5 โบรกชี้เป้า MCA สูงสุด 5.10 บ. ลุ้นปีนี้กำไรโตเท่าตัว! เบอร์หนึ่งด้านวางแผนการตลาด

5 โบรกฯเคาะราคาเป้าหมาย MCA ที่ 4.50-5.10 บาท/หุ้น ชูผู้นำวางแผนกลยุทธ์การตลาดครบวงจร คาดปีนี้โกยกำไรโตเท่าตัว ประกาศนำเงินสยายปีกธุรกิจใหม่ “Distributor” ตอบโจทย์รองรับกลุ่มลูกค้าให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น


บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินระดับความเหมาะสม ราคาหุ้นบริษัท มาร์เก็ต คอนเน็กชั่นส์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ MCA ที่ราคา 5.10 บาทต่อหุ้น โดยให้น้ำหนักที่อุตสาหกรรมบริการทางการตลาดฟื้นตัว และธุรกิจใหม่(ผู้จัดจำหน่ายสินค้า) ช่วยหนุนการเติบโต ทั้งนี้อ้างอิงจากการเติบโตเฉลี่ยของ EPS ที่ 22% CAGR 2566 -2026 บนฐาน EPS ปี 2024 ที่ 0.26 บาท โดยประสบการณ์ในการให้บริการจัดกิจกรรมทางการตลาดแบบครบวงจร และศักยภาพความแข็งแกร่ง จุดเด่นในการมีความสัมพันธ์ที่ดีและบริการสามารถวัดผลได้ตรงตามความต้องการลูกค้า ทำให้ฐานลูกค้าขยายตัวต่อเนื่อง

และในขณะที่ภาวะอุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัวจาก COVID-19 โดยค่าใช้จ่ายการตลาดส่วนใหญ่กว่า 20% จะใช้ในกิจกรรมสร้างและบริหารแคมแพนทางการตลาด และกลยุทธ์การสร้างประสบการณ์ทางการตลาด ซึ่งตรงกับธุรกิจหลักของบริษัท ส่งผลให้บริษัทได้รับปัจจัยเชิงบวกจากการแนวโน้มการฟื้นตัว และการเติบโตของอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้บริษัทได้ขยายไปทำธุรกิจ Distributor หลังจากเห็นความต้องการที่มากขึ้นจากกลุ่มลูกค้าเดิมและสามารถ utilized capacity/expertise ของบริษัทได้ โดยเริ่มต้น pilot project รับสินค้าจำนวน 7 แบรนด์  ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาส 3/2566

นอกจากนี้ได้ประเมินผลการดำเนินการกลับสู่ขาขึ้นตามภาวะอุตสาหกรรม และมีโอกาสเกิด upside โดยคาดการณ์กำไรปกติในปี 2566 ที่ 36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 119% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้รวมปี 2566 ที่ 499 ล้านบาท โต 34% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมี backlog เป็น secured revenue 96% และกำไรปกติปี 2567 ที่ 59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  62% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้ปี 2567 ประเมินที่ 650 ล้านบาท  โต 30% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน อิงสมมติฐานเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากการกลับมาของภาคการท่องเที่ยว ส่วน GPM ในปี 2566 -24 ประเมินไว้ที่ 22% สะท้อนโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับปี 2022

บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ให้ราคาเหมาะสม MCA ที่ 5 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ MCA เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด พร้อมการให้บริการจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดแบบครบวงจร โดยมีบริการหลัก 4 ประเภท 1) บริการจัดกิจกรรมทางการตลาดและดิจิทัล 2) บริการบรรจุและจัดส่งสินค้า 3) บริการพนักงานแนะนำสินค้า 4) บริการจัดเรียงสินค้า โดยมองว่าภาพรวมการดำเนินงานในปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการจัดกิจกรรมการตลาดได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด -19 และชัดเจนยิ่งขึ้นในปี 2567 หลังมีคณะรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่โอกาสทางธุรกิจที่มีมากขึ้นในการขยายสู่ธุรกิจใหม่ในการเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้า ( Distributor)

และมีโครงการนำร่องตั้งแต่ไตรมาส 3/66 จำนวน 1 โครงการ ในการเป็นสื่อกลางระหว่างเจ้าของสินค้าและผู้อุปโภคบริโภค ทำให้รายได้มีศักยภาพ เกิดขึ้นตามยอดขายสินค้าในช่องทางต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการประหยัดต่อขนาด  (Economies of Scale) ซึ่งจะสนับสนุนให้สร้างผลกำไรโดยรวมปรับดีขึ้น พร้อมประเมินรายได้จากการบริการ ในปี 2566-2567 ราว 489 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 625 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) เท่ากับ 19% ต่อปี จึงใช้สมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ในปี 2566 ที่ระดับ 22.5% เท่ากับงวด 6 เดือนแรกปี 2566 และปรับดีขึ้นเป็น 23% ในปี 2567 ส่งผลให้ฝ่ายวิจัย ประเมินกำไรสุทธิในปี 2566-2567 ที่ 33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100%  (เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) และ 56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 70% ( เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) หรือคิดเป็นอัตราการ เติบโตเฉลี่ย CAGR) เท่ากับ 50% ต่อปี

บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)ให้ราคาเหมาะสมที่ 4.80 บาทต่อหุ้น โดยมองว่า MCA เป็นผู้ให้บริการทางการตลาดที่หลากหลายและครอบคลุม ลูกค้าสามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ ทางการตลาดผ่านการร่วมงานกับบริษัทฯเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ลดความซับซ้อนของงาน เพิ่มความ ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนแผนงาน และมีประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับการต้องร่วมงานกับผู้ให้บริการหลายรายพร้อมกัน ซึ่งเป็นจุดแข็งและโอกาสที่สำคัญของบริษัทฯ ที่จะใช้นำเสนอ หรือขยายการบริการใหม่ที่ต่อยอดงานเดิมกับลูกค้าได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ ได้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2566-2024 ที่ 31 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และปี 2567 อยู่ที่ 54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะรายได้จากการให้บริการรวมในช่วงปี 2566-2567 เพิ่มขึ้น 22.8% และ เพิ่มขึ้น 23.3% ตามลำดับ เป็นผลมาจากรายได้จากทุกธุรกิจฟื้นตัวจากช่วงโควิดต่อเนื่อง ที่สำคัญการขยายงานในธรุกิจบริการใหม่ ได้แก่ 1) รายได้จากกลุ่มการบริการจัดเรียงสินค้า (Merchandiser) เติบโตขึ้นมากที่สุด และเป็นหนึ่งในสัดส่วนรายได้หลักของบริษัท และ 2) ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2566 บริษัทฯได้มีเริ่มดำเนินการโครงการนำร่อง (Pilot Project) สำหรับธุรกิจผู้จัดจำหน่าย สินค้า (Distributor) จำนวน 1 โครงการแล้ว โดยบริษัทฯจะมีรายได้ที่เกิดขึ้นตามที่ยอดขายสินค้าตามช่องทางต่างๆที่เกิดขึ้นในเวลา ดังนั้นส่วนเงินลงทุนในธุรกิจใหม่นี้จะมาจากเงินที่ได้จากการระดมทุนในตลาดหุ้นครั้งนี้

บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด ให้ราคาเป้าหมายของ MCA อยู่ที่ 4.60 บาท โดยฝ่ายวิจัยใช้วิธีประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้น MCA โดยใช้ P/E ของหุ้นที่มีธุรกิจใกล้เคียงกันที่ระดับ 19.9x เท่า  จากการขยายบริการและการเติบโตในธุรกิจใหม่อย่างการเป็นผู้จัดจำหน่ายที่คาดว่าจะทำให้รายได้เติบโตแข็งแกร่ง รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นที่คาดว่าจะมีการขยายตัวจากการเพิ่มงบการตลาดของบริษัทลูกค้าและการประหยัดจากขนาด ทำให้เราคาดว่ากำไรสุทธิของบริษัทคาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 61.0% CAGR ใน 2565-2568 และกำไรต่อหุ้นเติบโต 45.6% CAGR  และคาดว่ารายได้สำหรับปี  2566-2568 จะอยู่ที่ 475 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 27.3% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 598 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 26.0% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 685 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 14.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ โดยบริการจัดกิจกรรมทางการตลาดและดิจิทัลจะเป็นบริการหลักหนุนการเติบโตโดยคาดว่าจะมีการเติบโตอยู่ที่ 21.5% CAGR ใน 2565-25685 โดยใน 6 เดือนแรกปี 2566 มีจำนวนแบรนด์ที่ใช้บริการบริษัทแล้วอยู่ที่ 72 ราย (vs 2022 ที่ 57 ราย) ซึ่งภายในสิ้นปี 2566 คาดว่าจะมีจำนวนแบรนด์เพิ่ม ก่อนจะมีการเติบโตเฉลี่ยราวปีละ 10% นอกจากนั้นมองว่างบการใช้จ่ายทางการตลาดในแต่ละแบรนด์จะมีการปรับตัวขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเหมาะสม MCA ที่ 4.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็น implied target P/E ที่19 เท่า สอดคล้องกับ forward PER ที่19 เท่า ทั้งนี้มองว่า MCA  มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งในอุตสาหกรรมจากความเชี่ยวชาญในการให้บริการการจัดกิจกรรมด้านการตลาดแบบครบวงจรได้มากกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมทั้งในกลุ่มของ listed company และกลุ่ม non-listed company ทำให้สามารถตอบโจทย์การทำกิจกรรมการตลาดได้ในหลายๆผ่านการส่งเสริม และวางกลยุทธ์ทางตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ สร้างความเชื่อมโยงกับผู้บริโภค และส่งเสริมยอดขาย ซึ่งมีฐานข้อมูลพนักงานรองรับการให้บริการทั่วประเทศกว่า 9,100 คน ขณะที่การดำเนินงานให้บริการของบริษัท ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีมาตรวจสอบผลการดำเนินงาน เพื่อวัดประสิทธิภาพในการทำงานให้กับทางลูกค้า สามารถนำไปต่อยอดพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้กับลูกค้าได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการของบริษัทได้มากขึ้นกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ

ทั้งนี้ ได้ประเมินผลการดำเนินงานของ MCA ที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจนตั้งแต่ปี 2566 และคาดจะกลับไปสู่ระดับก่อนโควิดตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป โดยคาดกำไรสุทธิต่อหุ้นเติบโตเฉลี่ยที่ระดับ CAGR 43% ในปี 2566-2568  และคาดกำไรสุทธิเติบโตจาก 17 ล้านบาทในปี 2565 เป็น 68 ล้านบาท ในปี 2025 จากรายได้เติบโต 32%  29% และ 17% ในปี 2566-2025 ตามลำดับ ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ในปี 2566-2568 ที่ระดับ 22-23% เทียบกับ 22.5% ในครึ่งแรกปี 66 และ 22.2% ในปี 2565 เป็นผลจากการเติบโตสูงของรายได้จากบริการ Merchandiser (มี GPM ที่ราว 17%) และรายได้จากบริการใหม่ SDS (GPM ราว 8-10%)ที่เริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ครึ่งหลังปี 66 ซึ่งเป็นธุรกิจที่มี GPM ต่ำกว่าบริการกิจกรรมด้านการตลาดที่มี GPM สูงกว่าที่ราว 27% ในปี 2565

 

Back to top button