“กทม.” เร่งสกัดฝุ่น PM2.5 หลังพบ 26 พื้นที่ เกินค่ามาตรฐาน
“กทม.” สั่งแจกจุลินทรีย์ลดเวลาเผาไหม้ขยะ-ลงพื้นที่ตรวจฝุ่น สกัดปัญหา PM 2.5 หลังพบ 26 พื้นที่ ฝุ่นเกินค่ามาตรฐานระดับสีส้ม “วังทองหลาง” อ่วมสุด วัดค่าได้เท่ากับ 55.7 มคก./ลบ.ม.
ผู้สื่อข่าวรางานวันนี้ (12 ม.ค. 67) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ดำเนินมาตรการทุกด้านเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 หลังคาดการณ์ว่าค่าฝุ่นจะอยู่ในระดับสีเหลืองและสีส้ม ซึ่งทำให้คุณภาพอากาศและเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ อาทิ การแจกจุลินทรีย์พิเศษที่สามารถหมักชีวมวลได้รวดเร็วขึ้นจาก 30 วัน เหลือเพียง 7 วัน เพื่อให้เกษตรกรลดการเผาชีวมวลในที่โล่งแจ้งลง และโครงการ “รถคันนี้ลดฝุ่น” เพื่อรณรงค์ให้เปลี่ยนไส้กรองอากาศและน้ำมันเครื่องยนต์ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. 66 ถึงวันที่ 9 ม.ค. 67 ขณะที่มีรถเข้าร่วมโครงการแล้ว 41,488 คัน ซึ่งช่วยลดฝุ่น PM2.5 ได้ 2% ซึ่งตั้งเป้ารถเข้าร่วมโครงการจำนวน 3 แสนคัน เพื่อช่วยลดฝุ่น PM2.5 ลง 15%
อีกทั้งตรวจแหล่งกำหนดฝุ่นต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 11 ม.ค.67 อาทิ สถานประกอบการและโรงงาน 348 แห่ง ตรวจสอบ 12,212 ครั้ง ไม่ผ่าน (สั่งให้ปรับปรุงแก้ไข) 8 แห่ง, แพลนท์ปูน 120 แห่ง ตรวจสอบ 1,642 ครั้ง ไม่ผ่าน (สั่งให้ปรัมปรุงแก้ไข) 17 แห่ง, สถานที่ก่อสร้าง 525 แห่ง ตรวจสอบ 4,806 ครั้ง ไม่ผ่าน (สั่งให้ปรับปรุงแก้ไข) 34 แห่ง, ถมดินและท่าทราย 23 แห่ง ตรวจสอบ 286 ครั้ง,
รวมไปถึงตรวจควันดำในสถานที่ต้นทาง 3,090 คัน เกินค่ามาตรฐาน (สั่งให้ปรับปรุงแก้ไข) 19 คัน, ตรวจจับรถยนต์ปล่อยควันดำ 147,021 คัน ห้ามใช้ 2,282 คัน, ตรวจรถโดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง 38,028 คัน ห้ามใช้ 120 คัน และตรวจรถบรรทุก 97,429 คัน ห้ามใช้ 544 คัน
ทั้งนี้จากงานวิจัยพบว่าฝุ่นในพื้นที่กทม. แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฝุ่นที่มีต้นกำเนิดจากทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ โดยมีฝุ่นที่เกิดจากภายนอกกทม. และปริมณฑล 42%, ฝุ่นที่เกิดจากการจราจร 22%, ฝุ่นที่เกิดจากการเผาในที่โล่ง 16%, ฝุ่นที่เกิดจากการโรงงานอุตสาหกรรม 15%, ฝุ่นถนน 4% และอื่นๆ 1% ทั้งนี้มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งระบุว่า ฝุ่นในพื้นที่กทม.มาจากรถยนต์ดีเซล คิดเป็น 57%, ฝุ่นทุติยภูมิ 16%, เผาในที่โล่ง 15%, รถยนต์เบนซิน 8% และอื่นๆ 4%
ขณะที่สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของ กทม.ตรวจวัดได้ 24.1-55.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 26 พื้นที่ อาทิ
1.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 55.7 มคก./ลบ.ม.
2.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 52.8 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 51.8 มคก./ลบ.ม.
4.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 48.2 มคก./ลบ.ม.
5.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 45.9 มคก./ลบ.ม.
6.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 45.4 มคก./ลบ.ม.
7.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 44.3 มคก./ลบ.ม.
8.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 44.2 มคก./ลบ.ม.
9.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 44.1 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.
11.สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.
12.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 43.6 มคก./ลบ.ม.
13.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 43.4 มคก./ลบ.ม.
14.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 43.2 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
16.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 42.4 มคก./ลบ.ม.
17.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
18.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
19.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
21.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 40.1 มคก./ลบ.ม.
22.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 39.8 มคก./ลบ.ม.
23.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.
24.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 39.3 มคก./ลบ.ม.
25.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
26.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 37.9 มคก./ลบ.ม.