“บจ.ไทย” กำไร Q1 แตะ 2.61 แสนล้าน “กลุ่มอสังหาฯ-ก่อสร้าง” โตสุด 34%

“บจ.ไทย” เปิดกำไรไตรมาส 1/66 แตะ 2.61 แสนล้านบาท กวาดยอดขาย 4.2 ล้านบาท โต 5% ชี้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง เติบโตสุด 34.1%


นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) จำนวน 786 บริษัท คิดเป็น 99.5% จากทั้งหมด 790 บริษัท (รวม SET และ mai ที่มีกำหนดส่งงบการเงิน ณ สิ้นงวดวันที่ 31 มีนาคม 2566 และไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน) นำส่งผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/2566 พบว่ามี บริษัทจดทะเบียนรายงานกำไรสุทธิ 590 บริษัท คิดเป็น 74.7% ของบริษัทจดทะเบียน ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมดผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/2566 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยบริษัทจดทะเบียนใน SET มียอดขาย 4,200,891 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6% มีต้นทุนการผลิต 3,320,652 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% กำไรจากการดำเนินงานหลัก (Core profit) 410,246 ล้านบาท ลดลง 17.3% และมีกำไรสุทธิ 261,116 ล้านบาท ลดลง 6.2%

สำหรับฐานะการเงินของกิจการ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 บริษัทจดทะเบียนไทยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ratio (ไม่รวมอุตสาหกรรมการเงิน) อยู่ที่ระดับ 1.52 เท่า ลดลงจาก 1.58 เท่า เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน

กลุ่มอุตสาหกรรม ยอดขาย กำไรจากการดำเนินงาน กำไรสุทธิ
Q1/2565 Q1/2566 % Chg. Q1/2565 Q1/2566 % Chg. Q1/2565 Q1/2566 % Chg.
เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 339,014 394,359 16.3 16,536 16,054 -2.9 11,525 7,642 -33.7
–   ธุรกิจการเกษตร 50,298 49,521 -1.5 3,771 1,803 -52.2 3,122 1,325 -57.6
–   อาหารและเครื่องดื่ม 288,716 344,838 19.4 12,765 14,252 11.6 8,403 6,317 -24.8
สินค้าอุปโภคบริโภค 28,287 31,917 12.8 1,947 1,193 -38.7 2,123 1,300 -38.8
–   แฟชั่น 8,942 15,799 76.7 507 509 0.3 686 704 2.5
–   ของใช้ครัวเรือนและสำนักงาน 7,929 6,932 -12.6 -66 83 225.3 -18 86 564.6
–   ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ 11,416 9,187 -19.5 1,506 601 -60.1 1,455 511 -64.9
ธุรกิจการเงิน 310,507 367,315 18.3 97,213 117,883 21.3 68,539 76,417 11.5
–   ธนาคาร 231,753 280,947 21.2 95,605 108,118 13.1 54,375 61,860 13.8
–   เงินทุนและหลักทรัพย์ 34,033 40,823 19.9 14,152 16,732 18.2 9,554 8,561 -10.4
–   ประกันภัยประกันชีวิต 44,720 45,545 1.8 -12,545 -6,967 44.5 4,609 5,996 30.1
สินค้าอุตสาหกรรม 487,478 431,787 -11.4 40,621 8,785 -78.4 26,645 5,438 -79.6
–   ยานยนต์ 18,303 25,666 40.2 1,386 1,761 27.0 1,512 1,506 -0.4
–   วัสดุอุตสาหกรรม-เครื่องจักร 16,261 12,055 -25.9 601 17 -97.1 270 7 -97.5
–   กระดาษและวัสดุการพิมพ์ 1,486 1,147 -22.8 313 235 -24.7 275 210 -23.6
–   ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 338,062 296,052 -12.4 32,055 3,813 -88.1 18,996 1,422 -92.5
–   บรรจุภัณฑ์ 55,618 50,267 -9.6 3,371 2,093 -37.9 2,860 1,527 -46.6
–   เหล็ก 57,748 46,601 -19.3 2,894 866 -70.1 2,732 766 -71.9
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 355,882 349,461 -1.8 28,513 28,702 0.7 27,762 37,233 34.1
–   วัสดุก่อสร้าง 205,665 182,951 -11.0 13,608 8,089 -40.6 13,632 20,531 50.6
–   รับเหมาก่อสร้าง 54,990 61,428 11.7 1,087 2,531 132.8 323 1,271 293.6
–   พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 95,227 105,082 10.3 13,817 18,082 30.9 13,807 15,431 11.8
ทรัพยากร 1,660,394 1,722,333 3.7 253,508 175,711 -30.7 97,034 85,021 -12.4
–   พลังงานและสาธารณูปโภค 1,660,394 1,722,333 3.7 253,508 175,711 -30.7 97,034 85,021 -12.4
บริการ 602,698 661,359 9.7 38,337 39,738 3.7 30,294 31,162 2.9
–   พาณิชย์ 474,183 519,131 9.5 11,695 11,911 1.8 14,130 16,258 15.1
–   การแพทย์ 59,853 51,352 -14.2 15,088 8,436 -44.1 11,994 6,936 -42.2
–   สื่อและสิ่งพิมพ์ 11,616 13,357 15.0 729 832 14.1 772 895 15.9
–   บริการเฉพาะกิจ 1,559 3,154 102.3 169 215 27.7 110 205 86.8
–   ท่องเที่ยวและสันทนาการ 9,433 16,579 75.8 -679 2,450 460.8 -1,390 1,154 183.0
–   ขนส่ง 46,054 57,786 25.5 11,335 15,894 40.2 4,678 5,715 22.2
เทคโนโลยี 231,537 242,360 4.7 19,458 22,180 14.0 14,419 16,902 17.2
–   ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 85,192 94,614 11.1 4,423 6,177 39.7 4,449 4,905 10.3
–   เทคโนโลยีและการสื่อสาร 146,346 147,746 1.0 15,035 16,003 6.4 9,970 11,997 20.3
Total SET 4,015,797 4,200,891 4.6 496,132 410,246 -17.3 278,341 261,116 -6.2

“การเปิดประเทศทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องส่งผลดีต่อธุรกิจอาหาร, การบริการ, การขนส่ง, การท่องเที่ยว และการโทรคมนาคม ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารและธุรกิจการเงินยังได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การเร่งปรับตัวให้ทันต่อการกลับมาของธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งกว่ายอดขาย ส่วนหนึ่งจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนมีอัตรากำไรลดลง” นายแมนพงศ์กล่าว

ด้านผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ไตรมาส 1/2566 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มียอดขายรวม 52,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6% ต้นทุนการผลิต 40,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% มีกำไรจากการดำเนินงาน 3,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.3% และมีกำไรสุทธิ 2,153 ล้านบาท ลดลง 32.4%

 

Back to top button