สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 11 พ.ย. 2565
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 11 พ.ย. 2565
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (11 พ.ย.) โดยยังคงได้แรงหนุนจากความหวังที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลออัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐต่ำกว่าคาดในเดือนต.ค.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,747.86 จุด เพิ่มขึ้น 32.49 จุด หรือ +0.10%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,992.93 จุด เพิ่มขึ้น 36.56 จุด หรือ +0.92% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,323.33 จุด เพิ่มขึ้น 209.18 จุด หรือ +1.88%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันศุกร์ (11 พ.ย.) และปิดตลาดในรอบสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 8 เดือน โดยได้แรงหนุนส่วนใหญ่จากความหวังที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลง และจีนได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19
ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 432.26 จุด เพิ่มขึ้น 0.37 จุด หรือ +0.09%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,594.62 จุด เพิ่มขึ้น 37.79 จุด หรือ +0.58%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,224.86 จุด เพิ่มขึ้น 78.77 จุด หรือ +0.56% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,318.04 จุด ลดลง 57.30 จุด หรือ +0.78%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันศุกร์ (11 พ.ย.) โดยถูกกดดันจากการที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นหลังการเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษหดตัวลงน้อยกว่าคาด โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษ หดตัวลง 0.2% ในไตรมาส 3 น้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าอาจหดตัวลง 0.5%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,318.04 จุด ลดลง 57.30 จุด หรือ +0.78% และปรับตัวลงในรอบสัปดาห์นี้ หลังบวกติดต่อกัน 3 สัปดาห์
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (11 พ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่จีนประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งจะช่วยหนุนอุปสงค์น้ำมันในประเทศ นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์อันเนื่องมาจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 2.49 ดอลลาร์ หรือ 2.9% ปิดที่ 88.96 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ยังคงลดลง 3.9% ในรอบสัปดาห์นี้
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนม.ค. พุ่งขึ้น 2.32 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 95.99 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ยังคงลดลง 2.6% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (11 พ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 15.70 ดอลลาร์ หรือ 0.9% ปิดที่ 1,769.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. 2565 และในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาทองคำปรับตัวขึ้น 5.5%
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 3.5 เซนต์ หรือ 0.16% ปิดที่ 21.667 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ลดลง 16.9 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 1,038.1 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 72.30 ดอลลาร์ หรือ 3.7% ปิดที่ 2,026.50 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (11 พ.ย.) หลังจากการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่ต่ำกว่าคาด จะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 1.76% สู่ระดับ 106.2950
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 138.53 เยน จากระดับ 141.84 เยน, ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9412 ฟรังก์ จากระดับ 0.9666 ฟรังก์, ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.3248 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3352 ดอลลาร์แคนาดา และดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดนที่ระดับ 10.3512 โครนา จากระดับ 10.6139 โครนา
ส่วนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0366 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0183 ดอลลาร์ และเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.1854 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1696 ดอลลาร์