4 โบรกฟันธง TLI โกยกำไรปี 65 ทะลุหมื่นล้าน อานิสงส์เบี้ยประกันภัย-บอนด์ยีลด์ขาขึ้น
4 โบรกมอง TLI กำไรปี 65 ทะลุหมื่นล้าน รับอานิสงส์เบี้ยประกันภัยรับใหม่ฟื้นและบอนด์ยีลด์ขาขึ้น หนุนอัตรากำไรสุทธิโตแกร่งจากการรับประกันภัยปรับเพิ่มขึ้น
บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI กล่าวว่า บริษัทส่งหุ้น TLI เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) เป็นวันแรกในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ (Ticker) ว่า ‘TLI’ ด้วยราคา IPO ที่ 16.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าเสนอขายรวมประมาณ 37,067 ล้านบาท (รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) นับเป็น IPO ที่มีมูลค่าเสนอขายสูงที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2565 และเป็น IPO ของหุ้นในหมวดธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตที่มีมูลค่าเสนอขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดทุนไทย
รวมทั้งยังมีมูลค่าเสนอขายสูงที่สุดสูงในหมวดธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับจากปี 2543 และมีโอกาสที่จะได้รับการจัดเข้าไปรวมอยู่ในดัชนี SET50 และ SET100 ด้วยเกณฑ์ Fast-Track ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่หุ้นของ TLI เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TLI กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญของไทยประกันชีวิต เมื่อหุ้น TLI ซึ่งเป็นหุ้น IPO ในหมวดธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตที่มีมูลค่าเสนอขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดทุนไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้าทำการซื้อขายเป็นวันแรก การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยให้ไทยประกันชีวิตสามารถรักษาสถานะความเป็นผู้นำและดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งใจไว้ คือ การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่มิติใหม่ และเสริมสร้างศักยภาพอันแข็งแกร่งรองรับการเติบโตในอนาคต
โดยกำหนด Business Purpose สู่การเป็น Life Solutions Provider มุ่งสู่การเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต การประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล เพื่อสร้างความมั่นคงในทุกช่วงของชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต (Life Event) และทุกการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของคนไทย
ทั้งนี้ ไทยประกันชีวิต มีแผนจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุน เพื่อใช้ในการเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการเติบโตในอนาคต โดยเน้นลงทุนในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) และส่งเสริมการตลาด ผ่านนวัตกรรมและโซลูชัน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการและดูแลลูกค้าได้อย่างครบวงจร การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของช่องทางจัดจำหน่ายผ่านทางพันธมิตรที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับลูกค้าทั่วประเทศ ตลอดจนการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินทุน ทั้งสำหรับเงินทุนหมุนเวียนและวัตถุประสงค์อื่นๆ โดยเชื่อว่านักลงทุนจะเห็นถึงศักยภาพของ TLI และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคง และสร้างการเติบโตไปด้วยกัน
สำหรับในวันแรกของการเข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไทยประกันชีวิตมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 11,450 ล้านบาท โดยเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,316.7 ล้านหุ้น (รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) คิดเป็นมูลค่าการระดมทุนรวมทั้งสิ้น 37,067 ล้านบาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ (Market Capitalization) ประมาณ 183,200 ล้านบาทที่ราคา IPO
อย่างไรก็ดี ภายหลังจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครอบครัวไชยวรรณเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โดยถือหุ้นร้อยละ 65.60 และ Meiji Yasuda Life Insurance Company (MY) ถือหุ้นร้อยละ 15.00 (ภายใต้สมมติฐานว่าผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินใช้สิทธิซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) โดยไทยประกันชีวิตมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีและหักสำรองตามที่กฎหมายและข้อบังคับที่บริษัทกำหนด โดยต้องไม่เกินกว่ากำไรสะสมของบริษัท โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมถึงการได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า TLI เป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของประเทศไทยพร้อมด้วยช่องทางตัวแทนประกันที่มีประสิทธิภาพ ทางฝ่ายวิจัยคาดว่า TLI จะมีกำไรและ 1-year VNB ที่เต็มโตดีในปี 2565-2567 โดยได้รับการสนับสนุนรายใหม่ 1) เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ที่ฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ให้อัตรากำไรสูง เช่น ประกันสุขภาพ
2) อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ประกันรับสุทธิที่ค่อยๆ ปรับตัวลดลง และ 3) ROI ที่ยั่งยืน เพราะอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนทำจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยประเมินเหมาะสมของ TLI ได้ที่ 2.04 – 2.11 แสนล้านบาท โดยอิงกับมูลค่าก่อนการระดมทุน
ทั้งนี้ บริษัทประกันชีวิตชั้นนำพร้อมด้วยช่องทางตัวแทนประกันที่มีประสิทธิภาพ TLI เป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับ 2 ที่ประมาณ 15% เมื่อพิจารณาจากเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งหมดในปี 2562-2564
นอกจากนี้ TLI ยังมีช่องทางตัวแทนประกันที่มีประสิทธิภาพ ดังเห็นได้จากการมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในช่องทางตัวแทนประกัน โดยตัวแทนประกันของบริษัทคิดเป็นจำนวนมากกว่า 25% ของจำนวนตัวแทนประกันทั้งหมดในประเทศไทย TLI วางแผนเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 2,207,309,200 หุ้น (ไม่เกิน 19.3% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหลัง IPO) ซึ่งประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 850,000,000 หุ้น (ไม่เกิน 7.4% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหลัง IPO)
2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิมจำนวนไม่เกิน 1,218,815,600 หุ้น (ไม่เกิน 10.6% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหลัง IPO) จากบริษัท วี.ซี.สมบัติ จำกัด และ 3) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิมจำนวนไม่เกิน 138,493,600 หุ้น (ไม่เกิน 1.2% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหลัง IPO) จาก Her Sing (H.K.) Limited
นอกจากนี้บริษัทยังอาจพิจารณาให้มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินให้แก่ผู้ลงทุนเป็นจำนวนไม่เกิน 320,578,000 หุ้น (ไม่เกิน 14.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายทั้งหมด) ด้วยเบี้ยประกันภัยรับใหม่จะเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าเบี้ยประกันภัยรับใหม่จะฟื้นตัวกลับมาเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี ในปี 2565-2567 โดยได้รับการสนับสนุนจาก 1) การกลับมาดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจหลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 2) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ 3) ความต้องการทำประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้นหลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19
4) ความต้องการทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อที่ฟื้นตัวดีขึ้น เพราะธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น และ 5) การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งหมดของ TLI จะอยู่ในระดับทรงตัวในปี 2565 และในปี 2566 เติบโตเล็กน้อยที่ 2% และในปี 2567 เติบโตที่ 3%
โดยคาดว่าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ประกันรับสุทธิของ TLI ในปี 2565 จะอยู่ที่ 108.3% และในปี 2566 อยู่ที่ 108.1% และในปี 2567 อยู่ที่ 107.9% ซึ่งคาดว่าอัตรากำไรจากเบี้ยประกันภัยรับใหม่จะเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการมีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรับใหม่จากผลิตภัณฑ์ที่ให้อัตรากำไรสูงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะค่อยๆ หนุนให้อัตรากำไรสุทธิจากการรับประกันภัยปรับเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี TLI จะได้รับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนจากการนำเงินไปลงทุนต่อในขณะนี้ใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนในพันธบัตรที่กำลังจะครบกำหนดไถ่ถอน โดยคาดว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนจะอยู่ในระดับทรงตัวในปี 2565 ที่ 3.5% จากนั้นจะเพิ่มขึ้นในปี 2566 อยู่ที่ 3.55% และในปี 2567 อยู่ที่ 3.6% คาดว่า ROI จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัวในปี 2565-2567 โดยใช้สมมติฐานกำไรจากเงินลงทุนในระดับทรงตัวที่ 2.7 พันล้านบาท
ทั้งนี้คาดว่ากำไรในปี 2565 จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 24% หลักๆ เป็นเพราะไม่มีการรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเหมือนในปีก่อนและรายได้จากการลงทุนเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นคาดว่ากำไรจะเติบโตปานกลางที่ 13% และ 11% โดยได้แรงหนุนส่วนใหญ่จากรายได้จากการลงทุนที่สูงขึ้นและรายได้จากการรับประกันภัยสุทธิที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ในระยะยาวและมูลค่าก่อนการระดมทุน ยังคงประเมินมูลค่าเหมาะสมของ TLI ได้ที่ 2.04-2.11 แสนล้านบาท โดยอิงกับวิธีประเมินมูลค่าเหมาะสม 2 วิธี 1) 2.11 แสนล้านบาท จาก EV บวก VNB 2) 2.04 แสนล้านบาท จากอัตราส่วน P/EV เฉลี่ยของบริษัทในกลุ่มเดียวกันที่ 1.36 เท่า ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่
