เปิด 3 จุดฉีดวัคซีน “โควิด” เดือนนี้

เปิด 3 จุดให้บริการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิ “โควิด-19” ในกทม. ช่วงเดือนม.ค.66


สถาบันโรคผิวหนัง เชิญชวนประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 คือ ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง หากรับวัคซีนโควิด-19 เข็มล่าสุดนานเกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้เข้ามารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่เพียงพอจะสามารถป้องกันการป่วยหนัก และลดโอกาสเสียชีวิตได้

โดยสถาบันโรคผิวหนัง เปิดบริการวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) ให้บริการฉีดวัคซีนวันที่ 12, 13, 16, 17,18, 19 และ 20 ม.ค. 66 ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น. จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ณ ชั้น 20 อาคารสถาบันโรคผิวหนัง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เลขที่ 456 ถ.ราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม.

สำหรับชนิดวัคซีนที่ให้บริการ มีดังนี้ อายุ 12 ปีขึ้นไป ไฟเซอร์ฝาสีม่วง (เลือกรูปแบบการฉีดเต็มโดส/ครึ่งโดส/เข้าชั้นผิวหนัง)ส่วนอายุ 5-11 ปี ไฟเซอร์ฝาสีส้ม (รูปแบบการฉีดเต็มโดส) ทั้งนี้คนไทย/ต่างชาติ/ต่างด้าว ทุกเข็ม ตั้งแต่เข็มที่ 1 ขึ้นไป (เข็มกระตุ้น ควรเว้นระยะห่างจากเข็มก่อนหน้าอย่างน้อย 120 วัน)

ทั้งนี้ สามารถจองคิวล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ https://covid19.iod.go.th/vaccine โดยก่อนวันฉีด 1 วัน สามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนได้ผ่านแอปพลิเคชัน “Vaccine บางซื่อ” โดยระบบ Android ดาวน์โหลดได้ที่ https://bit.ly/3wJYsiB และระบบ OS ดาวน์โหลดได้ที่ https://apple.co/31O9FmO

ส่วนผู้ที่ไม่สะดวกจองคิวล่วงหน้า สามารถรับบริการแบบ Walk in ตามวันเวลาทำการ โดยการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมดนั้นไม่มีค่าใช้จ่าย

ขณะที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกระทรวงสาธารณสุข เปิด Walk in ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทุกเข็ม ชนิดวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยให้บริการทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. 66 เป็นต้นไป เวลา 09.00-14.00 น. ณ โถงอาคาร 3 ชั้น 1 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

ส่วนศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เดือน ม.ค.66 สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ทุกสัญชาติ ด้วยวัคซีนชนิดไฟเซอร์ และแอสตร้าเซนเนก้า โดยให้บริการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ (วันเสาร์ที่ 14, 21 และ 28 วันอาทิตย์ที่ 15, 22 และ 29) เปิดจองผ่านแอปพลิเคชัน QueQ และ Walk in เวลา 08.00-16.00 น.

ทั้งนี้สำนักอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

  1. ผู้ที่มีอายุ 6 เดือน-4 ปี: เข็ม 1 ไฟเซอร์ฝาสีแดง ระยะห่างระหว่างเข็ม 4-8 สัปดาห์/ เข็ม 2 ไฟเซอร์ฝาสีแดง ระยะห่างระหว่างเข็มอย่างน้อย 8 สัปดาห์/ เข็ม 3 ไฟเซอร์ฝาสีแดง/ ยังไม่มีคำแนะนำสำหรับเข็ม 4 ขึ้นไป
  2. ผู้ที่มีอายุ 5-11 ปี: เข็ม 1 ไฟเซอร์ฝาสีส้ม ระยะห่างระหว่างเข็ม 4-8 สัปดาห์/ เข็ม 2 ไฟเซอร์ฝาสีส้ม ระยะห่างระหว่างเข็ม 3 เดือน/ เข็ม 3 ไฟเซอร์ฝาสีส้ม ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 เดือนขึ้นไป/ เข็ม 4 ไฟเซอร์ฝาสีส้ม
  3. ผู้ที่มีอายุ 12-17 ปี: เข็ม 1 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 สัปดาห์/ เข็ม 2 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง ระยะห่างระหว่างเข็ม 3 เดือน/ เข็ม 3 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง (เต็มโดส/ครึ่งโดส) ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 เดือนขึ้นไป/ เข็ม 4 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง
  4. ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป:

– เข็ม 1 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 สัปดาห์/ เข็ม 2 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง ระยะห่างระหว่างเข็ม 3 เดือน/ เข็ม 3 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 เดือนขึ้นไป/ เข็ม 4 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง หรือแอสตร้าเซนเนก้า

– เข็ม 1 แอสตร้าเซนเนก้า (ทางเลือก) ระยะห่างระหว่างเข็ม 8 สัปดาห์/ เข็ม 2 แอสตร้าเซนเนก้า (ทางเลือก) ระยะห่างระหว่างเข็ม 3 เดือน/ เข็ม 3 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง หรือแอสตร้าเซนเนก้า ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 เดือนขึ้นไป/ เข็ม 4 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง

– เข็ม 1 แอสตร้าเซนเนก้า (ทางเลือก) ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 สัปดาห์/ เข็ม 2 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง (ทางเลือก) ระยะห่างระหว่างเข็ม 3 เดือน/ เข็ม 3 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง หรือแอสตร้าเซนเนก้า ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 เดือนขึ้นไป/ เข็ม 4 ไฟเซอร์ฝาสีม่วง หรือแอสตร้าเซนเนก้า

สำหรับผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโควิด-19 มาก่อน

– กรณีไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน/ เคยฉีดมาแล้ว 1 เข็ม ควรฉีดวัคซีนกระตุ้น หลังจากเป็นโรค ประมาณ 3 เดือน

– กรณีเคยฉีดวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม ควรฉีดวัคซีนกระตุ้น หลังจากเป็นโรค อย่างน้อย 6 เดือน

หมายเหตุ

– กรณีผู้ประสงค์รับเฉพาะวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าชนิดเดียว ให้เว้นระยะห่างระหว่างแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 2 และแอสตร้าเซนเนก้าเข็มกระตุ้น เป็นเวลา 6 เดือน-1 ปี (เร็วที่สุด 3 เดือน กรณีมีการระบาด)

– กรณีผู้ที่เคยรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเข็มกระตุ้นครั้งที่ 1 แล้ว หากจะรับแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเข็มกระตุ้นครั้งที่ 2 ควรเว้นระยะห่าง 6 เดือน-1 ปี (เร็วที่สุด 4 เดือน กรณีมีการระบาด)

– ในกรณีอื่นๆ สามารถพิจารณาให้วัคซีนตามความสมัครใจ และความจำเป็นอื่นๆ ภายใต้ดุลพินิจของแพทย์

– คำแนะนำเป็นไปตามข้อมูลทางวิชาการในปัจจุบัน อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามผลการศึกษาวิจัยในอนาคต

Back to top button