สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 29 เม.ย. 2565
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 29 เม.ย. 2565
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดิ่งลงกว่า 900 จุดในวันศุกร์ (29 เม.ย.) โดยเป็นการร่วงลงรายวันรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2563 เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังกับการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนบางแห่ง และกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อในสหรัฐพุ่งขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2548
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,977.21 จุด ร่วงลง 939.18 จุด หรือ -2.77%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,131.93 จุด ร่วงลง 155.57 จุด หรือ -3.63% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,334.64 จุด ร่วงลง 536.89 จุด หรือ -4.17%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันศุกร์ (29 เม.ย.) ที่ระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ เนื่องจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนและการทะยานขึ้นของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ได้ช่วยหนุนแรงซื้อหุ้นในวันสุดท้ายของการซื้อขายในเดือนเม.ย.ซึ่งเป็นเดือนที่มีการซื้อขายผันผวนท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 450.39 จุด เพิ่มขึ้น 3.32 จุด หรือ +0.74%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,533.77 จุด เพิ่มขึ้น 25.63 จุด หรือ +0.39%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,097.88 จุด เพิ่มขึ้น 118.04 จุด หรือ +0.84% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,544.55 จุด เพิ่มขึ้น 35.36 จุด หรือ +0.47%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันศุกร์ (29 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ที่ปรับตัวขึ้น และการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในสัปดาห์หน้าท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,544.55 จุด เพิ่มขึ้น 35.36 จุด หรือ +0.47%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (29 เม.ย.) หลังการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวนและหลังจากสัญญาปรับตัวขึ้น 3 วันติดต่อกันก่อนหน้านี้ โดยตลาดน้ำมันถูกกดดัน เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันที่อาจลดลง ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการล็อกดาวน์ในประเทศจีน
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 67 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 104.69 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้น 2.6% ในรอบสัปดาห์นี้
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 1.75 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 109.34 ดอลลาร์/บาร์เรล และในรอบสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้น 2.5%
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (29 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำหลังจากที่ดอลลาร์อ่อนค่าลง และตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงอย่างหนัก
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 20.4 ดอลลาร์ หรือ 1.08% ปิดที่ 1,911.7 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่ลดลง 1.2% ในรอบสัปดาห์นี้ และลดลง 2.1% ในเดือนเม.ย.
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 9.6 เซนต์ หรือ 0.41% ปิดที่ 23.085 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 28.5 เซนต์ หรือ 3.13% ปิดที่ 939.6 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 96.90 ดอลลาร์ หรือ 4.4% ปิดที่ 2,307.00 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (29 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนขายดอลลาร์เพื่อทำกำไรหลังจากปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.64% แตะที่ 102.9580
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 129.45 เยน จากระดับ 130.88 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9712 ฟรังก์ จากระดับ 0.9719 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2831 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2806 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0578 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0509 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าแตะระดับ 1.2597 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2462 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7083 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7095 ดอลลาร์