บอร์ด IMPACT ไฟเขียวก่อสร้างทางเชื่อม “สายสีชมพู-อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์” มูลค่า 195 ล้าน

บอร์ด IMPACT ไฟเขียวก่อสร้างโครงการ Sky Entrance เชื่อมสถานีสายสีชมพู-อาคารชาเลนเจอร์ มูลค่า 195 ล้าน ระยะเวลาก่อสร้าง12-14 เดือน คาดเริ่มดำเนินงานไตรมาส 4/66 เตรียมชงในวาระประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์


ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อิมแพ็คโกรท หรือ IMPACT แจ้งตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการ Sky Entrance การเข้าทำบันทึกข้อตกลงชำระค่าธรรมเนียม เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเมืองทองธานี เชื่อมสถานีกับอาคารชาเลนเจอร์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับโครงการรถฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคร – มีนบุรี ส่วนหลักโดยแยกออกจากเส้นทางสายหลักที่สถานีเมืองทองธานี (PK-10) เข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี

ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ โดยมีแนวเส้นทางโครงการเป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร และเส้นทางของรถไฟฟ้าสายดังกล่าวจะเป็นเส้นทางขนานกับทางด่วนอุดรรัถยา ผ่านบริเวณด้านข้างของอาคารอิมแพ็ค เมืองทองธานี และสิ้นสุดโครงการที่บริเวณด้านหน้าของทะเลสาบเมืองทองธานี โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูสวนต่อขยายดังกล่าว จะประกอบด้วย 2 สถานี ได้แก่ สถานีที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณเหนือวงเวียนด้านหลังอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ (สถานี MT-01) และสถานีที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี (สถานี MT-02)

ทั้งนี้ การก่อสร้างโครงการ Sky Entrance ของกองทรัสต์ จะใช้งบประมาณการก่อสร้างรวมทั้งสิ้นประมาณ 195 ล้านบาท โดยแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการ Sky Entrance จะประกอบด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของกองทรัสต์ และหรือ เงินกู้จากการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ โดยเป็นดุลพินิจของผู้จัดการกองทรัสต์ในการพิจารณาแหล่งเงินทุนดังกล่าว และจะมีระยะเวลาการดำเนินโครงการประมาณ 12-14 เดือน โดยมีแผนเริ่มดำเนินโครงการในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2566/67 พร้อมทั้งเห็นควรเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ เพื่อให้พิจารณาอนุมัติการมอบอำนาจให้ผู้จัดการกองทรัสต์ และหรือทรัสตี เป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโครงการ Sky Entrance ดังกล่าว โดยจะมีรายละเอียดเป็นไปตามที่ปรากฎในหนังสือเชิญประชุมต่อไป

ในการนี้เพื่อให้กองทรัสต์สามารถดำเนินการก่อสร้างสะพานทางเชื่อมและเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าตามโครงการ Sky Entrance ได้ตามรายละเอียดในเรื่องที่ 1 กองทรัสต์มีความจำเป็นจะต้องให้การสนับสนุนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูสวนต่อขยายเมืองทองธานี เพื่อเชื่อมสถานี MT-01 กับอาคารอิมแพ็ค ซาเลนเจอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์เข้าลงทุน และชำระค่าธรรมเนียมให้แก่บางกอกแลนด์ในวงเงินไม่เกิน 161.72 ล้านบาท โดยการเข้าทำบันทึกข้อตกลงการชำระค่าธรรมเนียม เพื่อการสนับสนุนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูสวนต่อขยายเมืองทองธานี เพื่อเชื่อมสถานี MT-01 กับอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ รวมถึงการเข้าทำสัญญาที่เกี่ยวข้อง กับบางกอกแลนด์ และหรือ คู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการเข้าทำบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนาทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าจะประกอบด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของกองทรัสต์ และหรือ เงินกู้จากการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ โดยเป็นดุลพินิจของผู้จัดการกองทรัสต์ในการพิจารณาแหล่งเงินทุนดังกล่าว โดยที่รายละเอียดการให้การสนับสนุนการดังกล่าวและเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนาทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า เป็นไปตามรายละเอียดที่ปรากฎในหนังสือเชิญประชุมต่อไป

นอกจากนี้ในส่วนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ตามรายละเอียดในเรื่องที่ 1 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่เป็นแนวเขตโครงการ

โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะเสนอตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อศึกษาแนวเขตจัดทำโครงการเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ ที่จะต้องเวนคืนต่อไป เพื่อให้มีอำนาจตามกฎหมายในการเข้าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าต้องการเวนคืนและการได้มาซึ่งสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 จากการตรวจสอบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พบว่าทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์เข้าลงทุนอาจอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2565 (“พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน” โดยบริษัทอยู่ระหว่างการหารือกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกากำหนด

Back to top button