สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 9 ส.ค.2566
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 9 ส.ค.2566
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (9 ส.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน หลังจากมีรายงานว่าชาวอเมริกันเป็นหนี้บัตรเครดิตสูงเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐในวันนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,123.36 จุด ลดลง 191.13 จุด หรือ -0.54%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,467.71 จุด ลดลง 31.67 จุด หรือ -0.70% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,722.02 จุด ลดลง 162.31 จุด หรือ -1.17%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันพุธ (9 ส.ค.) แตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคารของอิตาลีฟื้นตัวขึ้นหลังจากร่วงลงอย่างหนักในวันอังคาร เนื่องจากรัฐบาลอิตาลีได้ผ่อนปรนแผนการเก็บภาษีลาภลอย windfall tax ของกลุ่มธนาคาร
ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ระดับ 460.58 จุด เพิ่มขึ้น 1.98 จุด หรือ +0.43%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 7,322.04 จุด เพิ่มขึ้น 52.57 จุด หรือ +0.72%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,852.58 จุด เพิ่มขึ้น 77.65 จุด หรือ +0.49% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,587.30 จุด เพิ่มขึ้น 59.88 จุด หรือ +0.80%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันพุธ (9 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและเหมืองแร่ หลังจากภาวะเงินฝืดของจีนได้ช่วยเพิ่มความหวังว่า จีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น และการเปิดเผยผลประกอบการที่สดใสของหุ้นบลูชิพช่วยหนุนตลาดด้วย
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,587.30 จุด เพิ่มขึ้น 59.88 จุด หรือ +0.80% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นวันเดียวมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (9 ส.ค.) ขานรับสต็อกน้ำมันเบนซินของสหรัฐที่ลดลงมากกว่าคาด รวมทั้งข่าวซาอุดีอาระเบียและรัสเซียปรับลดอุปทานน้ำมัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยบดบังปัจจัยลบจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์น้ำมันชะลอตัวในประเทศจีน
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 1.48 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 84.40 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2565
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 1.38 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 87.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2566
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปรับตัวลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพุธ (9 ส.ค.) และปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 9.30 ดอลลาร์ หรือ 0.47% ปิดที่ 1,950.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. 2566
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 7.60 เซนต์ หรือ 0.33% ปิดที่ 22.731 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 11.50 ดอลลาร์ หรือ 1.27% ปิดที่ 892.70 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 13.40 ดอลลาร์ หรือ 1.1% ปิดที่ 1,231.50 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (9 ส.ค.) ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.03% แตะที่102.4884
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดน ที่ระดับ 10.6838 โครนา จากระดับ 10.7000 โครนาในวันอังคาร (8 ส.ค.) แต่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 143.6760 เยน จากระดับ 143.3690 เยน, แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8773 ฟรังก์ จากระดับ 0.8756 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3417 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3416 ดอลลาร์แคนาดา
ส่วนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0975 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0960 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2724 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2746 ดอลลาร์