จับตาปี 67 กลุ่ม “อิเล็กทรอนิกส์” คึก! รับยอดชิ้นส่วนรถยนต์พุ่ง
“บล.บัวหลวง” มองปี 67 กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ “DELTA- KCE- HANA” รับดีมานด์ฟื้นตัว แนะนำใช้กลยุทธ์ "ซื้อเก็งกำไร" โดยคาดการณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ในปี 2567 ยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ (26 ธ.ค. 66) ประเมินเกี่ยวกับหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ในระยะสั้น เนื่องจากไทยเผชิญกับความท้าทายจากปัญหาเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ดีบริษัทบางแห่งมีแนวโน้มที่จะยังคงปรับตัวได้ดี โดยได้รับประโยชน์จากแนวโน้มระยะยาวในการเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ต่อคัน ดังนั้น จึงแนะนำใช้กลยุทธ์ “ซื้อเก็งกำไร” โดยพิจารณาขายในสถานการณ์กดดันในระยะสั้น และซื้อโดยพิจารณาจากแนวโน้มระยะยาวที่ดี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการผลิตรถยนต์ทั่วโลกจะชะลอตัวลง แต่คาดการณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ในปี 2567 ยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี โดยคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตจะทรงตัวอยู่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน
ทั้งนี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการเพิ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่อคันจะช่วยลดผลกระทบของการสะสมสินค้าคงคลังในระดับสูงสุดไปแล้วในซัพพลายเชนยานยนต์ ควบคู่ไปกับจำนวนการผลิตรถยนต์ที่ลดลงในตลาด แม้ว่าการสะสมสินค้าคงคลังที่ผ่านจุดสุงสุดไปแล้วใกล้จะเสร็จสิ้น ซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนมาเป็นปัญหา และนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าระดับสินค้าคงคลังจะคงอยู่ในระดับใหม่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด สะท้อนถึงวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมต่อแนวทางปฏิบัติด้านสินค้าคงคลังแบบเดิมๆ
ขณะที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่อคันกำลังมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนุนโดยการนำรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติมาใช้อย่างกว้างขวาง ส่วนกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกลุ่มยายนต์ไฟฟ้า power electronics คิดเป็นมูลค่า 20-25% ด้วยมูลค่าเฉลี่ย 7,804 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาป (ICE) เพื่อให้บรรลุความสามารถในการขับขี่อัตโนมัติในระดับที่สูงขึ้น ทั้งเซ็นเซอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (LiDAR, เรดาร์, กล้อง), เซมิคอนดักเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนต่อคัน จึงมีความจำเป็น ตามแผนงานการพัฒนาการขับขี่แบบอัตโนมัติ
ดังนั้นฝ่ายนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามูลค่าของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้จะเปลี่ยนจาก L1 เป็น L3 ก็ตาม ตัวอย่างเช่น โมดูลกล้อง 7 ตัวจะถูกนำมาใช้ในการออกแบบ L3 เมื่อเทียบกับกล้องเพียงตัวเดียวในระบบ L1 ซึ่งหมายถึงการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 7-8 เท่า
แม้ว่าปัจจัยหลักที่หนุนการเติบโตของบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA แต่ธุรกิจ EV กำลังเผชิญกับความท้าทายในระยะสั้นจากการดีเลย์และขยายระยะเวลาการสั่งซื้อ ขณะที่ดาต้าเซนเตอร์จะรักษาเสถียรภาพไว้ได้ในปี 2566 และคาดการณ์ว่าอุปสงค์จะฟื้นตัวในปี 2567
ส่วนการเติบโตของ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE หนุนจากการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในยานพาหนะเพิ่มมากขึ้น ระบบอัตโนมัติระดับ 3-5 ช่วยเพิ่มรายได้ 600-1,200 เหรียญสหรัฐ สำหรับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ต่อรถยนต์หนึ่งคัน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ในปี 2564-2568 เติบโตเฉลี่ย (CARG) จะอยู่ที่ 30% สำหรับโมดูกล้อง ADAS เทียบกับ 6% สำหรับโมดูลที่ไม่ใช่ ADAS ที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อ KCE จากความซับซ้อนของเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มขึ้นในยานพาหนะสมัยใหม่ ที่ไม่ใช่แค่ปริมาณการขาย
นอกจากนี้ประเมิน บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA มีมุมมองเชิงบวกต่อซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) อย่างไรก็ตาม แม้ว่า SiC จะมีความสำคัญต่อธุรกิจในอนาคตของยานยนต์ไฟฟ้า แต่ในระยะสั้นก็ไม่สามารถเลี่ยงอุปสงค์
ที่ชะลอตัวจากตลาดปลายทางได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนไปเน้นรถ EV ระดับล่าง ซึ่งนิยมใช้ Si มากกว่า SiC ซึ่งการฟื้นตัวของสมาร์ทโฟนและพีซี คาดการณ์ว่าจะเป็นปัจจัยหนุน HANA ในปี 2567