ด่วน! “เฟด” สั่งปิดแบงก์ซิลิคอนฯ เงินฝากค้างเติ่ง 6 ล้านล้าน ทยอยถอนไม่เกิน 8.7 ลบ./ราย

“เฟด” สั่งปิดแบงก์ซิลิคอนฯ เงินฝากค้างเติ่ง 6 ล้านล้าน ให้ทยอยถอนไม่เกิน 8.7 ล้านบาทต่อราย สะเทือนแบงก์เล็กในสหรัฐถูกเทขายเพื่อลดความเสี่ยงหวั่นกระทบหนัก ฟากแบงก์ใหญ่ดีดบวกท้ายตลาด โบรกฯ มองมีความน่าเชื่อถือและแข็งแรงกว่า


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน่วยงานผู้กำกับนโยบายการเงินสหรัฐประกาศสั่งปิด Silicon Valley Bank (SVB) และให้สถาบันประกันเงินฝากของรัฐบาลสหรัฐเข้าควบคุมเงินฝากของธนาคาร หลังจากที่ธนาคารประสบปัญหาด้านการเงินที่นับเป็นความล้มเหลวที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มธนาคารสหรัฐตั้งแต่ global financial crisis ในปี 2008

โดย Silicon Valley Bank สูญเสียเงิน 1,800 ล้านดอลลาร์จากการขายหลักทรัพย์ในคลังสหรัฐและหลักทรัพย์จำนองที่ธนาคารได้ลงทุนไป เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ธนาคารยังต้องต่อสู้กับเงินฝากของลูกค้าที่หดตัว เนื่องจากฐานลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ก็ขาดสภาพคล่องเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ด้วยปัญหาดังกล่าว Silicon Valley Bank จึงตัดสินใจที่จะระดมเงินจำนวนมากเพื่อปกป้องธุรกิจไว้ โดยแผนดังกล่าวคือ การขายหุ้นสามัญมูลค่า 1.25 พันล้านดอลลาร์ให้แก่นักลงทุน รวมถึงขายหุ้นบุริมสุทธิ (Preferred stock) มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ และหุ้นสามัญ 500 อีกล้านดอลลาร์ ในการทำธุรกรรมแยกต่างหากให้กับ General Atlantic บริษัทหลักทรัพย์เอกชน โดยคาดว่าเป้าหมายคือธนาคารกำลังรักษาและระดมเงินจำนวนนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพไว้

อีกทั้งยังมีรายงานว่า Founders Fund และบริษัทอื่น ๆ แนะนำให้บริษัทในพอร์ตโฟลิโอของพวกเขาถอนเงินออกเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ แม้แต่ VC ที่แสดงการสนับสนุนธนาคารก็ต้องทำแบบเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม สถาบันประกันเงินฝากได้จัดตั้ง Deposit Insurance National Bank of Santa Clara ซึ่งเก็บเงินฝากที่มีหลักประกันของ SVB ไว้ และระบุว่าผู้ที่ต้องการจะฝากเงินว่าสามารถที่จะเข้าถึงบัญชีเงินฝากได้อย่างช้าในวันจันทร์

ขณะที่การปิดตัวลงของ SVB ในขณะนี้จะทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่ใช่เพียงแก่ผู้ฝากเงินเท้านั้น แต่ยังส่งผลต่อวงเงินที่ให้แก่ลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่น (credit facilities) และการเงินในรูปแบบอื่นๆ อย่างไรก็ตามสถาบันประกันเงินฝากสหรัฐที่เข้าควบคุม SVB นั้นระบุว่าลูกค้าที่กู้ยืมเงินจากธนาคารไปก็ควรที่จะยังคงชำระเงินตามปกติ อย่างไรก็ตามราว 89% ของเงินฝากมูลค่า 1.75 แสนล้านดอลฯใน SVB นั้นไม่มีหลักประกัน ซึ่งในขณะนี้สถานะของบัญชีเงินฝากเหล่านั้นยังไม่มีความแน่ชัดจากหน่วยงานที่เข้ามาดูแล

นอกจากนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุโดยอ้างอิงจากแหล่งข่าวว่า หน่วยงานรัฐกำลังเร่งหาธนาคารอื่นที่จะเข้ามาควบรวมกับ SVB ซึ่งยังไม่มีความแน่ชัดในขณะนี้ นอกจากนั้นแหล่งข่าวยังกล่าวว่า SVB Financial ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ SVB อยู่ระหว่างการพูดคุยกับวานิชยกิจ Centerview Partners และสถาบันกฎหมาย Sullivan & Cromwell เพื่อหาคนมาซื้อสินทรัพย์ส่วนอื่นๆของบริษัท รวมถึง วานิชยกิจ SVB Securities, บริษัทบริหารความมั่งคั่ง Boston Private และหน่วยงานวิจัย MoffettNathanson