1) ลูกค้ามีกำลังซื้อลดลงสืบเนื่องมาจากเงินเฟ้อสูงและ GDP ที่เติบโตต่ำกว่าคาด 2) ความผันผวนของตลาดทุน 3) การเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล และ 4) การนำมาตรฐานการบัญชีใหม่มาใช้
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ ว่าทางฝ่ายวิจัยเห็นการเติบโตที่ดีในระยะยาวของ TLI เป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำที่เป็นแบรนด์ไทยและก่อตั้งโดยคนไทยที่ใหญ่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว จาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว
2) แนวโน้มผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการออมและสุขภาพมากขึ้น และ 3) อัตราการเข้าถึงประกันชีวิตของไทยต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ล้วนหนุน TLI และอุตสาหกรรมประกันชีวิตให้เติบโตในระยะยาวโดยมองแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2565 จะเติบโต 28.6% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และในปี 2566 จะเติบโต 13.0% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน จากธุรกิจประกันชีวิตฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ และธุรกิจลงทุนทยอยฟื้นตัว อานิสงค์จากทิศทางบอนด์ยีลด์ขาขึ้น กำหนดมูลค่าพื้นฐานปี 2565 (Market Capitalization) อยู่ระหว่าง 218,966-235,809 ล้านบาท
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ โดยประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 2565 ของ TLI ที่ 225,376 – 252,658 ล้านบาท โดยอิงวิธีการประเมินมูลค่ากิจการทั้งหมด (Appraised Value) บนสมมติฐานหลัก Discouted rate
สำหรับ VIF ที่ 8% และตัวคูณมูลค่า (Multiple) ของ VONB ที่ 8 – 12 เท่า คำนวณโดยผ่านวิธี Gordon growth model ผลประกอบการที่ผ่านมา และคาดการณ์กำไรสุทธิในปี 2564 ที่ผ่านมาบริษัทรายงานกำไรสุทธิในปี 2564 อยู่ที่ 8,394 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.12% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
โดยรายได้จากเบี้ยประกันภัยรวม (GWP) ทรงตัวเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ที่ 9.05 หมี่นล้านบาท แต่อัตรากำไรสุทธิในปี 2564 อยู่ที่ 7.7% เพิ่มขึ้นจาก 7.2% เมื่อปี 2563 จากกำไรลงทุนเพิ่มขึ้น
ส่วนในปี 2565-2567 คาดกำไรสุทธิในปี 2565 ที่ 10,409 อัตราการเติบโต 24.0% และคาดกำไรสุทธิปี 2566 ที่ 11,761 ล้านบาท และในปี 2567 ที่ 13,244 ล้านบาท อัตราการเติบโต 12.6% (เฉลี่ย 16.4% CAGR ในปี 2563-2567 หนุนโดยเบี้ยประกันภัยรับปีแรกคำนวณเป็นรายปี (APE) เติบโต และอัตราค่าใช้จ่ายฯ ต่อรายได้ลดลง
โดยคาดว่าแนวโน้มการเติบโตในปี 2564-2569 จะเฉลี่ยที่ราว 7 ต่อปี โดยเป็นการเติบโตของเบี้ยประกันรับใหม่โดยเฉลี่ย 8% ต่อปี
นอกจากนี้ ยังมีโอกาสจากการถือครองกรมธรรม์ของคนไทยซึ่งยังมีอัตราที่ต่ำอยู่ที่ 3.8% ต่ำกว่ามาดรฐานสากลอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาที่ระดับ 5.5% หรือสหราชอาณาจักร ที่ระดับ 10.6% ค่อนข้างมาก อีกทั้งปัจจุบันเพิ่งเริ่มขยายฐานลูกค้าไปยังช่องทางใหม่ๆ เช่น ออนไลน์ทำให้ธุรกิจประกันภัยยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องไปในระยะยาว
บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า แนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว Event TLI จะมีการทำ IPO โดยขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปจำนวนไม่เกิน 850 ล้านหุ้น รวมกับหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม (บริษัท วี.ซี. สมบัติจำกัด และ Her Sing (H.K.) Limited) จำนวนไม่เกิน 1,218.8156 ล้านหุ้น และจำนวนไม่เกิน 138.4936 ล้านหุ้นตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นไม่เกิน 19.3% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลัง IPO จำนวน 11,450 ล้านหุ้น
ทั้งนี้คาดว่าผลการดำเนินงานของ TLI ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตแบรนด์ของไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้น โดยคนไทยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยจะแสดงผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่อง โดยคาดการณ์กำไรสุทธิสำหรับปี 2565 ไว้ที่ระดับ 12.9 หมื่นล้านบาท และในปี 2566 อยู่ที่ 13.6 หมื่นล้านบาท เทียบกับกำไรสุทธิระดับ 8.4 พันล้านบาทในปี 2564 โดยมีปัจจัยหนุนจากการเติบโตที่ต่อเนื่องจากธุรกิจประกันชีวิต ภายหลังการระบาดของโควิด-19 ที่ลดความรุนแรงลง
รวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อพอร์ตการลงทุนของบริษัทที่มีทั้งส่วนของตราสารทุน