สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 3 ม.ค.2567
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 3 ม.ค.2567
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพุธ (3 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากตลาดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในปีที่แล้ว นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายยังถูกกดดันจากการที่รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ช่วยให้นักลงทนุมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 37,430.19 จุด ลดลง 284.85 จุด หรือ -0.76%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,704.81 จุด ลดลง 38.02 จุด หรือ -0.80% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,592.21 จุด ลดลง 173.73 จุด หรือ -1.18%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบในวันพุธ (3 ม.ค.) สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ อันเนื่องมาจากแรงขายทำกำไร หลังจากตลาดทะยานขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมาจากความหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดตลาดที่ระดับ 474.40 จุด ลดลง 4.11 จุด หรือ -0.86%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 7,411.86 จุด ลดลง 119.00 จุด หรือ -1.58%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 16,538.39 จุด ลดลง 230.97 จุด หรือ -1.38% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,682.33 จุด ลดลง 39.19 จุด หรือ -0.51%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบในวันพุธ (3 ม.ค.) แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยถูกกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้น และจากแรงขายหุ้นกลุ่มเหมืองแร่และกลุ่มสินค้าส่วนบุคคล
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,682.33 จุด ลดลง 39.19 จุด หรือ -0.51%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 3% ในวันพุธ (3 ม.ค.) หลังจากมีรายงานว่า ลิเบียซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) สั่งปิดบ่อน้ำมันชารารา (Sharara) เนื่องจากการประท้วงของคนงาน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังพุ่งขึ้นเนื่องจากความกังวลว่าสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลก
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 2.32 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 72.70 ดอลลาร์/บาร์เรล
บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (3 ม.ค.) โดยถูกกดดันจากการที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นซึ่งสกัดกั้นแรงซื้อทอง เพราะทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ๆ ขณะที่นักลงทุนมีความกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 30.60 ดอลลาร์ หรือ 1.48% ปิดที่ 2,042.80 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ร่วงลง 79.60 เซนต์ หรือ 3.32% ปิดที่ 23.157 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 11.20 ดอลลาร์ หรือ 1.12% ปิดที่ 987.10 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 12.80 ดอลลาร์ หรือ 1.18% ปิดที่ 1071.10 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (3 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์เพื่อชดเชยการทำชอร์ตเซล ขณะที่ไม่แน่ใจกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 6 ครั้งในปีนี้
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.23% แตะที่ระดับ 102.43 หลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ในช่วงเช้าที่ระดับ 102.61
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.9% สู่ระดับ 143.31 เยน ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลง 0.2% สู่ระดับ 1.0924 ดอลลาร์ ส่วนปอนด์แข็งค่า 0.4% สู่ระดับ 1.2666 ดอลลาร์