PTTEP ขยายสัญญา “ขุดเจาะบ่อก๊าซ” เมียนมา! รักษาความมั่นคงพลังงาน

PTTEP ขยายสัญญาขุดเจาะบ่อก๊าซ 2 แห่งในเมียนมา ขณะเดียวกันจะยื่นประมูลการขุดเจาะบ่อก๊าซ 2 ใน 3 แห่งในประเทศไทย และคาดว่าจะผลิตก๊าซจากบ่อเหล่านี้ภายในระยะเวลา 2 ปี เพื่อความมั่นคงพลังงาน


นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า PTTEP อาจจะขยายสัญญาการขุดเจาะบ่อก๊าซ 2 แห่งในเมียนมา เมื่อสัญญาฉบับหนึ่งหมดอายุลงในปี 2571 และสัญญาอีกฉบับจะหมดอายุลงภายในระยะเวลาประมาณ 20 ปี

ทั้งนี้ นายมนตรีกล่าวกับรอยเตอร์เมื่อวันจันทร์ (2 ต.ค.66) นอกรอบการประชุม ADIPEC ซึ่งเป็นการประชุมอุตสาหกรรมพลังงานที่จัดขึ้นที่กรุงอาบูดาบี เมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ว่า นอกจากการขยายสัญญาบ่อก๊าซทั้ง 2 แห่งแล้ว PTTEP จะยื่นประมูลการขุดเจาะบ่อก๊าซ 2 ใน 3 แห่งในประเทศไทย และคาดว่าจะผลิตก๊าซจากบ่อเหล่านี้ภายในระยะเวลา 2 ปี

โดยรอยเตอร์ระบุว่า ไทยกำลังเผชิญกับการผลิตก๊าซที่ลดน้อยลงจากแหล่งเอราวัณ โดย PTTEP ได้เทกโอเวอร์แหล่งเอราวัณจากบริษัทเชฟรอน หลังจากที่เชฟรอนได้ดำเนินการในแหล่งก๊าซแห่งนี้มาเป็นเวลานานถึง 40 ปี

ทั้งนี้ แหล่งเอราวัณซึ่งเคยผลิตก๊าซได้ถึง 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันในปี 2562 นั้น สามารถผลิตก๊าซได้เพียง 250-300 ลูกบาศก์ฟุต/วันหลังจากประสบปัญหาล่าช้าในการเปลี่ยนมือผู้ดำเนินโครงการ กระทั่งในช่วงกลางปีนี้ แหล่งเอราวัณผลิตก๊าซได้เพิ่มขึ้นเป็น 400 ลูกบาศก์ฟุต/วัน และทางบริษัท PTTEP ตั้งเป้าที่จะผลิตให้ได้ถึง 800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ภายในเดือนเม.ย. 2567

เราทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการเข้าไปสำรวจแหล่งก๊าซในมาเลเซียด้วยเช่นกัน เพราะเราเชื่อว่าเรายังคงมีก๊าซในมาเลเซีย และทางมาเลเซียก็สามารถนำก๊าซมาผลิตให้เป็นก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อการส่งออก” นายมนตรีกล่าว

สำส่วนในเมียนมานั้น PETTEP ต้องการที่จะขยายสัญญาการขุดเจาะบ่อก๊าซ 2 แห่งเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน ในขณะที่ทางบริษัทดำเนินการผลิตก๊าซจากบ่อทั้ง 2 แห่งได้ในสัดส่วน 50% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเมียนมา หรือประมาณ 20% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย

ทั้งนี้ นายมนตรีกล่าวว่า ปัจจุบันไทยจำเป็นต้องนำเข้าก๊าซ LNG ประมาณ 4,000 ลูกบาศก์ฟุต/วัน หรือประมาณ 40% ของปริมาณการใช้โดยรวมภายในประเทศ

Back to top button