ผู้ว่า “ปราจีน” จ่อแถลงด่วน! หลังสารอันตราย “ซีเซียม 137” หายจากโรงไฟฟ้า
ผวจ. “ปราจีน” เตรียมแถลงข่าว 15.00 น. วันนี้ หลังสารอันตราย “ซีเซียม 137” หายไปจากโรงไฟฟ้า คาดมีคนเก็บไปโดยไม่รู้ว่าคืออะไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ช่วงเวลา 15.00 น. จะมีการแถลงการ สารซีเซียม 137 (Cs-137) หายจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ บริเวณนิคมอุตสาหกรรม 304 อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี เบื้องต้นทราบว่า “ซีเซียม 137” ที่หายไป ใช้กับเครื่องเลเซอร์ เพื่อใช้จับฝุ่นขี้เถ้า ในโรงงานผลิตไฟฟ้าไอน้ำ ติดตั้งใช้งานมานาน และหลุดหล่นลงมาจากจุดติดตั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า คนที่พบเห็นอาจไม่รู้ว่ามันคืออะไร จึงเก็บไป โดยยังไม่รู้จุดประสงค์
ทั้งนี้ สารนี้ ทางการแพทย์ยืนยันว่า มีอันตรายต่อสุขภาพ ล่าสุดเลขาฯ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ลงพื้นที่พร้อมเจ้าหน้าที่คณะใหญ่ เพื่อติดตามเรื่องนี้ด้วยตัวเอง และจะแถลงร่วมกับ ผู้ว่าฯ ตอนบ่าย 3 โมง
สำหรับอุปกรณ์นี้ ติดตั้งตั้งแต่ ปี 2534 รวมทั้งหมด 10 เครื่อง แต่เพิ่งทราบว่า หายไปเมื่อ 23 ก.พ. 2566 ตัวที่หายเป็นท่อกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว โดยมีข้อกังวลว่า หากเอาไปขาย หรือ ขโมยไปแลัวเอาไปกำจัดไม่ถูกวิธี จะมีผลกระทบด้านสุขภาพของคนเอาไป หรือ คนที่เก็บไปได้
โดยข้อมูลทางวิชาการ ซีเซียม-137 (Cs-137) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (barium-137m) ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร (metastable) หรือไอโซเมอร์ของแบเรียม-137 (137mBa, Ba-137m) ส่วนอีก 5% สลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง แบเรียม-137m (Ba-137m) สลายตัวให้รังสีแกมมา โดยมีครึ่งชีวิต 2.55 นาที ซีเซียม-137 ปริมาณ 1 กรัม มีกัมมันตภาพรังสี 3.215 เทราเบคเคอเรล (terabecquerel, TBq) โฟตอนจากไอโซโทปรังสีแบเรียม-137m มีพลังงาน 662 keV
ทั้งนี้สามารถใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร (food irradiation) ใช้ในด้านรังสีรักษา (radiotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีการใช้ซีเซียม-137 สำหรับการถ่ายภาพด้วยรังสีทางอุตสาหกรรมไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี เกลือของซีเซียมละลายน้ำได้ดีทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก จึงมีการใช้โคบอลต์-60 (Cobalt-60) ในงานด้านการถ่ายภาพด้วยรังสีมากกว่า นอกจากจะเป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าแล้ว ยังให้รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่า การนำมาใช้งาน เราจะพบซีเซียม-137 ได้ในอุปกรณ์วัดความชื้น เครื่องวัดอัตราการไหลหรืออุปกรณ์ตรวจวัดชนิดอื่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกัน
สำหรับ “ซีเซียม-137” หรือ Cs-137 วัสดุกัมมันตรังสี ที่หายออกจาก โรงไฟฟ้า แห่งหนึ่ง ใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี มีลักษณะเป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว ติดอยู่ที่ปลายท่อโรงไฟฟ้าแต่ทางบริษัท ไม่ทราบว่า หายไปได้อย่างไร และหายไปตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งผู้แทนบริษัทฯ ได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สภ.ศรีมหาโพธิ โดยเกรงว่า จะเป็นอันตรายถ้ามีผู้ไปสัมผัส พร้อมตั้งรางวัลนำจับไว้ 50,000 บาท สำหรับผู้ชี้เบาะแสจนนำไปสู่การติดตามวัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” กลับคืนมาได้
ซีเซียม-137 (Cs-137) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี ของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน “ซีเซียม-137” มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (barium-137m) ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร (metastable) หรือ ไอโซเมอร์ของแบเรียม-137 (137mBa, Ba-137m) ส่วนอีก 5% สลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง แบเรียม-137m (Ba-137m) สลายตัวให้รังสีแกมมา โดยมีครึ่งชีวิต 2.55 นาที ซีเซียม-137 ปริมาณ 1 กรัม มีกัมมันตภาพรังสี 3.215 เทราเบคเคอเรล (terabecquerel, TBq)
โฟตอนจากไอโซโทปรังสีแบเรียม-137m มีพลังงาน 662 keV สามารถใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร (food irradiation) ใช้ในด้านรังสีรักษา (radiotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีการใช้ “ซีเซียม-137” สำหรับการถ่ายภาพด้วยรังสีทางอุตสาหกรรมไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี เกลือของซีเซียมละลายน้ำได้ดีทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก จึงมีการใช้โคบอลต์-60 (Cobalt-60) ในงานด้านการถ่ายภาพด้วยรังสีมากกว่า นอกจากจะเป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าแล้ว ยังให้รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่า การนำมาใช้งาน เราจะพบ ‘ซีเซียม-137’ ได้ในอุปกรณ์วัดความชื้น เครื่องวัดอัตราการไหลหรืออุปกรณ์ตรวจวัดชนิดอื่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกัน
สำหรับความเสี่ยงต่อสุขภาพของสารกัมมันตรังสีซีเซียม
ซีเซียม สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (caesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียมมีครึ่งชีวิตทางชีววิทยา (biological half-life) ประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียวจำนวน 3800 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) (คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์
โดยถ้าบังเอิญได้รับ “ซีเซียม-137” เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทาน ปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
ซีเซียม หากกระจายอยู่ในดิน น้ำ และเข้าสู่วงจรอาหาร อาหารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ผัก ผลไม้ นม อาหารทะเล และอาหารที่แปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะ และบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือพันธุกรรม