DITTO เจาะขุมทรัพย์ “คาร์บอนเครดิต” หนุนกำไรโตยั่งยืน! โบรกเชียร์ซื้อเคาะเป้า 90 บ.
DITTO เจาะขุมทรัพย์ “คาร์บอนเครดิต” หนุนกำไรโตระยะยาว คาดโครงการเฟสแรกบนพื้นที่ป่าชายเลน 1.14 หมื่นไร่ สร้างกำไรส่วนเพิ่มให้กับ DITTO ราว 230 ล้านบาท ในปี 69 และอีก 26 ปีที่เหลือเฉลี่ยกำไรต่อปีอยู่ที่ 300-400 ล้านบาท “บล.บัวหลวง” เชียร์ซื้อเคาะเป้า 90 บ. อัพไซด์ 30%
บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(12 ต.ค.65) ว่า บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ DITTO ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของบริษัทที่หันมารุกธุรกิจสีเขียวเพื่อสร้างการเติบโตระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยเมื่อในวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมาได้ประกาศเซ็นสัญญาโครงการคาร์บอนเครดิตจากการปลูกป่าชายเลนกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยบริษัทจะได้สัมปทานพื้นที่ทั้งหมด 11,448 ไร่สาหรับการปลูกป่าชายเลนในระยะเวลาสัญญา 30 ปี ในด้านผลตอบแทน 10% ของคาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการนี้จะเป็นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อีก 90% จะเป็นของ DITTO)
โดย DITTO จะเริ่มโครงการดังกล่าวในปี 2566 และจะใช้ระยะเวลา 3 ปีก่อนที่จะได้รับคาร์บอนเครดิตในปี 2569 (1 แสนตัน/ปี) โดยคาดงบการลงทุนในปีแรกจะอยู่ที่ 160-170 ล้านบาท และจะมีค่าบำรุงรักษาอยู่ที่ราว 30 ล้านบาท/ปี อิงจากตลาดต่างประเทศ เช่น ยุโรป ราคาคาร์บอนปัจจุบันอยู่ที่ 70 ยูโร/ตันคาร์บอน (ปรับตัวขึ้นจาก 15-20 ยูโร/ตันคาร์บอนในปี 2563 และเคยทำจุดสูงสุดที่ 100 ยูโรในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา) หากอิงจากราคาที่ 70 ยูโร/ตันคาร์บอน คาดโครงการนี้จะสร้างกำไรส่วนเพิ่มให้กับ DITTO ที่ 230 ล้านบาทในปี 2569 และอีกสำหรับ 26 ปีที่เหลือ เทียบกับกำไรในปัจจุบันของ DITTO ที่ 300-400 ล้านบาท/ปี (คิดเป็นอัพไซด์ 50%)
ขณะที่ประเทศไทยประกาศที่จะเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และจะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2608 ในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติปีที่ผ่านมา มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะปล่อยคาร์บอนถึง 370 ล้านตันในปี 2568 โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนลง 20% มาเป็น 120 ล้านตัน (เทียบกับที่ลดได้ 50-60 ล้านตัน/ปี ในช่วงปี 2560-63)
ปัจจุบันมี 136 โครงการที่ลงทะเบียนในแพลตฟอร์มสำหรับคาร์บอนเครดิตซึ่งเป็นการลดคาร์บอนที่ราว 13.5 ล้านตัน/ปี หรือเพียง 3% ของการปล่อยคาร์บอนของประเทศไทย (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการใช้คาร์บอนเครดิตทั่วโลกที่ครอบคลุม 23% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก อ้างอิงจากรายงาน State and Trends of Carbon Pricing ของ World Bank
โดย EY คาดปริมาณซื้อขายของคาร์บอนเครดิตจะเพิ่มขึ้นไปอีก 30-40 เท่าของอุปทานปัจจุบันภายในปี 2578 และคาดว่าราคาคาร์บอนเครดิตอาจจะปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ราว 80-150 เหรียญสหรัฐ/ตันคาร์บอน ในปี 2578 และน่าจะขึ้นไปอยู่ที่ราว 150-200 เหรียญสหรัฐ /ตันคาร์บอนในปี 2593 ขณะที่ Bloomberg Market Specialists ประเมินว่าราคาคาร์บอนจะปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ 224 เหรียญสหรัฐ/ตันภายในปี 2572 ภายใต้กฎที่เข้มงวดยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ราคาคาร์บอนเครดิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของโครงการ การประเมินโดย S&P Global Platts ชี้ให้เห็นว่าเครดิตจากโครงการดูดซับ (เช่น การปลูกป่า) มีราคาสูงกว่าเครดิตจากโครงการอื่นๆ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีพื้นที่ป่าไม้เพื่อให้ครอบคลุม 55% (หรือ 187 ล้านไร่) ของประเทศภายในปี 2580 เพื่อที่จะมีกาลังการดูดซับคาร์บอนเพียงพอสำหรับ 120 ล้านตันคาร์บอน (เทียบกับ 30% ในปัจจุบัน) ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย โดยรวมคาดอุปสงค์ต่อคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยย ขณะที่อุปทานจากัดมาก