อย่างไรก็ตาม SVB ยังไม่ได้ยื่นล้มละลาย และยังไม่มีความแน่ชัดว่าผู้ซื้อจะต้องการเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวหรือไม่หากยังไม่มีการยื่นล้มละลาย ส่วน S&P Global Ratings กล่าวไว้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาโดยคาดว่าอีกไม่นาน SVB Financial จะเข้าสู่ภาวะล้มละลายจากหนี้สินที่มีอยู่

ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ SVB ส่งผลกระทบต่อบริษัท startup อย่างมาก เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มองว่า SVB นั้นเป็นที่เพิ่งพาด้านทุน ดังนั้นความวุ่นวายของ SVB ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่กว้างขึ้นในภาคส่วนนี้ทำเกิดแรงเทขายเพื่อลดความเสี่ยงธนาคารรายเล็กในสหรัฐเมื่อวันศุกร์ (10 มี.ค. 66) ได้แก่

Signature Bank ปิดตลาดวันศุกร์ราคาอยู่ที่ระดับ 70 ดอลลาร์ ลบ 20.76 ดอลลาร์ ลดลง 22.87%

After hours ราคาอยู่ที่ระดับ 70.50 ดอลลาร์ บวก 0.50 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.71%

First Republic Bank ปิดตลาดวันศุกร์ราคาอยู่ที่ระดับ 81.76 ดอลลาร์ ลบ 14.25 ดอลลาร์ ลดลง 14.84%

After hours ราคาอยู่ที่ระดับ 76.86 ดอลลาร์ ลบ 4.90 ดอลลาร์ ลดลง 5.99%

PacWest ปิดตลาดวันศุกร์ราคาอยู่ที่ระดับ 12.35 ดอลลาร์ ลบ 7.54 ลดลง 37.91%

After hours ราคาอยู่ที่ระดับ 12.29 ดอลลาร์ ลบ 0.06 ดอลลาร์ ลดลง 0.49%

Western Alliance ปิดตลาดวันศุกร์ราคาอยู่ที่ระดับ 49.34 ดอลลาร์ ลบ 13.02 ลดลง 20.88%

After hours ราคาอยู่ที่ระดับ 48.45 ดอลลาร์ ลบ 0.89 ดอลลาร์ ลดลง 1.80%

รวมถึงธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐก็ได้รับผลกระทบเช่นกันในการซื้อขายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (10 มี.ค.ุ66) แต่ยังอยู่ในระดับที่จำกัดแล้วต่ำกว่าธนาคารขนาดเล็กมาก เช่น

JPMorgan ปิดตลาดวันศุกร์ราคาอยู่ที่ระดับ 133.65 ดอลลาร์ บวก 3.31 เพิ่มขึ้น 2.54%

After hours ราคาอยู่ที่ระดับ 134 ดอลลาร์ บวก 0.35 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.26

Bank of America ปิดตลาดวันศุกร์ราคาอยู่ที่ระดับ 30.27 ดอลลาร์ ลบ 0.27 ดอลลาร์ ลดลง 0.88%

After hours ราคาอยู่ที่ระดับ 30.36 ดอลลาร์ บวก 0.09 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.30%

Citigroup ปิดตลาดวันศุกร์ราคาอยู่ที่ระดับ 48.34 ดอลลาร์ ลบ 0.26 ดอลลาร์ ลดลง 0.54%

After hours ราคาอยู่ที่ระดับ 48.62 ดอลลาร์ บวก 0.28 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.58%

โดยจะเห็นว่าราคาหุ้นช่วงหลังการซื้อขาย หรือ After trading hours หุ้นธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐกลับมายืนอยู่ในแดนบวกได้ ซึ่งทางนักวิเคราะห์มองว่าแบงก์ใหญ่อาจได้ประโยชน์เพราะลูกค้าและนักลงทุนในธนาคารขนาดเล็กเริ่มมีความไม่มั่นใจ ทำให้เงินไหลกลับเข้าแบงก์ใหญ่เพราะมีความน่าเชื่อถือ และแข็งแรงกว่า

ส่วนนักวิเคราะห์จากบางสำนักมองว่าจะเกิดผลกระทบด้านลบต่อกลุ่มธนาคารเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะสร้างความกังวลว่าจะมีความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่หรือไม่ในกลุ่มธนาคาร รวมถึงความอ่อนแอต่อต้นทุนที่สูงขึ้น

Back to top button