OISHI จ่อเพิกถอนจากตลาด หลังผู้ถือหุ้นโหวตผ่านฉลุย 93%    

OISHI จ่อเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังผู้ถือหุ้นเห็นชอบ 233 ราย 348,579,379 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 92.9545 ของทุนเรียกชำะแล้ว หลัง “ไทยเบฟ” ทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด 76.28 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.34 


บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทขอยื่นคำขอถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดฯ โดยมรหหุ้นสามัญจำนวน 375,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1  บาท รวม 375,000,000 บาท เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2547 ราคาซื้อขายครั้งหลังสุด 57.75  บาท/หุ้น เมื่อวันที่2 พฤษภาคม 2566

โดยประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ได้มีมติให้ถอนหุ้นของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน คือ จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 2,325 ราย 375,000,000 หุ้น (อ้างอิงจากวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุด (Record Date) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566) และจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ถือหุ้นไม่เกินกว่า 5 ใน 1,000 ของทุนเรียกชำระแล้วแต่ไม่ต่ำกว่า 1 หน่วย การซื้อขาย 1,747 ราย 24,272,799 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 6.47 ของทุนเรียกชำระแล้ว (อ้างอิงจากวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุด (Record Date) เมื่อวันที่ 27

ทั้งนี้มีจำนวนผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม ด้วยตนเอง 150 ราย 1,268,433 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.3382 ของทุนเรียกชำระแล้ว  มอบฉันทะ 107 ราย 347,381,067 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 92.6350 ของทุนเรียกชำระแล้ว รวม 257 ราย จำนวน 348,649,500 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 92.9732 ของทุนเรียกชำระแล้ว

โดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่เห็นชอบให้ถอนหุ้นออกจาการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนกรณีทั่วไป : ผู้ถือหุ้นที่เห็นชอบ 233 ราย 348,579,379 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 92.9545 ของทุนเรียกชำระแล้ว และ ผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน 22 ราย 69,721 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.0186 ของทุนเรียกชำระแล้ว

สำหรับเหตุผลและข้อเท็จจริงของการขอถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 รับทราบข้อเสนอของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยเบฟ เรื่องแจ้งความประสงค์ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท และเห็นชอบให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามหนังสือแจ้งความประสงค์ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลงวันที่10 มีนาคม 2566

โดยไทยเบฟ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2565 ไทยเบฟถือหุ้นในบริษัทจำนวนทั้งสิ้น 298,720,398 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 79.66% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท ซึ่งไทยเบฟมีความประสงค์ที่จะทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัทที่เหลือทั้งหมดจำนวน 76,279,602 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.34 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในราคาเสนอซื้อหุ้นที่ราคา 59.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณได้ตามวิธีการกำหนดราคาเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ

ทั้งนี้ ไทยเบฟแจ้งว่าเหตุผลและที่มาของการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทดังกล่าวว่า

(ก.)ไทยเบฟเล็งเห็นว่าปัจจุบันปริมาณการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีไม่มากนักไทยเบฟจึงเห็นว่าการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มทางเลือกและโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัทสามารถขายหุ้นของบริษัทได้

(ข) กลุ่มไทยเบฟอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานและการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจอาหาร และกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ภายในกลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ/หรือเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจโดยจะดำเนินการจัดกลุ่มธุรกิจอาหาร และกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึง การปรับโครงสร้างของกิจการในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะของการซื้อ จำหน่าย หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิต่าง ๆ การควบรวมกิจการ การโอนสิทธิตามสัญญา

ทางการเงิน การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารงาน การโอนย้ายพนักงาน การกู้ยืม-ให้กู้ยืมเงิน การระดมทุนในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

ซึ่งการปรับโครงสร้างที่กล่าวมานี้อาจมีการทำรายการหรือธุรกรรมระหว่างบริษัทกับไทยเบฟ และ/หรือบริษัทในกลุ่มไทยเบฟ ได้ ทั้งนี้ ไทยเบฟจะพิจารณาดำเนินการตามแผนการดังกล่าวตามความเหมาะสมในอนาคต เนื่องจากแผนการดั่งกล่าวยังมีความไม่แน่นอน จึงอาจมีการเพิ่มเติม และ/หรือ

เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจะทำให้สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการกิจการและแผนการปรับโครงสร้างดังกล่าวมากยิ่งขึ้น และ

(ค) เนื่องจากบริษัทจะไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกต่อไป การดำเนินการดังกล่าวจะยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการเป็นบริษัทจดทะเบียน

อย่างไรก็ดี ภายหลังการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทจะยังมีสถานะเป็นบริษัทหาชนจำกัด และจะยังคงปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อไป

ทั้งนี้ ไทยเบฟจะดำเนินการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญเพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายหลังจากที่เงื่อนไขดังต่อไปนี้สำเร็จครบถ้วน

1.ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทเกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท ตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ

2.การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจะต้องได้รับอนุมัติ และ/หรือ ผ่อนผันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงตลาดหลักทรัพย์ฯสถาบันการเงิน และคู่สัญญาอื่น ๆ ตามสัญญาที่เกี่ยวข้อง (ในกรณีที่จำเป็น)

ทั้งนี้ ไทยเบฟจะดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อเงื่อนไขตาม 1. และ 2. สำเร็จลง แม้ว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่ได้แสดงเจตนาเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทตามคำเสนอซื้อของไทยเบฟครบทุกราย

Back to top button