มาแน่! คาร์บอนเครดิต “ภาคบังคับ” ดันราคาทะลุ 3 พันบาทต่อตัน

เปิดมุมมอง “วราวุธ ศิลปอาชา” ส่องอนาคต คาร์บอนเครดิตไทย ลุ้น พรบ.ประกาศใช้ปลายปีนี้ ดันราคาทะยานแตะ 3-4 พันบาทต่อตัน พร้อมดันไทยงสู่เป้า Net Zero ในปี 2065


นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยผ่านรายการ “ข่าวหุ้นเจาะตลาด” ทาง เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2566 โดยยอมรับว่าคาร์บอนเครดิต กำลังกลายเป็นประเด็นสำคัญต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องทำการค้าขายกับทางต่างประเทศ ทั้งในยุโรป(อียู) และในสหรัฐอเมริกา เห็นได้จากการออกกฎหมายภาคบังคับ เนื่องจากการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องสำคัญทางซีกโลกตะวันตก และกำลังส่งอิทธิพลมาทางตะวันออกอย่างไทยด้วย เพื่อมุ่งไปสู่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

ทั้งนี้ ไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุม COP 26 ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่น และเป้าหมายที่ประกาศจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งปัจจุบันไทยกำลังปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากภาคสมัครใจ ให้เป็นภาคบังคับ โดยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ (เดือนกันยายน-ตุลาคม 2566)  หลังมีรัฐบาลใหม่กฎหมายจะสามารถบังคับใช้ ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งหน่วยงานรัฐหรือเอกชน ต้องจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) และรายงานต่อหน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อจะเป็นกลไกกำหนดให้ไปไทยไปสู่เป้าหมายดังกล่าวสู่ Net Zero

สำหรับกฎหมายดังกล่าวจะสอดรับกับการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยสามารถปล่อยก๊าซได้ 120 ล้านตันฯ ซึ่งเป็นโควตาที่ต้องมาจัดสรรกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละหน่วยงาน หรือองค์กรธุรกิจสามารถทำได้ เช่น บริษัท A ได้รับจัดสรรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีนั้น 1 ล้านตัน แต่การทำงานในองค์กรและการผลิตสินค้าของบริษัท A กลับปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 1 ล้าน 5 แสนตัน นั้นเท่ากับว่า บริษัท A ต้องซื้อคาร์บอนเครดิตเพิ่มอีก 5 แสนตัน เพื่อให้เท่ากับปริมาณที่ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไป

ขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องปรับตัวเช่นเดียวกับภาคเอกชน เพราะจะถูกบังคับตามกฎหมายว่าด้วย พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นกัน นั้นทำให้หน่วยงานรัฐต้องจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เช่น การยกเลิกเอกสารสำคัญที่เป็นกระดาษามาใช้เอกการอิเล็กทรอนิกส์มาก และหากการปรับเปลี่ยนยังไม่เพียงพอกับโควต้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาครัฐก็ต้องจัดซื้อคาร์บอนเครดิตจากหน่วยงานอื่น เพื่อนำมาชดเชยเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน

โดยคาร์บอนเครดิตที่ได้มาสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบไม่ว่าจัเป็นการปลูกต้นไม้ ซึ่งจะสามารถทำหน้าที่ดูดซับก๊าซเรือนกระจก  ในอากาศและปล่อยออกซิเจนออกมา โดยเฉพาะคาร์บอนเครดิตที่มาจากป่าชายเลนจะได้มากกว่าการปลูกต้นไม้ทั่วไป เพราะ ศักยภาพของป่าชายเลน 1 ไร่ จะสามารถดูดก๊าชเรือนกระจกได้กว่าป่าทั่วไปได้ประมาณ 7-8 เท่า ทำให้ศักยภาพคาร์บอนเครดิตที่มาจากป่าจะมีราคาแตกต่างกันไป ซึ่งหลังจากนี้ไปจะใช้ความรู้ความสามารถของนักพฤกษศาสตร์ ภาคการเกษตร ผู้ดูต้นไม้ มาคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิต

อย่างไรก็ตามไทยมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ Net Zero ตามเป้าหมาย โดยที่ผ่านมาได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 63 โดยให้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เตรียมโครงสร้างเอาไว้ และหลังจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP25) ทุกอย่างลงตัว TGO จึงได้ไปลงนามเทรดคาร์บอนเครดิตกับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ได้ตกลงซื้อขาย

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 นั้นหลังจากการเปิดตัวเพื่อเป็น Marketplace หรือตลาดรองรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต TVER ผ่าน “ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต” ที่เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) บนแพลตฟอร์ม FTIX มาถึงวันนี้ไทยสามารถซื้อขายตัวคาร์บอนเครดิตนับล้านตัน มูลค่าซื้อขายร้อยกว่าล้าน โดยราคาคาร์บอนเครดิตของไทยในปัจจุบันอยู่ที่  75 บาทต่อตัน

โดยราคาดังกล่าวถือว่าถูกเมื่อเทียบกับราคาในยุโรป ยกตัวอย่าง CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism)มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ถ้าไทยส่งสินค้าไปยุโรปแล้วคาร์บอนฟุตพริ้นท์เกิน ยุโรปปรับเราที่ตันละ 85 ยูโร หรือในสหรัฐอเมริกาถ้าคาร์บอนเกินจะปรับตันละ 55 เหรียญ ในอนาคตเมื่อ พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบังคับใช้ และได้กำหนดโควต้าออกมามองว่าราคาคาร์บอนเครดิตในไทยที่ระดับ 75 บาทต่อตัน จะพุ่งขึ้นไปที่ 3,000-4,000 บาทต่อตัน

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่หันมาทำธุรกิจใหม่ “คาร์บอนเครดิต” มองเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ได้ปรับเปลี่ยนเพื่อมุ่งสู่ Net Zero และเป็นมิตรกับสิ่งแวดดล้อม และเป็นตัวประเมินธุรกิจที่ยอมรับในต่างประเทศ หากบริษัทสามารถลดการปล่อยก๊าชอีกทาง ส่วนคาร์บอนเครดิตนั้นถือเป็นผลพลอยตามมา

โดยในอนาคต เทคโนโลยีจะมีส่วนสำคัญในการคำนวณคาร์บอนเครดิต เนื่องจากปัจจุบันการคิดคำนวณจากบริษัทที่ได้รับการรับรองจาก อบก. ยังมนุษย์ในการสำรวจ แต่หลังจากนี้จะใช้เทคโลยีดาวเทียม โดรนถ่ายภาพ สามารถนำมาใช้ในการคำนวณ และเห็นได้จากการถ่ายรูปได้เลยว่าการเติบโตของต้นไม้ได้เลย และตรงนี้จะทำให้เราใช้งบประมาณน้อยลง และมีผู้ประเมินเข้ามาให้บริการมากขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนน้อยลง

ส่วนโยบายการทำดังกล่าวในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา หากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาเชื่อว่าจะยังสานต่อ เนื่องจากทั่วโลกขณะนี้ได้เดินทางไปสู่ทิศทาง Net Zero ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องไปสู่เรื่องมาตรการภาษี และมาตรการต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา ดังนั้นเชื่อว่านโยบายดังกล่าวรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้าก็จะยังสานต่อและตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องการทำธุรกิจให้ยั่งยืน และนำไปสู่เป้าหมาย Net Zero ที่ไทยวางไว้

Back to top button