โบรกเชียร์ซื้อ KBANK-JMT ชี้ดีลตั้ง JK AMC บริหารหนี้แสนล้าน ดันกำไรโต

2 โบรกเชียร์ซื้อ KBANK มองบวกดีลร่วมทุน JMT ตั้ง JK AMC มองรับผลดีทั้ง 2 ฝ่าย จับตากำไรโตรับดอกเบี้ยขาขึ้น ชูเป้า KBANK ที่ 185 บาท ส่วน JMT เป้า 103 บาท


บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ (30 มิ.ย.65) กรณีการจัดตั้ง JK AMC ตั้งเป้าซื้อหนี้แสนล้านใน 3 ปี โดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK และ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ร่วมแถลงเรื่องการได้รับอนุมัติจาก ธปท. ให้จัดตั้ง JK AMC เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.65 โดยมีทุนจดทะเบียน 10,000 ล้านบาท ซึ่งทาง KBANK ถือหุ้นสัดส่วน 50% และ JMT ถือหุ้นอีก 50% โดยทาง KBANK ตั้งเป้าจะขายหนี้ SME ขนาดกลาง-เล็ก และหนี้รายย่อยให้แก่ JK AMC ตั้งเป้าการขายภายในไตรมาส 3/65 ราว 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นทั้งหนี้ที่มีหลักประกันและหนี้ไม่มีหลักประกัน (คาดหนี้ไม่มีหลักประกันมีสัดส่วนมากกว่า) และเพิ่มอีก 20,000 ล้านบาท เป็น 50,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 65

โดยทาง JK AMC ตั้งเป้าจะมีมูลหนี้ราว 100,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นการรับโอนจาก KBANK และอาจมีการประมูลซื้อจากสถาบันการเงินอื่น (ที่ไม่ใช่ธนาคาร) เพิ่มเติม โดยในปี 65 คาดจะสามารถรับรู้กำไรได้เลย (ทั้ง KBANK และ JMT รับรู้เป็นส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมในสัดส่วน 50:50) เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของทาง JK AMC จะค่อนข้างต่ำ เนื่องจากอาศัยระบบของ JMT มาช่วยบริหาร (ซึ่งคาด JMT จะได้รายได้ค่าธรรมเนียมจากการบริการติดตาม NPL)

ขณะที่ในแง่เงินทุนทาง JK AMC ตั้ง Debt Covenant ไว้ที่ 3 เท่า ซึ่งจะทำให้มีเงินลงทุนรวมกว่า 40,000 ล้านบาท (หากซื้อหนี้มีหลักประกันและไม่มีหลักประกันในสัดส่วน 30:70 ใกล้เคียงกับที่ JMT เป็นอยู่จะสามารถซื้อหนี้คิดเป็นมูลหนี้ได้ราว 3-4 แสนล้านบาท) ทำให้มีเงินทุนเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนในช่วงแรก แต่ในอนาคตทาง KBANK และ JMT พร้อมที่จะเพิ่มทุนใน JK AMC หากมีธุรกิจขยายตัว

โดยในส่วนของ KBANK การขาย NPL ออกไปให้กับ JK AMC คาดจะส่งผลบวกให้ NPL และสินเชื่อ Stage 2 ลดลง ขณะที่กำไรจากการขายหนี้อาจเพิ่มขึ้น (ขายหนี้ในราคาใกล้เคียงเดิม แต่ปริมาณขายเพิ่มขึ้น) และยังมีการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก JK AMC เข้ามาเพิ่มเติม ขณะที่ยังมีผลบวกในทางอ้อมทำให้ Risk Weight Assets ลดลง ซึ่งทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้

ขณะที่ในส่วนของ JMT คาดจะได้ผลบวกจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก JK AMC เข้ามาเพิ่มทำให้อัตราการเติบโตของกำไรสูงขึ้น โดยยังคงราคาเป้าหมายของ KBANK ไว้ที่ 170 บาท และราคาเป้าหมายของ JMT ไว้ที่ 103 บาท ซึ่งยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ทั้งคู่

ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ คาดว่าปัญหาสินเชื่อจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมาตรการบรรเทาหนี้สิ้นสุดลง แต่ต้นทุนสินเชื่อน่าจะลดลงจากปีก่อนในปี 65-67 เนื่องจาก KBANK ได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

