เจาะตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล โอกาสทำกำไร รับ “บิทคอยน์” ขาขึ้น
“คริปโตมายด์” เจาะลึกตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย โอกาสทำกำไรไตรมาส 2/66 ลุ้น “บิทคอยน์” ทะยานแตะ 30,000 เหรียญฯ
นายสัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คริปโตมายด์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด เปิดเผยในงาน Cryptomind Investment Outlook 2023 ในหัวข้อ “เจาะลึกตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และจับโอกาสธุรกิจและเทรนด์การลงทุนท่ามกลางวิกฤตความเชื่อมั่นธนาคารว่า
การลงทุนธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยขณะนี้เป็นโอกาสที่ดี คือ 1.คนไทยให้ความสนใจในสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้น,2.ประเทศไทยมีกฎหมายที่สนับสนุนธุรกิจด้านสินทรัพย์ดิจิทัล, 3.มี Crypto ecosystem ที่ครบถ้วน, 4.ตัวอย่างของโอกาสทางธุรกิจ 5. ส่องโอกาสจากผลวิเคราะห์ Community survey และ 6. ประเทศไทยมีโอกาสเป็น Digital asset hub ใน SEA
เนื่องจากประเทศไทยมีประชากรที่มีความสนใจในสินทรัพย์ดิจิทัลจำนวนมาก โดยจากสถิติการเข้าชมเว็บไซต์ Coin Market Cap ในปี 2556 ของคนไทยนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 920,000 ครั้งต่อเดือนจากประชากรทั้งหมด 69 ล้านคนซึ่งคิดเป็น 1.2% ต่อจำนวนประชากร ซึ่งหากเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศไทยมีจำนวนการเข้าชมต่อจำนวนประชากรตามหลังประเทศสหรัฐอเมริกาเพียง 1 % เท่านั้น
อีกทั้งกระแส NFT มาแรงมากในปี 2565 ทำให้ประเทศไทยมียอดการเข้าชมเว็บไซต์ Opensea โดยเฉลี่ยเดือนละ 48,000 ครั้ง และเคยขึ้นไปทำจุดสูง สุดที่ 65,000 ครั้งในเดือนกรกฎาคม ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทยพัฒนา Wholesale CBDC ได้ประสบความสำเร็จและก้าวหน้าระดับต้นๆ ของโลก
นอกจากนี้ในปี 2563 ก็ได้มีการเริ่มทำโครงการนำร่องในส่วนของ Retail CBDC ในภาคธุรกิจที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย, เอสซีจี และบริษัทดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด มีจุดประสงค์เพื่อทดลองเชื่อมต่อ CBDC กับระบบบริหารการจัดซื้อ,การวางบิลและการชำระเงินระหว่างเอสซีจีกับคู่ธุรกิจ และในปี 2564 ก็ได้เริ่มพัฒนา Retail CBDC สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีกำหนดการที่จะทดลองใช้ชำระค่าสินค้าบริการในพื้นที่เฉพาะ (Pilot Test) ในช่วงปลายปี 2565 ถึงกลางปี 2566
อีกทั้งในปัจจุบันการพัฒนากฎหมายด้านสินทรัพย์ดิจิทัลไทยอยู่ในระยะเริ่มต้น ทางหน่วยงานรัฐและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องจึงพร้อมที่จะรับฟังและปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆเพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนได้ประโยชน์
โดยเห็นได้จากวัตถุประสงค์ของพ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล เสริมสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มช่องทางการระดมทุนสำหรับธุรกิจ อีกทั้งคุ้มครองนักลงทุนเพื่อให้แน่ใจว่าการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นธรรมและโปร่งใส โดยอ้างอิงจากประกาศของ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 จุดประสงค์ของการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2566 นี้คือ
ความตื่นตัวของหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกจากเหตุการณ์ Black Swan ทั้งหมดในปี 2565 เล็งเห็นถึงการพัฒนาของสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2561 จึงต้องการปรับปรุงการกำกับดูแลให้เท่าทันความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป และรองรับการนำเทคโนโลยี DLT มาใช้ในภาคธุรกิจ ตามแบบประเทศสิงคโปร์ที่ได้ถือเป็นวาระหลักของประเทศ จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะได้เห็นกฎเกณฑ์ที่เป็นมิตรต่อการประกอบธุรกิจและการพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น
ด้านนายพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด (Cryptomind Advisory) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทยภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ปี 2565 ถือเป็นปีที่หนักหน่วงสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีอย่างแท้จริง แต่มองว่าเป็นเรื่องด้านราคาและความเชื่อมั่นเท่านั้น เพราะโปรเจ็คต์ที่ไม่ได้รับผลกระทบทางตรงนั้นยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเสมอ
ดังนั้นปี 2566 นี้จะเป็นปีแห่ง “การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง (Recovery)” โดยเห็นได้แต่นับตั้งแต่ต้นปี 66 มาจนถึงปัจจุบัน ราคา Bitcoin ปรับตัวสูงขึ้น 50% หลังจากคลายกังวลเรื่องท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อการรับมือเงินเฟ้อว่าจะเป็นในลักษณะผ่อนคลาย (Dovish) มากขึ้น
โดยมองว่าทิศทางการลงทุน Bitcoin ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและเป็นขาขึ้น(ภาวะตลาดหมี)ชัดเจน ส่วนแนวโน้ม Bitcoin ในไตรมาส 2/66 คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 25,000-30,000 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบายของเฟดว่าจะมีความ Aggressive มากน้อยแค่ไหนในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อในปีนี้
ด้านนายมานะ คานิโยว Head of Investment Consultant, Merkle Capital ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุน สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Fund Manager) มีการรักษาความปลอดภัยสินทรัพย์ดิจิทัลแบบมาตรฐานสากล และมีทีมมืออาชีพบริการเรื่องการโอนเงินและดำเนินธุรกรรมอย่างใกล้ชิด เปิดเผยว่า ทิศทางการลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลยังมีเงินไหลเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจุบันมี AUM (สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร) อยู่ที่ประมาณ 1,500 ล้านบาท อีกทั้งตัวเลขการเปิดบัญชีที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 66 เพิ่มขึ้น 15,000 บัญชี เทียบจากสิ้นปี 65 มาอยู่ที่ 2,910,801 บัญชี มาอยู่ที่ 2,926,978 บัญชี ในช่วงปลายมีนาคม 2566