JKN ยันมติบอร์ด 7 พ.ย. แผนยื่นฟื้นฟู! อิงเงื่อนไข ถือเสียงข้างมาก
JKN แจงมติบอร์ดวันที่ 7 พ.ย.66 ยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการ ชี้อิงตามเงื่อนไขของประชุม โดยถือเสียงข้างมากของที่ประชุม ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดในองค์ประชุม ดังนั้นการกระทําของคณะกรรมการและกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทน จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายและมีผลผูกพันกับบริษัทโดยสมบูรณ์
บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ชี้แจงเพิ่มเติมในวันที่ (20 พ.ย.66) ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กรณีกรรมการไม่ได้รับเชิญให้เข้าประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อลงมติขอยื่นฟื้นฟูกิจการนั้น บริษัทขอเรียนว่าในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 บริษัทไม่ได้ส่งหนังสือเชิญประชุมให้กรรมการเนื่องจากเป็นความจําเป็นเร่งด่วน ในกรณีประเด็นข้อ 4 ว่าด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวมาข้างต้นบริษัทจึงมีความจำเป็นรีบด่วน (เนื่องจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (CEO&MD) จะต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อปฏิบัติภารกิจการจัดงานประกวด Miss Universe 2023 และเจรจาธุรกิจกับคู่ค้าต่าง ๆ หลายประเทศ เพื่อเป็นการหารายได้กลับเข้าสู่บริษัท อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินธุรกิจที่ได้วางไว้) ที่จะต้องกระทำเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท
อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดําเนินธุรกิจที่ได้วางไว้) ที่จะต้องกระทําเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท ประกอบกับเลขานุการของบริษัทมีภารกิจสําคัญหลายอย่างที่จะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จในทันทีอันสืบเนื่องมาจากเหตุผิดนัดชําระหุ้นกู้ตามข้อ (1) ทําให้บริษัทไม่สามารถออกหนังสือเชิญประชุมเป็นหนังสือ แต่ได้ดําเนินการเรียกประชุมโดยโทรศัพท์แจ้งกรรมการได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทข้อที่ 27. วรรคหก ซึ่งได้กําหนดไว้ว่า “ในการเรียกประชุมคณะกรรมการ ให้ส่งหนังสือเชิญประชุมไปยังกรรมการไม่น้อยกว่าสาม (3) วัน ก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจําเป็นรีบด่วน เพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด และกําหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้” แต่ทั้งนี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (CEO&MD) ได้ดําเนินการติดต่อไปยังคณะกรรมการของบริษัทโดยตรงด้วยวิธีการทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและแผนสํารองหากการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ไม่เห็นชอบกับแผนการชําระหนี้หุ้นกู้ที่จัดทําโดยที่ปรึกษาทางการเงิน จะทําให้หนี้หุ้นกู้ทุกรุ่นถึงกําหนดชําระโดยพลัน ดังนั้น บริษัทมีความจําเป็นที่จะต้องยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง
โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการจัดการ (CEO&MD) สามารถติดต่อกรรมการทางโทรศัพท์โดยตรงรวม 5 ท่าน ซึ่งไม่ได้มีการคัดค้านการยื่นฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใด ส่วนอีก 1 ท่านไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากอยู่ในระหว่างเดินทางโดยเครื่องบิน ทั้งนี้ กรรมการอีก 4 ท่าน (ซึ่งรวมถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ) เป็นกรรมการและกรรมการบริหาร ซึ่งทํางานอยู่ที่สถานประกอบการของบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า คณะกรรมการบริษัทมีจํานวนทั้งหมด 10 ท่าน และได้มีการติดต่อไปยังคณะกรรมการบริษัททางโทรศัพท์โดยตรง รวม 5 ท่าน และไม่สามารถติดต่อได้รวม 1 ท่าน ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้ กรรมการที่ได้ติดต่อทางโทรศัพท์สามารถเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เพียง 1 ท่าน เมื่อนับรวมกับกรรมการจํานวน 4 ท่าน ที่ได้เข้าร่วมประชุม ณ สถานประกอบการของบริษัท รวมเป็นกรรมการที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ทั้งสิ้น 5 ท่าน จึงถือได้ว่ามีกรรมการมาเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งในวันดังกล่าวประธานในที่ประชุมไม่อยู่ในที่ประชุมและไม่มีรองประธานกรรมการ
ดังนั้นกรรมการที่เข้าร่วมประชุมจึงได้แต่งตั้งให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (CEO&MD) เป็นประธานในที่ประชุม และในระหว่างที่ดําเนินการจัดการประชุมเพื่อการออกเสียงลงคะแนนในวาระพิจารณาอนุมัติการยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางได้มีกรรมการ งดออกเสียง 1 ท่าน และ เห็นชอบรวม 4 ท่าน จึงถือได้ว่าเป็นการวินิจชัยชี้ขาดของที่ประชุมเสียงโดยใช้เสียงข้างมาก กรณีดังกล่าวจึงถือว่าการจัดประชุมและลงมติของ 3 คณะกรรมการ ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เกี่ยวกับการยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง จึงเป็นการชอบด้วยพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ.2535 มาตรา 80 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในการประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธานกรรมการเป็นประธาน ถ้าไม่รองประธานกรรมการ หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก” และชอบด้วยข้อบังคับของบริษัท ข้อ 26. ซึ่งได้กําหนดไว้ว่า“ในการประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (1/2) ของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม โดยประธานกรรมการจะเป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการ ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
โดยถ้ามีรองประธานกรรมการ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานกรรมการ หรือมีแต่ไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การกระทํากิจการ การแต่งตั้ง หรือการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการในเรื่องใดๆ ให้ถือเสียงข้างมากของจํานวนกรรมการที่เข้าร่วมประชุม โดยกรรมการคนหนึ่งมีหนึ่ง (1) เสียง ในการลงคะแนน เว้นแต่กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด กรรมการท่านนั้นไม่สิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก”
โดยบริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่าการติดต่อกรรมการทุกท่านผ่านทางโทรศัพท์เกี่ยวกับความจําเป็นในการยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เป็นไปด้วยความจําเป็นรีบด่วน เพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทโดยสุจริต ทั้งนี้ กรรมการทุกท่านที่บริษัทได้ติดต่อไปนั้นก็ไม่ได้มีผู้ใดคัดค้านการยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทแต่อย่างใด นอกเหนือจากนั้นแล้วการยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท
ได้กระทําโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนบริษัท (ภายใต้มติคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2566เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) ซึ่งตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ.2535 มาตรา 97 ได้บัญญัติไว้ว่า “เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้ในหมวดนี้เป็นอย่างอื่น ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการบริษัทและบุคคลภายนอก ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน” ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 820 ได้บัญญัติไว้ว่า “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งตัวแทน” ดังนั้นการกระทําของคณะกรรมการและกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนบริษัท ในเรื่องของการยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายและมีผลผูกพันกับบริษัทโดยสมบูรณ์ทั้งนี้ แม้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายจะไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น จะต้องได้รับการอนุมัติจากมติที่ประชุมคณะกรรมการ แต่บริษัทก็ได้ยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอาศัยมติของที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทที่ชอบด้วยกฎหมายดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น