สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 8 มิ.ย. 2565
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 8 มิ.ย. 2565
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพุธ (8 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญภาวะถดถอย จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 3%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,910.90 จุด ลดลง 269.24 จุด หรือ -0.81%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,115.77 จุด ลดลง 44.91 จุด หรือ -1.08% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,086.27 จุด ลดลง 88.96 จุด หรือ -0.73%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงในวันพุธ (8 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจที่ซบเซาของเครดิตสวิสถ่วงหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ และของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 440.37 จุด ลดลง 2.51 จุด หรือ -0.57%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,448.63 จุด ลดลง 51.72 จุด หรือ -0.80%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,445.99 จุด ลดลง 110.63 จุด หรือ -0.76% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,593.00 จุด ลดลง 5.93 จุด หรือ -0.08%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันพุธ (8 มิ.ย.) จากความวิตกว่าการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่าง ๆ จะกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก ขณะที่หุ้นวิซซ์ แอร์ ร่วงลง หลังจากคาดการณ์ผลการดำเนินงานขาดทุนในไตรมาสแรก
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,593.00 จุด ลดลง 5.93 จุด หรือ -0.08%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 สัปดาห์ในวันพุธ (8 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย ซึ่งบ่งชี้ว่าความต้องการเชื้อเพลิงในสหรัฐยังคงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากที่จีนประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งจะช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 2.70 ดอลลาร์ หรือ 2.3% ปิดที่ 122.11 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 2565
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 3.01 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 123.58 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 2565
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่สองในวันพุธ (8 มิ.ย.) เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันศุกร์นี้
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 4.4 ดอลลาร์ หรือ 0.24% ปิดที่ 1,856.5 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 8.4 เซนต์ หรือ 0.38% ปิดที่ 22.094 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.3 ดอลลาร์ หรือ 0.13% ปิดที่ 1,011.6 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 27.60 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 1,937.80 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (8 มิ.ย.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นทะลุระดับ 3% ขณะที่ยูโรแข็งค่าขานรับการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจจะส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.23% สู่ระดับ 102.5430
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0718 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0710 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2540 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2588 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7195 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7234 ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 134.16 เยน จากระดับ 132.56 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9778 ฟรังก์ จากระดับ 0.9722 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2558 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2527 ดอลลาร์แคนาดา