สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 30 มิ.ย. 2565

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 30 มิ.ย. 2565


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,775.43 จุด ร่วงลง 253.88 จุด หรือ -0.82%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,785.38 จุด ลดลง 33.45 จุด หรือ -0.88% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,028.74 จุด ลดลง 149.16 จุด หรือ -1.33%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย.) และปิดตลาดไตรมาส 2 ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2563 เนื่องจากนักลงทุนวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย หลังจากธนาคารกลางต่าง ๆ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 407.20 จุด ลดลง 6.22 จุด หรือ -1.50% และร่วงลง 10.7% ในไตรมาส 2

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,922.86 จุด ลดลง 108.62 จุด หรือ -1.80%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 12,783.77 จุด ลดลง 219.58 จุด หรือ -1.69% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,169.28 จุด ลดลง 143.04 จุด หรือ -1.96%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย.) และปรับตัวลงรายไตรมาสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2563 เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกมากขึ้นว่า เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากธนาคารกลางต่าง ๆ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,169.28 จุด ลดลง 143.04 จุด หรือ -1.96%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและการชะลอตัวของดีมานด์พลังงาน ส่วนผลการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส เมื่อวานนี้ ที่ประชุมมีมติเพิ่มกำลังการผลิต 648,000 บาร์เรล/วันในเดือนส.ค.

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 4.02 ดอลลาร์ หรือ 3.7% ปิดที่ 105.76 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 1.45 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 114.81 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 10.2 ดอลลาร์ หรือ 0.56% ปิดที่ 1,807.3 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 38.6 เซนต์ หรือ 1.86% ปิดที่ 20.352 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 14.6 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 895.3 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 30.50 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 1,916.10 ดอลลาร์/ออนซ์

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานที่สูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.40% แตะที่ระดับ 104.6860

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 135.55 เยน จากระดับ 136.54 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9535 ฟรังก์ จากระดับ 0.9552 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2871 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2895 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0483 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0444 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2182 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2119 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6907 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6875 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button