มารู้จัก “ศูนย์ควบคุมและสั่งการอัจฉริยะ” ของ GPSC

GPSC เปิด “ศูนย์ควบคุมและสั่งการอัจฉริยะ” นับเป็นศูนย์ควบคุมและสั่งการโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าของภาคเอกชนแบบ Realtime ที่ใหญ่ที่สุด


นวัตกรรมเป็นเรื่องใกล้ตัวกับผู้คนมากขึ้น หลายธุรกิจเริ่มปรับตัวมาใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการระบบงานขององค์กร อย่างเช่น บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้าและพลังงานอัจฉริยะ กลุ่ม ปตท. ผู้ผลิตไฟฟ้าชั้นนำด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนในระดับสากล ได้สร้าง “ศูนย์ควบคุมและสั่งการอัจฉริยะ” หรือ Control Command Center ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง นับเป็นโครงข่ายการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของภาคเอกชน

  • โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแสดงผลการผลิตของโรงไฟฟ้าทุกแห่งแบบ Real-time
  • เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างการผลิตจริงและเป้าหมายการผลิต
  • สามารถ Synergy ต้นทุนการผลิตโดยเลือกผลิตจากโรงไฟฟ้า ที่มีต้นทุนเหมาะสม บริหารกระบวนการผลิตและบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างเสถียรภาพและความต่อเนื่องในการจัดส่งไฟฟ้าให้กับลูกค้า

คุณศิริเมธ ลี้ภากรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า GPSC มีโรงไฟฟ้ากระจายอยู่ในพื้นที่ Eastern Seaboard ในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี ทั้งหมดนี้มี 17 โรงไฟฟ้าในพื้นที่ มีการส่งข้อมูล ส่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ คือ ไฟฟ้าและไอน้ำ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักเข้ามาที่ Network ของระบบไฟฟ้าและระบบไอน้ำ ศูนย์นี้จึงเป็นการบูรณาการข้อมูลทั้งหมดของกระบวนการปฏิบัติทั้งการผลิต การส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเห็นภาพของการปฏิบัติงานแบบ Real Time รวมถึงดูแลในเรื่องของประสิทธิภาพการดำเนินการทั้งหมดด้วย กรณีมีปัญหาหรือมีประเด็นฉุกเฉิน ศูนย์นี้ประเมินได้ว่าเกิดปัญหาที่จุดใด แล้วก็จะสั่งการให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างไร ทำให้กระบวนการบริหารจัดการในภาพรวมทั้งหมดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เรามีระบบที่เรียกว่า Data Collection หรือกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่งข้อมูลแต่ละพื้นที่ซึ่งอยู่กระจายกันไปผ่าน ระบบ PI Systems เป็นข้อมูล Online Real Time ที่ส่งเข้ามา กระบวนการตรงนั้นก็จะส่งผ่านเข้ามาร่วมถึงเรื่องระบบข้อมูลที่ส่งผ่าน ระบบ Scada นำข้อมูลจะมาบูรณาการกันส่งต่อ ระบบประมวลผล เพื่อทำให้เรายังคงมีมาตรฐานสูงสุดอยู่ตลอดเวลา ระบบออกแบบไว้รองรับสามารถ Access ผ่านระบบ Internet แล้วก็ทาง Mobile ได้ด้วย ผู้บริหารที่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลก็สามารถที่จะ Access เข้าไปดูข้อมูลแบบ Online Real Time ได้ตลอดเวลา ทุกนาทีของการทำงานของเราจะอยู่บนพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา “คุณศิริเมธ กล่าวเพิ่มเติม”

ประโยชน์ของศูนย์ควบคุมและสั่งการอัจฉริยะแห่งนี้ ส่งผลกับ 3 Stakeholder คือ

1) ลูกค้า

  • ระบบที่เห็นภาพรวมความต้องการของลูกค้า ภาพส่วนในการผลิตของเรา ก็จะทำให้ความสามารถในการส่งมอบของเราเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • ระบบสเถียรภาพของการผลิตดีขึ้น แม้ว่าในกรณีฉุกเฉินก็ตาม
  • ระบบสามารถที่จะดูแลภาพรวมทั้งหมดแล้วก็สามารถนำระบบคืนสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น

2) สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

พอเราบริหารจัดการการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จะทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์กับภาคประชาชน

3) ผู้ถือหุ้น

เมื่อบริษัทมีความสามารถในการบริหารที่มีประสิทธิภาพแล้ว จะทำให้สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญจะทำให้ตลอดเวลาของการทำงานของเรา เราใช้ Asset ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

“ศูนย์ควบคุมและสั่งการอัจฉริยะ” หรือ Control Command Center จะพร้อมให้บริการเฟสแรกในเดือนสิงหาคม ปี 2566 เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เสริมสร้างเสถียรภาพให้กับระบบผลิตและส่งมอบพลังงานไฟฟ้า โดยข้อมูลแบบ Realtime ที่นำมาคำนวณและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ จะควบคู่ไปกับการวิเคราะห์เพื่อป้องกันการเกิดความขัดข้องของอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลรักษาระบบ และสามารถส่งมอบพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพต่อไป

Back to top button