โดยประเมินว่า KBANK จะขยายพอร์ตสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันที่ให้ผลตอบแทนสูงเพื่อเพิ่มรายได้และเร่งแก้ไข NPLs เพื่อเคลียร์งบดุล โดย KBANK น่าจะเป็นผู้รับประโยชน์หลักจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้นแนะนำซื้อ KBANK ราคาเป้าหมาย 185 บาท (P/BV ปี 65 ที่ 0.86 เท่า ROE 9.3%) และแนะนำซื้อ JMT ราคาเป้าหมาย 103 บาท

ขณะที่วานนี้ KBANK และ JMT ได้จัดประชุมนักวิเคราะห์เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทร่วมทุนชื่อ JK Asset Management (JK) ซึ่งบริษัททั้งสองถือหุ้น 50% ใน JK โดยมีทุนชำระแล้ว 1 หมื่นล้านบาท ทาง KBANK จะโอน NPL จำนวน 3 หมื่นล้านบาทให้ JK ใน มิ.ย.65 และ NPL อีก 2 หมื่นล้านในครึ่งปีหลัง

โดย NPL ของ KBANK อยู่ที่ 1.06 แสนล้านบาท และ NPA อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/65 ธนาคารระบุว่าการขาย NPL ให้กับ JK จะทำ ให้ธนาคารได้รับเงินสดและผลตอบแทนจากการลงทุนจาก JK ทั้งนี้ KBANK มีอัตราการเรียกคืนหนี้ได้หลังจากการผิดนัดชำระอยู่ที่ 40-57% สา หรับสินเชื่อที่มีหลักประกัน และ 1-9% สำหรับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน คาดว่า KBANK จะเร่งระบาย NPLs ออกเพื่อรองรับการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันที่ให้ผลตอบแทนสูงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยทาง KBANK ได้ขยายพอร์ตสินเชื่อไม่มีหลักประกันผ่านช่องทางดิจิทัลจาก 5 พันล้านบาทในเดือน ก.พ.64 เป็น 1.5 หมื่นล้านบาทในเดือน ธ.ค.64

ทั้งนี้ เห็นผลกระทบเชิงบวกต่อรายได้จาก NIM ที่ปรับตัวดีขึ้น opex และต้นทุนสินเชื่อที่ลดลง การขาย NPLs ให้กับ JK จะทำให้ KBANK สามารถลดต้นทุนสินเชื่อจากอัตราการเรียกคืนหนี้ที่สูงกว่า ซึ่ง NPL ที่ลดลงจะทาให้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพในอนาคตน้อยลงและช่วยลด opex

นอกจากนี้ KBANK ยังจะได้รับเงินสดจากการขาย NPLs เพื่อปล่อยเงินกู้ใหม่ หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องเพื่อเพิ่ม NII และ NIM โดย KBANK ยังคงเป้าหมายทางการเงินทั้งหมดในปี 65 อาทิ อัตราส่วน NPL ที่ 3.7-4.0% และต้นทุนสินเชื่อสูงสุด 160bps

พร้อมคาดว่า KBANK จะรายงานกาไรสุทธิไตรมาส 2/65 ที่ 1.06 หมื่นล้านบาท (+19% จากปีก่อน แต่ -6% จากไตรมาสก่อน) สินเชื่อน่าจะเติบโต 5% จากปีก่อน และ 1% จากไตรมาสก่อน ขณะที่ NIM จะลดลง 2bps จากไตรมาสก่อน เป็น 3.23% เนื่องจากผลตอบแทนเงินกู้ที่ลดลง จากการเติบโตของสินเชื่อที่แข็งแกร่ง NII คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อน

ขณะที่ Non-NII น่าจะลดลง 6% จากปีก่อน เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่ลดลงจากธุรกิจตลาดทุน คาดว่าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้จะเพิ่มขึ้น 1ppt YoY เป็น 42.7% ในไตรมาส 2/65 เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับไอทีที่สูงขึ้น อัตราส่วน NPL น่าจะเพิ่มขึ้น 9bps จากไตรมาสก่อนเป็น 4.42% ขณะที่ NPL coverage ทรงตัวจากไตรมาสก่อนที่ 138% คาดว่า KBANK จะ ECL อยู่ที่ 9.9 พันล้านบาท (ต้นทุนเครดิต 160bps) ในไตรมาส 2/65

Back to top button