สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 18 พ.ค. 2565
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 18 พ.ค. 2565
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 1,100 จุดในวันพุธ (18 พ.ค.) ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงในวันเดียวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563 เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐเริ่มส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทค้าปลีก นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่า เฟดไม่ลังเลที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเท่าที่จำเป็นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,490.07 จุด ร่วงลง 1,164.52 จุด หรือ -3.57%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,923.68 จุด ลดลง 165.17 จุด หรือ -4.04% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,418.15 จุด ลดลง 566.37 จุด หรือ -4.73%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันพุธ (18 พ.ค.) นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งถูกเทขายออกมา เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกอีกครั้งเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 433.95 จุด ลดลง 5.02 จุด หรือ -1.14%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,352.94 จุด ลดลง 77.25 จุด หรือ -1.20%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,007.76 จุด ลดลง 178.18 จุด หรือ -1.26% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,438.09 จุด ลดลง 80.26 จุด หรือ -1.07%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันพุธ (18 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการที่เงินเฟ้อของอังกฤษพุ่งขึ้น 9% ในเดือนเม.ย.
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,438.09 จุด ลดลง 80.26 จุด หรือ -1.07%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ (18 พ.ค.) หลังมีรายงานว่าโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐเร่งเพิ่มการผลิตเพื่อรับมือกับสต็อกที่ลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังปรับตัวลงตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐที่ทรุดตัวลงอย่างหนักเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 2.81 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 109.59 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 2.82 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 109.11 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (18 พ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่าเฟดไม่ลังเลที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเท่าที่จำเป็นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 3 ดอลลาร์ หรือ 0.16% ปิดที่ 1,815.9 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 20.6 เซนต์ หรือ 0.95% ปิดที่ 21.544 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 19 ดอลลาร์ หรือ 2.01% ปิดที่ 924.40 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 39.60 ดอลลาร์ หรือ 1.94% ปิดที่ 1,992.60 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (18 พ.ค.) หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่าเฟดไม่ลังเลที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเท่าที่จำเป็นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.43% แตะที่ 103.8100
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2873 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2830 ดอลลาร์แคนาดา แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 128.12 เยน จากระดับ 129.43 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9877 ฟรังก์ จากระดับ 0.9941 ฟรังก์
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0479 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0549 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2346 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2481 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6967 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7014 ดอลลาร์สหรัฐ