สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 13 มิ.ย. 2565

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 13 มิ.ย. 2565


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,516.74 จุด ร่วงลง 876.05 จุด หรือ -2.79%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,749.63 จุด ลดลง 151.23 จุด หรือ -3.88% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,809.23 จุด ดิ่งลง 530.80 จุด หรือ -4.68%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงต่อในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในสหรัฐทำให้เกิดความวิตกว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 412.52 จุด ร่วงลง 10.19 จุด หรือ -2.41% ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,022.32 จุด ลดลง 164.91 จุด หรือ -2.67%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,427.03 จุด ลดลง 334.80 จุด หรือ -2.43% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,205.81 จุด ลดลง 111.71 จุด หรือ -1.53

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) สู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจอังกฤษหดตัวลงเกินคาดในเดือนเม.ย. ซึ่งเพิ่มความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจก่อนการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในสัปดาห์นี้

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,205.81 จุด ลดลง 111.71 จุด หรือ -1.53

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากมุมมองที่ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกยังคงเผชิญภาวะตึงตัว อย่างไรก็ดี การซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการที่จีนกลับมาใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวดอีกครั้งในกรุงปักกิ่ง จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 26 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 120.93 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 26 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 122.27 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับปัจจัยลบจากความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้เพื่อสกัดเงินเฟ้อ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้นเกินคาด

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 43.7 ดอลลาร์ หรือ 2.33% ปิดที่ 1,831.8 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งวันที่ 18 พ.ค. 2565

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 67.6 เซนต์ หรือ 3.08% ปิดที่ 21.255 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 38.7 ดอลลาร์ หรือ 3.99% ปิดที่ 932.3 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ดิ่งลง 128.60 ดอลลาร์ หรือ 6.7% ปิดที่ 1,778.40 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงถึง 0.75% หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งสูงกว่าคาด

ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน พุ่งขึ้น 0.89% แตะที่ 105.0730

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9975 ฟรังก์ จากระดับ 0.9881 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2880 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2755 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ134.29 เยน จากระดับ 134.37 เยน

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0426 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0525 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2141 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2318 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6930 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7057 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button