ตลท. เปิดเฮียริ่ง ทบทวน SET-mai ยกระดับกำกับดูแลบจ.เข้ม
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็น ทบทวน Positioning SET และ mai พร้อมยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนและผู้ลงทุนตามแผน 3 ปี ถึงวันที่ 4 กันยายน 2566
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือ SET เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบแนวทางให้ปรับ positioning เพิ่มความแตกต่างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) พร้อมยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนให้เข้มข้นขึ้นทั้งกระบวนการตามแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของบริษัทจดทะเบียนทั้งด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
อีกทั้งดูแลผู้ลงทุนให้ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและมีเครื่องหมายเตือนที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยการยกระดับดังกล่าวยังคงคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของประเทศไทยและมาตรฐานสากล ซึ่งสรุปเกณฑ์ที่เสนอปรับปรุงพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการทบทวน Positioning เพื่อยกระดับ SET และ mai เผยการรายงานผลว่า ปีล่าสุด ทั้งกำไร SET เพิ่มขึ้น อยู่ 75 ล้านบาท รวม2-3ปีอยู่ที่ 125ล้านบาท และของ mai 25ล้านบาท รวม2-3ปีอยู่ที่ 40ล้านบาท , เพิ่มจำนวนฐานะทางการเงิน, ลดมูลค่าทุนที่ชำระแล้ว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์หุ้นรายย่อยสำหรับบริษัทขนาดเล็ก
SET | mai | |
1) ผลการดำเนินงาน: เพิ่มกำไร | ปีล่าสุด 30 75 ล้านบาท
รวม 2-3 ปี 50 125 ล้านบาท |
ปีล่าสุด 10 25 ล้านบาท
รวม 2-3 ปี 40 ล้านบาท |
2) ฐานะการเงิน: เพิ่ม Equity | 300 800 ล้านบาท | 50 100 ล้านบาท |
3) ปรับลด Paid-up Capital สำหรับ SET | 300 50 ล้านบาท | 50 ล้านบาท |
4) เพิ่ม %Free Float สำหรับ บ.ขนาดเล็ก | 30% สำหรับ บ.ที่มี Paid-up < 300 ล้านบาท | |
5) เพิ่ม %Public Offering สำหรับ บ.ขนาดเล็ก | 20% สำหรับ บ.ที่มี Paid-up < 300 ล้านบาท |
นอกจากนี้ ยังมีการทบทวน Positioning ในการใช้เครื่องหมาย “C” (Caution) เตือนผู้ลงทุน เพิ่มเงื่อนไขกรณีต่างๆ ได้แก่ ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น, ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ (Fee Float) และการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม (Back-door Listing)
SET | mai | |
1) เพิ่มเงื่อนไขกรณี บ. มีรายได้ดำเนินงาน | ขึ้น C เมื่อ < 100 ล้านบาท (งบปี)
เพิกถอนเมื่อ < 100 ล้านบาท (งบปี 3 ปีติดต่อกัน) |
ขึ้น C เมื่อ < 50 ล้านบาท (งบปี)
เพิกถอนเมื่อ < 50 ล้านบาท (งบปี 3 ปีติดต่อกัน) |
2) เพิ่มเงื่อนไขกรณี บ. มีขาดทุนต่อเนื่อง | ขึ้น C เมื่อขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี และมี Equity / Paid-up Capital < 100% | |
3) เพิ่มเงื่อนไขกรณีมี Event of Default | ขึ้น C เมื่อผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงิน / ตราสารหนี้ | |
4) ปรับเงื่อนไขกรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น | ขึ้น C เมื่อผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นทุกกรณี (จากปัจจุบันขึ้น C เมื่อผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นเนื่องจากถูกจำกัดขอบเขตการสอบทานหรือตรวจสอบ) | |
5) ยกระดับการดำเนินการกรณี Free Float ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ | ขึ้น C เมื่อมี Free Float ไม่ครบเป็นปีที่ 1 และเปลี่ยนเป็น SP หากบริษัทมี Free Float ไม่ครบเป็นปีที่ 2 (ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มและการประกาศรายชื่อ) | |
6) ปรับกระบวนการ Backdoor Listing | ทำได้เฉพาะเกณฑ์ Profit, Infrastructure โดย ก.ล.ต. ร่วมพิจารณาคุณสมบัติเช่นเดียวกับกรณี IPO |
ขณะเดียวกัน ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ในการปรับปรุงเกณฑ์ให้สอดคล้อง และยกเลิกเกณฑ์ที่ไม่เหมาะกับสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายละเอียดเพิ่มเติม ผ่านทางเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ https://www.set.or.th/th/rules-regulations/market-consultation หัวข้อ “การทบทวน Positioning ของ SET และ mai และการยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน” เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจแสดงความคิดเห็นได้ที่ https://forms.gle/HRANuEWFacbnzA9d6 จนถึงวันที่ 4 กันยายน 2566