SINGER ตั้งสำรองหนัก ฉุดงบ Q2 พลิกขาดทุน! เร่งปรับโมเดลธุรกิจ เสริมกำไรอนาคต
SINGER รายได้หด-ตั้งสำรองหนัก! ฉุดงบ Q2/66 พลิกขาดทุน 2.3 พันล้าน จากช่วงเดียวกันปีก่อนกำไร 265 ล้าน เร่งปรับโมเดลธุรกิจ เสริมกำไรอนาคต
SINGER รายได้หด-ตั้งสำรอง ฉุดงบ Q2 พลิกขาดทุน
SINGER รายได้หด-ตั้งสำรองเพิ่ม! ฉุดงบ Q2/66 พลิกขาดทุน 2.3 พันล้าน จากช่วงเดียวกันปีก่อนกำไร 265 ล้าน
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566
โดยผลการดำเนินงานลดลงเนื่องจากสำหรับงวดสามเดือน และงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 รายได้รวมของกลุ่มบริษัทฯลดลงจำนวน 630 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.2 และ 957 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 36.3 ตามลำดับ
โดยงวดสามเดือน และงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 รายได้จากการขายของกลุ่มบริษัทฯ ลดลงจำนวน 687 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 76.4 และ 1,180 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 74.0 ตามลำดับ การลดลงที่สำคัญมาจากการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลง จำนวนพนักงาน ขายแฟรนไชส์ลดลง และเนื่องจากบริษัทย่อยมีการเปลี่ยนนโยบายในการปล่อยสินเชื่อให้มีความเข้มงวดมากขึ้นเพื่อ ควบคุมคุณภาพหนี้
อีกทั้งงวดสามเดือน และงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจำนวน 2,898 ล้านบาท และ 3,795 ล้านบาท เนื่องจากในระหว่างงวดบริษัทย่อยได้มีการตัดหนี้สูญกลุ่มลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสัญญาเช่าซื้อที่บริษัทได้ติดตามทวงถามและพิจารณาแล้วว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้เป็นจำนวนเงินของลูกหนี้สุทธิหลังจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 917 ล้านบาทและบริษัทย่อยได้บันทึกผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอและเหมาะสมต่อความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดจากลูกหนี้ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต และลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต โดยเป็นผลจากการสิ้นสุดโครงการให้ความช่วยเหลือจากผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยิ่งกว่านั้นบริษัทมีการพิจารณาการตั้งสำรองสำหรับกลุ่มลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น
ด้านผู้บริหารมองว่าสำหรับผลประกอบการในอนาคตจากการที่บริษัทได้พิจารณาตั้งสำรองทั้งในส่วนของหนี้ด้อยคุณภาพที่เกิดจากการดำเนินการช่วยลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด และการบันทึกผลขาดทุนจากการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ได้ผ่านการตรวจสอบสภาพสินค้าในช่องทางต่างๆ ของบริษัท และส่งผลกระทบการผลประกอบการในไตรมาส 2 แล้วนั้น ซึ่งจะทำให้บริษัทไม่มีการตั้งสำรองที่สูงขึ้น และไม่สร้างผลกระทบต่อผลกระประกอบการอย่างหนักในอนาคต วข
ประกอบกับบริษัทได้ปรับลดค่าใช้จ่ายอย่างมีนัยยะสำคัญในหมวดการขายและบริหารดังที่ปรากฎในงบการเงิน จะทำให้ค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลงในอนาคต ทางด้านยอดขายที่มีการปรับลดลง จากการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นบริษัทได้พิจารณาใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน และการเก็บเงิน เพื่อคุณภาพการขายและการเก็บเงิน อันจะช่วยให้การอนุมัติดีขึ้น โดยบริษัทได้สร้างการเพิ่มช่องทาง และกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ การปรับโมเดลธุรกิจเพิ่มขึ้นในช่องทางร้านค้าปลีก และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะเป็นการส่งเสริมให้ยอดขายมีแนวโน้มปรับตัวที่ดีขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทดีขึ้นเช่นกัน