สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 24 มิ.ย. 2565
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 24 มิ.ย. 2565
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นมากกว่า 800 จุดในวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,500.68 จุด เพิ่มขึ้น 823.32 จุด หรือ +2.68%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,911.74 จุด เพิ่มขึ้น 116.01 จุด หรือ +3.06% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,607.62 จุด เพิ่มขึ้น +375.43 จุด หรือ +3.34%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (24 มิ.ย.) และปิดบวกในรอบสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มปรับลดคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่าง ๆ ซึ่งกระตุ้นให้มีเงินลงทุนไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 412.93 จุด พุ่งขึ้น 10.53 จุด หรือ +2.62% และปรับตัวขึ้น 2.4% ในรอบสัปดาห์นี้ หลังติดลบ 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,073.35 จุด พุ่งขึ้น 190.02 จุด หรือ +3.23%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,118.13 จุด พุ่งขึ้น 205.54 จุด หรือ +1.59% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,208.81 จุด พุ่งขึ้น 188.36 จุด หรือ +2.68%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (24 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มปลอดภัยที่ปรับตัวขึ้น หลังจากการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวนในสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่าง ๆ , การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ภาวะเศรษฐกิจโลกจะถดถอย
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,208.81 จุด พุ่งขึ้น 188.36 จุด หรือ +2.68% และปิดบวกในรอบสัปดาห์นี้ หลังลดลงติดต่อกัน 3 สัปดาห์
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (24 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากความวิตกครั้งใหม่เกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่ตึงตัว
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 3.35 ดอลลาร์ หรือ 3.2% ปิดที่ 107.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 3.07 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 113.12 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ (24 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง และความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้กระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 50 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 1,830.3 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่สัญญาทองคำลดลง 0.6% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 8.3 เซนต์ หรือ 0.39% ปิดที่ 21.125 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 70 เซนต์ หรือ 0.08% ปิดที่ 903.7 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 30.20 ดอลลาร์ หรือ 1.7% ปิดที่ 1,854.30 ดอลลาร์/ออนซ์
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ ตลาดหุ้น และลดความต้องการดอลลาร์ซึ่งถือเป็นสกุลเงินปลอดภัย
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.23% แตะที่ระดับ 104.1870
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 135.23 เยน จากระดับ 134.95 เยน, อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9589 ฟรังก์ จากระดับ 0.9611 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2919 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3004 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0551 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0523 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าแตะที่ระดับ 1.2269 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2251 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าสู่ระดับ 0.6939 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6893 ดอลลาร์สหรัฐ