“ชวินดา หาญรัตนกูล” ชี้ฟันด์โฟลว์ไหลเข้า สองเงื่อนไข “การเมืองชัด-ท่องเที่ยวกลับมา”
นางชวินดา หาญรัตนกูล ชี้ดอกเบี้ยใกล้พีค พร้อมมองฟันด์โฟลว์ไหลเข้า สองเงื่อนไข “การเมืองชัด-ท่องเที่ยวกลับมา” แนะกระจายการลงทุนเป็นการสร้างโอกาส
นางชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการการลงทุน กล่าวในงานสัมมนา “Battle Strategy แผนฝ่าวิกฤติ พิชิตสงคราม EPISODE V : วิกฤติมาทุกทิศ โอกาสมีทุกทาง” ช่วงแรงเสียดทานจาก “การเงินโลก” สู่ “ตลาดทุนไทย” ว่า แนวโน้มดอกเบี้ยขณะนี้ใกล้พีค เพราะสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยมา 10 ครั้งแล้ว ซึ่งมากที่สุดในรอบ 30-40 ปี แล้วขึ้นเพราะกังวลเงินเฟ้อของประเทศตัวเอง
ส่วนเงินเฟ้อเกิดในสหรัฐฯ เพราะความต้องการในประเทศยังมี (demand push) หากมองไปที่ยุโรป เป็น Cost-Push คือ ต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ดีมานด์ ไม่มา อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อปัญหาอัตราเงินเฟ้อ แต่อาจไม่ได้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเต็มที่
ด้านเอเชียไม่มีผลกระทบเพราะเป็นระบบเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ ไม่ต้องเร่งอัตราดอกเบี้ยขนาดนั้น แต่เราต้องปิด gap เพราะไม่งั้นเงินไหลเข้าไหลออกจะเป็นประเด็น อาจจำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน
โดยความแตกต่างของนโยบายหลายๆภูมิภาคทำให้ ปฏิกิริยาการลงทุนกระทบในวงใหญ่ ยังมีการส่งสัญญาณว่าการขึ้นดอกเบี้ยยังไม่จบจึงกระทบต่อการลงทุนโดยตรง ซึ่งผู้จัดการกองทุนมองภาพคลาดเคลื่อนไปเยอะจากสิ้นปีถึงปัจจุบัน เพราะคิดว่ากลางปีนี้น่าจะสิ้นสุดการขึ้นดอกเบี้ย มองว่าขึ้นเยอะเพื่อแก้เงินเฟ้อ ( inflation) แต่ไม่แก้เรื่องตลาดทุน และอาจจะไม่หยุดการเติบโตเศรษฐกิจ จึงเป็นผลกระทบบวกและลบอยู่ในตัวเดียวกัน
สำหรับภาพคลาดเคลื่อนยาวกว่าเดิม ตลาดภาพใหญ่จะผันผวนต่อไป แต่เป็นการผันผวนที่เชื่อว่าจะลดลง วันนี้เราเห็นพันธบัตรสหรัฐฯ และไทยขึ้น ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ตลาดทุนไทยจะลด แต่ตลาดตราสารหนี้จะเป็นภาพบวก ตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นเริ่มนิ่ง เริ่มมีผลตอบแทน อย่างไทยเริ่มเห็นผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก ขณะเดียวกันตราสารทุนปีที่แล้วไทยบวก แต่ปีนี้ถูกผลกระทบจากปัจจัยภายใน
ฉะนั้นตลาดไทยได้รับผลกระทบในเชิงเฉพาะตัวโดยติดตามเทรนอุตสาหกรรมโลก แต่ด้วยมีปัญหาเฉพาะตัวภาพจึงเปลี่ยนรุนแรง ทั้งเรื่อง MORE และ STARK การเมืองที่มองเห็นและจับต้องได้ค่อนข้างชัด ทำให้นักลงทุนต่างประเทศถอยไปตั้งหลัก ถ้ามองในโซนภูมิภาค ประเทศไทยค่อนข้างดีในแง่การบริหารจัดการเงินของประเทศ ปัจจัยที่คลุมเครือขอให้เคลียร์ก่อน
สำหรับระยะสั้นผันผวน ระยะกลางเชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะหยุดได้ เพราะ cycle การขึ้นดอกเบี้ยน่าจะจบถึงจุดพีคแล้ว ไม่งั้นจะไปหยุดเศรษฐกิจรุนแรงไป และส่งผลเชิงบวกในปีต่อไปหรืออีก 2 ปีข้างหน้าอย่างน้อยต่อตลาดตราสารหนี้ แต่จะบวกกับตราสารทุนหรือเปล่า ต้องดูว่าพอดอกเบี้ยหยุดขึ้นแล้ว การลงของดอกเบี้ยจะลงเร็วหรือลงช้า มีนัยที่แตกต่างกัน ถ้าลงเร็วไปสหรัฐฯ ไปหยุดเศรษฐกิจตัวเองเร็วไปทำให้ชะลอการเติบโต แต่ถ้าชะลอลงเรื่อยๆ จะเป็นผลบวกทั้ง 2 ตลาด
ส่วนระยะยาวเราจะเห็นโลกที่มีการแบ่งแยก จีน สหรัฐฯ อย่างจะเติบโตของเค้าเอง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ในที่สุดทุกคนต้องการรักษาต้นทุนที่ต่ำลง อาจใช้เทคโนโลยี แต่ความสมบูรณ์แบบจะมาในระยะยาว
โดยยังเห็นเงินไหลเข้าในตราสารหนี้ที่มีระยะเวลา และผลตอบแทนชัดเจน เงินกองทุนรวมไม่ได้ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย แต่ไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศ และมีธีมชัดเจน แต่หุ้นไทยกลับเห็นเงินไหลออก 10,000 ล้านบาท เพราะภาพรวมไม่ดี และมีเรื่อง LTF เพราะตลาดหุ้นไทยสวิงไปมา
สำหรับปีนี้หลายๆ ตลาดบวก แต่ไตรมาส 2/66 เริ่มไหลลง ตลาดหุ้นไทยสวนเพราะเรามีปัญหาข้างใน แต่ส่วนตัวมองว่าเงินจะไหลกลับไทยบนเงื่อนไขคือ การเมืองต้องชัดเจน และการท่องเที่ยวกลับมา
ตลาดหุ้นเล่นด้วยอารมณ์ หากมีกรณีหลุด 1,300 เท่ากับ มองประเทศไทยแย่มาก บริษัทใหญ่ๆ ได้รับผลกระทบ สิ่งที่ผลักตลาดลงมาเป็นเพราะเรื่องหาเสียงส่วนหนึ่ง และเรื่องการคาดการณ์ว่าหลายธุรกิจถูกลดบทบาท หรือผูกขาด ถ้านโยบายเป็นอย่างนั้นจริง ก็เชื่อว่าจะกระทบ ดังนั้นการกระจายการลงทุนเป็นการสร้างโอกาส