JSP ควัก 25 ล้าน เปิดห้องแล็บใหม่ ยกระดับงานวิจัย จ่อเปิดปลาย มิ.ย.นี้

JSP เปิดบ้านโชว์เคสห้องปฏิบัติการใหม่ มูลค่า 25 ล้านบาท รองรับงานวิจัยขั้นสูงที่มีคุณภาพและมีความแม่นยำมากขึ้น ต่อยอดงานวิจัยหาตัวยาเพื่อลดการนำเข้าวัตถุดิบยาจากต่างประเทศ ยกระดับยาไทยแข่งขันในเวทีโลก


ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JSP เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดใช้งานห้องปฏิบัติการ (แล็บ) แห่งใหม่อย่างเป็นทางการในช่วงปลายเดือน มิ.ย. 2566 โดยห้องแล็บใหม่นี้ได้การรับรองมาตรฐาน GMP  PIC/S ที่ได้รับมาตรฐานถูกพัฒนาให้มีเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพด้วยความทันสมัยและมีความแม่นยำมากขึ้นในการวิเคราะห์และประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในทุกรุ่น เนื่องจากการผลิตเป็นการพัฒนา เพื่อควบคุมคุณภาพของการวิจัยและการทดลองซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการบ่งชี้ถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมประสิทธิภาพ 3 ด้านคือแคุณภาพ (Quality) ความปลอดภัย (Safety) และประสิทธิผล (Efficacy) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดได้รับการตรวจสอบและรับรองคุณภาพก่อนส่งออกไปถึงผู้บริโภค ซึ่งห้องแล็บและเครื่องมือที่มีคุณภาพรวมถึงบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญถือเป็นหัวใจสำคัญของการตรวจสอบคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยปัจจุบัน แล็บของ JSP มีเครื่องมือหลักสำคัญของห้องปฏิบัติการมีดังนี้

  1. HPLC รุ่นพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์หาสาระสำคัญในกัญชา กัญชง โดยเฉพาะ Potency Testing (Determination of 11+ Cannabinoids) Model Nexera i Series for Cannabis Analyzer System HPLC with PDA 1 LC-2050C 3D Integrated High-Performance Liquid Chromatograph

โดยมีคุณสมบัติในการแยกสาระสำคัญได้ดังนี้   Cannabidiol (CBD), Cannabinol (CBN),  Delta9 THCA-A ,THCV Cannabidivarin (CBDV), Cannabigerol (CBG) ,Cannabigerolic (CBGA), Cannabichromene (CBC) Cannabidiolic (CBDA)

2.HPLC (High Performance Liquid Chromatography, GC gas chromatography, Auto Titrator, spectral chromatography) เครื่องตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสาระสำคัญ (Assay) และตรวจวัดสิ่งปนเปื้อน (Impurities) โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบหาปริมาณสารสำคัญได้อย่างแม่นยำมากขึ้นรวมถึงสามารถตรวจสอบสารปนเปื้อนในวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

  1. เครื่อง FT-IR (Fourier transform infrared spectrometer) เป็นเครื่องตรวจหาเอกลักษณ์ Identification ของสารที่ตรวจสอบออกมาในรูปแบบของ Finger Print ที่จะทำให้เราพิสูจน์และมั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบที่ถูกชนิดตามที่มาตรฐานกำหนด

4.ห้อง Clean room class 100,000 พร้อม Laminar Air Flow ที่ใช้สำหรับตรวจสอบเชื้อปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ทั้งเชื้อทั่วไปและเชื้อที่ก่อโรคสำหรับมนุษย์

สำหรับแล็บใหม่นี้ JSP ใช้งบประมาณในการลงทุนรวมทั้งสิ้น 25 ล้านบาท ทั้งนี้การเปิดใช้ห้องแล็บใหม่จะทำให้กระบวนการทำงานด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ JSP ทำได้รวดเร็วขึ้น 2 เท่า เพิ่มความสามารถในการรับงานวิจัยได้มากขึ้นเป็นปีละ 6 โครงการ  โดยแล็บของ JSP ไม่ได้รองรับงานวิจัยภายในบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกที่มีงานวิจัยด้านการพัฒนายาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งคนและสัตว์ รวมถึงเครื่องสำอางให้เข้ามาใช้บริการได้

ทั้งนี้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาไทยในปี 2565 ที่ผ่านมามูลค่ารวมตลาดในประเทศอยู่ที่ประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาท ยาที่ผลิตได้ 90% ใช้บริโภคในประเทศ ประเด็นท้าทายที่สำคัญของอุตสาหกรรมยาไทยคือ ต้องพัฒนาให้สามารถแข่งขันและส่งออกได้มากขึ้น แม้ปัจจุบันยามีโรงงานยาอยู่หลายแห่ง แต่มีโรงงานอยู่ไม่มากที่ได้รับมาตรฐาน GMP-Pic/S อีกทั้งไทยยังนำเข้าวัตถุดิบตัวยาจากต่างประเทศสูงถึง 90% ดังนั้นการมีห้องปฏิบัติการที่ดีและเปิดให้คนภายนอกเข้ามาใช้งานจะเป็นการส่งเสริมให้ไทยสามารถคิดค้นสูตรยาและเข้าตำรับยาได้เอง เพื่อลดการนำเข้าวัตถุดิบตัวยาจากต่างประเทศ

Back to top button