโตตามคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หลายสำนัก! จับตาไตรมาส 1 โชว์กำไรแกร่ง รับยอดขายในต่างประเทศฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ และเงินบาทอ่อนค่าหนุน ต่อเนื่องไตรมาส 2-3 เป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิ


นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE เปิดเผยกับ “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ผ่านรายการ “ข่าวหุ้น” ออกอากาศทางช่อง MCOT HD30 ในวันที่ 22 เมษายน 2565 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

ปัจจัยสำคัญต่อผลประกอบการปี 2565

จากในปี 2564 มาถึงปัจจุบันในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ของ SAPPE ได้มีการผูกขาดในตลาดต่างประเทศจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อสถานการณ์โควิด-19 มีความคลี่คลายมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มกลับมาฟื้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่จะทำให้ยอดขายในต่างประเทศกลับมาฟื้นตัว ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้บริษัทฯ มองว่าผลประกอบการในปี 2565 จะเติบโตไปในทิศทางบวก หลังจากในปีที่ผ่านมาสัดส่วนของยอดขายมาจากต่างประเทศกว่า 90 ประเทศทั่วโลกสัดส่วน 65% และมาจากภายในประเทศสัดส่วน 35% รวมถึงยอดขายในแต่ละประเทศมีการเติบโตด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนประเทศเกาหลีที่มีการเติบโตสูงถึง 20% และเชื่อว่าในปีนี้ไม่ว่าจะเป็นตลาดในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกา ยอดขายน่าจะมีการปรับตัวไปในทิศทางที่เติบโต

ผลิตภัณฑ์ของ SAPPE

โดยหลักๆ ประกอบด้วย 1.เครื่องดื่มผลไม้ 2.Functional Drink และ 3. Functional Powder ยกตัวอย่างเช่น ผงกาแฟควบคุมน้ำหนัก ยี่ห้อ “เพรียว” ซึ่งในตลาดต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและเป็นตัวชูตลาดในต่างประเทศคือ “MOGU MOGU” หรือ น้ำผลไม้ที่ใส่วุ้นมะพร้าวลงไปด้วย และอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์อย่าง “Sappe Aloe Vera” หรือน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ แต่ในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจะเป็นตัว “Sappe Beauti Series” และเครื่องดื่มวิตามีภายใต้ยี่ห้อ “B’lue” ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ร่วมมือกับ Danone หรืออย่างล่าสุดที่จับมือกับ บริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด ซึ่งเป็นการที่ SAPPE ร่วมมือกับ SMEs หรือ เกษตรกร ในการผลิตสินค้า ในการช่วยเพิ่มช่องทางในการขายด้วยการนำแบรนด์ของตะขาบมาเพิ่มจุดเด่นในสินค้าของ SAPPE โดยนำคุณประโยชน์ของแต่ละสมุนไพรมาผสมให้ลงตัวและให้ความเย็น ชุ่มคอ

โดยในส่วนของการผลิตใน 1-2 ต่อจากนี้ยังสามารถรองรับตลาดได้เพียงพอ แต่ในปีหน้าทาง SAPPE จะเริ่มมองหาถึงการลงทุนในการขยายไลน์การผลิต ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาว่าจะอยู่ภายในประเทศ หรือต่างประเทศ

ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ยังไม่มีนโยบายในการตรึงราคาของผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เงินเฟ้อที่เกิดขึ้น และทางบริษัทฯ จะมองหาช่องทางที่จะไม่ส่งผลกระทบไปยังราคาสินค้า เช่นการลดต้นทุน

สถานการณ์ในไตรมาสที่ 1/2565 เทียบกับ ไตรมาส 4/2564

สำหรับไตรมาส 4/2564 ถือเป็นช่วง Low Season ของบริษัทฯ ขณะที่ไตรมาส 1/2565 จะเป็นช่วงที่ปรับตัวไปในทางที่ดี แต่ในปีนี้มีปัญหาเรื่องของการเดินเรือ เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้สินค้าที่ Export จากช่องทางเรือมีปัญหา ประกอบกับการดีลกับเส้นทางเดินเรือค่อนข้างจะยากในช่วงไตรมาส 4 เพราะฉะนั้นจะมีเรื่องของ Sealed Over ของ Order ในช่วงไตรมาส 4/2564 มากระทบกับช่วงไตรมาส 1/2565 ฉะนั้นแล้วผลประกอบการในไตรมาส 1/2565 จะมีการปรับตัวที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2564 และมองว่ายอดขายทั้งไตรมาสที่ 1/2565 และ 2/2565 จะมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง ซึ่งในยามปกติ High Season จะอยู่ช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 สะส่วนใหญ่ กล่าวคือ Revenue ในไตรมาส 4 มีตัวเลขที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่น ๆ

ขณะที่อัตรากำไรส่วนสุทธิ ที่มีการถูกคาดหมายว่าจะเกินระดับ 12%-13% ทาง Sappe มองว่าด้วยความสามารถในการ Management จึงเชื่อว่าจะสามารถเป็นไปตามเป้าหมายที่ถูกคาดการณ์ไว้ได้

ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะส่งผลดีอย่างไรต่อ Sappe

แน่นอนว่าการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะเป็นผลดีต่อบริษัท เพราะยอดขายที่บริษัทได้รับมีหน่วยเงินเป็น US Dollar แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยที่ยังคงต้องเฝ้าระวัง นั่นก็คือเรื่องของต้นทุน รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งในส่วนของปัญหาเรื่องต้นทุน เนื่องจาก Sappe เป็นบริษัทผลิตเครื่องดื่ม ในส่วนของการผลิต พวกวัตถุดิบเราจะมีการคัดเลือกและล็อคราคามาตั้งแต่ปีที่แล้วหรือช่วง 5 เดือนก่อนการผลิต นั่นหมายความว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 อาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่บริษัทฯ ก็มีการบริหารจัดการในการลดต้นทุน รวมไปถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค้า 2 ปัจจัยนี้จะช่วยทำให้ผลประกอบการของ SAPPE ออกมาในทิศทางที่ดีอยู่แน่นอน

แผนการดำเนินธุรกิจต่อจากนี้

1. การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. การลงทุนในส่วนของคลังสินค้า

ซึ่งโปรเจกต์จะใช้เงินราว 400 ล้านบาท และจะมีผลกระทบช่วง 1-2 ปีต่อจากนี้

 

 

 

 

Back to top button