สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 9 ก.ย. 2565
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 9 ก.ย. 2565
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (9 ก.ย.) และปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์นี้เป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนได้พากันเข้าซื้อหุ้น โดยมองข้ามความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ และดูเหมือนว่านักลงทุนได้ปรับตัวรับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% ในการประชุมเดือนนี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,151.71 จุด เพิ่มขึ้น 377.19 จุด หรือ +1.19%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,067.36 จุด เพิ่มขึ้น 61.18 จุด หรือ +1.53% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,112.31 จุด เพิ่มขึ้น 250.18 จุด หรือ +2.11%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันศุกร์ (9 ก.ย.) และปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 4 สัปดาห์ โดยหุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ได้แรงหนุนจากราคาโลหะที่พุ่งขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 420.37 จุด เพิ่มขึ้น 6.28 จุด หรือ +1.52%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,212.33 จุด เพิ่มขึ้น 86.43 จุด หรือ +1.41%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,088.21 จุด เพิ่มขึ้น 183.89 จุด หรือ +1.43% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,351.07 จุด เพิ่มขึ้น 89.01 จุด หรือ +1.23%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ (9 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมืองแร่ หลังการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวนในสัปดาห์นี้ท่ามกลางสถานการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ซึ่งได้แก่การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,351.07 จุด เพิ่มขึ้น 89.01 จุด หรือ +1.23%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (9 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับอุปทานน้ำมัน และการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้ช่วยหนุนสัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน แต่ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวลงในรอบสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. พุ่งขึ้น 3.25 ดอลลาร์ หรือ 3.9% ปิดที่ 86.79 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ยังคงปรับตัวลง 0.1% ในรอบสัปดาห์นี้
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. พุ่งขึ้น 3.69 ดอลลาร์ หรือ 4.1% ปิดที่ 92.84 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ยังคงลดลง 0.2% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (9 ก.ย.) หลังได้แรงหนุนจากการที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี และยูโรแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ ความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยได้หนุนแรงซื้อสัญญาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยด้วย
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 8.4 ดอลลาร์ หรือ 0.49% ปิดที่ 1,728.6 ดอลลาร์/ออนซ์ และปรับตัวขึ้นเกือบ 0.4% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 32.5 เซนต์ หรือ 1.76% ปิดที่ 18.767 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 10.5 ดอลลาร์ หรือ 1.21% ปิดที่ 876.9 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 30.60 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 2,177.60 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (9 ก.ย.) และแตะระดับต่ำสุดในรอบมากกว่า 1 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ดอลลาร์พุ่งขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ ขณะที่นักลงทุนจะจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์หน้าเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับอัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.64% แตะที่ระดับ 109.0030
ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 142.68 เยน จากระดับ 144.01 เยน, อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9607 ฟรังก์ จากระดับ 0.9716 ฟรังก์ และดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.3032 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3095 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0045 ดอลลาร์ จากระดับ 0.9994 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าแตะที่ระดับ1.1589 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1500 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าแตะระดับ 0.6842 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6748 ดอลลาร์สหรัฐ
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทำการวันศุกร์ที่ 9 ก.ย. เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า
ตลาดหุ้นไต้หวันปิดทำการวันศุกร์ที่ 9 ก.ย. เนื่องในวันหยุดประจำชาติ