สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 17 ม.ค. 2567
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 17 ม.ค. 2567
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (17 ม.ค. 67) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกิดคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มี.ค. ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 37,266.67 จุด ลดลง 94.45 จุด หรือ -0.25%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,739.21 จุด ลดลง 26.77 จุด หรือ -0.56% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,855.62 จุด ลดลง 88.73 จุด หรือ -0.59%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบในวันพุธ (17 ม.ค. 67) โดยถูกกดดันจากความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ทำลายความหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และตลาดยังได้รับผลกระทบจากข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอกว่าคาดด้วย
ดัชนี STOXX600 ปิดตลาดที่ระดับ 467.71 จุด ลดลง 5.35 จุด หรือ -1.13%, ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 7,318.69 จุด ลดลง 79.31 จุด หรือ -1.07%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 16,431.69 จุด ลดลง 139.99 จุด หรือ -0.84% และดัชนี FTSE100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,446.29 จุด ลดลง 112.05 จุด หรือ -1.48%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบในวันพุธ (17 ม.ค. 67) แตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ หลังอังกฤษเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งเกินคาดได้ทำลายความหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ และข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอเกินคาดนั้นกดดันหุ้นที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,446.29 จุด ลดลง 112.05 จุด หรือ -1.48%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (17 ม.ค. 67) หลังจากมีรายงานว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้ส่งผลให้การผลิตน้ำมันในพื้นที่บางแห่งของสหรัฐปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันลดช่วงบวก หลังจีนเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์พลังงานในจีน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 16 เซนต์ หรือ 0.22% ปิดที่ 72.56 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือ นมี.ค. ลดลง 41 เซนต์ หรือ 0.52% ปิดที่ 77.88 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ (17 ม.ค. 67) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ก.พ. ลดลง 23.70 ดอลลาร์ หรือ 1.17% ปิดที่ 2,006.50 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน มี.ค. ลดลง 42.40 เซนต์ หรือ 1.84% ปิดที่ 22.669 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 14.80 ดอลลาร์ หรือ 1.64% ปิดที่ 889.60 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือน มี.ค. ลดลง 18.40 ดอลลาร์ หรือ 1.96% ปิดที่ 919.70 ดอลลาร์/ออนซ์
ทั้งนี้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (17 ม.ค. 67) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกิดคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มี.ค.
นอกจากนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.09% แตะที่ระดับ 103.450