เล็ง 11 หุ้น ติดตั้ง “โซลาร์รูฟท็อป” จ่อรับมาตรการลดหย่อนภาษี

เล็ง 11 หุ้นติดตั้ง “โซลาร์รูฟท็อป” รับประโยชน์ “พพ.” เตรียมหารือสรรพากร มาตรการนำค่าใช้จ่ายติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ลดหย่อนภาษีประจำปี ไม่เกิน 2 แสนบาท รวมถึง “กระทรวงอุตสาหกรรม” เดินหน้าปลดล็อคติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป 1 เมกฯ ไม่ต้องขอใบอนุญาตโรงงาน คาดมีผลภายในปีนี้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า กรมจะหารือกรมสรรพากร เพื่อพิจารณาแนวทางกำหนดมาตรการให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป มาหักลดหย่อนภาษีประจำปี ไม่เกิน 2 แสนบาท ขนาด 10 กิโลวัตต์ โดยมีระยะเวลา 3 ปี หลังจากมีบังคับใช้เพื่อสนับสนุนคนใช้โซลาร์ 9 หมื่นครัวเรือนต่อปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า สำหรับประชาชนผู้ร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน ผู้ประกอบการ ได้เข้าถึงพลังงานสะอาดและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแบบครบวงจรมากขึ้น

ขณะที่นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เพื่อเป็นสนับสนุนพลังงานสะอาด จะเดินหน้าปลดล็อคการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ไม่เข้าข่ายโรงงานที่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอีกต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการแก้ไขกฎกระทรวง โดยคาดการณ์ว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2567 เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ส่งเสริมการให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจใช้พลังงานสะอาด มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน คาดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 500tCO2/เมกะวัตต์/ปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 62,500 ต้น ซึ่งตามกฎหมายโรงงานเดิมกำหนดว่าการติดตั้ง Solar Rooftop ที่มีกำลังผลิตเกินกว่า 1,000 กิโลวัตต์ หรือ 1 เมกะวัตต์ เข้าข่ายเป็นโรงงานต้องขอรับใบอนุญาต

การปลดล็อคดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจจากการติดตั้ง Solar Rooftop ได้ง่ายขึ้น ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 500tCO2/เมกะวัตต์/ปี นับเป็นการผลักดันให้ผู้ประกอบการเกิดการขับเคลื่อนทางธุรกิจอย่างสมดุลและยั่งยืนใน 4 มิติ และการกระจายรายได้สู่ชุมชนจากการขยายตัวของธุรกิจติดตั้งโซล่าเซลล์” นายณัฐพล กล่าว

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหุ้นที่คาดการณ์ว่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างการดำเนินธุรกิจโซลาร์รูฟท็อปในปัจจุบัน ได้แก่ บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SAK โดยดำเนินธุรกิจผ่านการจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนกับบริษัท ทีซี รีนิวอะเบิ้ล เอ็นเนอร์ยี่ (TC Energy) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในการออกแบบติดตั้งระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) รวมถึงจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ชื่อ “บริษัท ศักดิ์สยาม ทีซี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด” มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซลาร์เซลล์ และเพื่อศึกษาหาแนวทางโอกาสทางธุรกิจเพื่อขยายการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวข้องกับโซลาร์เซลล์ร่วมกัน โดยเฉพาะโครงการการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop)

บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ALT โดยบริษัทดำเนินการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถติดตั้งให้กับลูกค้าไปแล้ว 21 โครงการ รวม 11 เมกะวัตต์

บริษัท กัลฟ์ เอ็นนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด มหาชน) หรือ GULF โดยบริษัท กัลฟ เอ็มพี1 จำกัด (GMP 1) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นสัดส่วน 70% ผ่านบริษัท กัลฟ 1 จำกัด (GULF) ได้จัดตั้งบริษัท กัลฟ์ เอ็มพี ดับบลิวเอซเอ1 จำกัด (Gulf MP WHA1) ด้วยทุนจดทะเบียน10 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมของโรงไฟฟ้า 12SPP ภายในบริษัท กัล เอ็มพี จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมของกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอซเอคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHAซึ่งลูกคำกลุ่มตังกล่าวมีความต้องการที่จะติดตั้ง Solar Rooftop ประมาณ 100 เมกะวัตต์

บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)หรือ SENA โดยบริษัทได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท เอท โซลาร์ จำกัด (Eight Solar)หรือ WE Solar เดิม เพื่อดำเนินการติดตั้งและวางระบบวิศวกรรม (EPC) โซลาร์รูฟท็อป ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) มาอย่างยาวนาน

บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) หรือ SOLAR ผู้ดำเนินธุรกิจต้านการผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่างๆ และให้บริการออกแบบ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ โดยปัจจุบันบริษัทฯดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนอาคารในรูปแบบ Private PPA (Private Power Purchase Agreement)ให้กับลูกค้า เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีสัญญากำลังการผลิตติดตั้ง 21 เมกะวัต ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว 9 เมกะวัตต์, บริษัท แคล-คอมพ์ อี่เลิโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Cal-Comp มีสัญญากำลังการผลิตติตตั้ง 4.9-5 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในเดือนก.พ. 67

บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้นำด้านธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว รายใหญ่ของประเทศ และธุรกิจพลังงานทดแทนประเภทพลังงานแสงอาทิตย์บริษัทพร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะธุรกิจรับเหมาติดตั้งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(Solar Rooftop) หลังจากภาครัฐให้การสนับสนุนแผนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีนัยสำคัญ ตามแผนพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่ม 6,000 เมกะวัตต์ตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2579

บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ WP โดยบริษัทได้ดำเนินธุรกิจติดตั้งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ซึ่งมีการเซ็นต์สัญญาไปรวมทั้งสิ้น 11 เมกะวัตต์

บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ผู้นำด้านพลังงานทดแทน ได้ร่วมกับบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัดพัฒนาพื้นที่หลังคาแนวราบติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป ณ สยาม พรีเมื่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ บนพื้นที่กว่า 50,000 ตารางเมตร มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทดแทนการใช้กระแสไฟฟ้าจากเซื้อเพลิงฟอสซิล 3,800,760 กิโลวัตย์-ชั่วโมง/ปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GreenhouseGas Emission Reduction) 1,900 ตันคาร์บอนไตออกซต์เทียบเท่า (CO2e)

บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER ผู้ประกอบธุรกิจด้านการปฏิบัติการดูแลบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ได้ลงนามสัญญาความร่วมมือโครงการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ กับมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อดำเนินการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ในรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบ Private PPA เพื่อขายไฟฟ้าให้กับ มหาวิทยาลัยมหิดล ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ 14 เมกะวัตต์ โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 12 เมกะวัตต์ โดยมีระยะเวลาขายไฟฟ้าตามสัญญาทั้งหมด 13 ปี 6 เดือน

บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด (มหาชน) หรือ COLOR โดยในปีที่ผ่าน บริษัทได้ขยายธุรกิจผ่านบริษัทย่อย บริษัท เดอะบับเบิ้ลส์ จำกัด ผลิตทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar) เพื่อใช้สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัทเดอะบับเบิ้ลส์ ซึ่งเห็นโอกาสตลาดไฟฟ้าอุตสาหกรรม จึงเตรียมขยายธุรกิจโซลาร์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ร่วมกับทุ่นลอยน้ำโซลาร์

บริษัท พรพรหมเม็ททอล จำกัด (มหาชน) หรือ PPM โดยบริษัทย่อยภายใต้ชื่อ “บริษัทโซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด” ให้บริการครบวงจรด้านระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ครอบคลุมตั้งแต่การผลิต Solar PV Module ออกแบบทางวิศวกรรม ติดตั้ง และบำรุงรักษา นอกจากนั้นยังมีการผลิต OEM ส่งออกแผงให้แบรนด์ชั้นนำทั่วโลก รวมถึงผลิตแผงโซลาร์สำหรับหลังคาบ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงาน

Back to top button