“ที่ดินทำกิน” สู่การสร้างพื้นที่ “สีเขียว-คาร์บอนเครดิต”
ภารกิจของ สคทช. นอกจากการแก้ไขปัญหา “ที่ดินทำกิน” ให้กับชาวบ้านที่ไร้ผืนแผ่นดินเลี้ยงชีพแล้ว การเพิ่มพื้นที่สีเขียวถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหาเกิดความยั่งยืน ซึ่งภาคเอกชนถือเป็นหนึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในยุคที่ “คาร์บอนเครดิต” มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจนับจากนี้
พื้นที่สีเขียวจำนวนหนึ่งที่อยู่ท่ามกลางเขาหัวโล้นนับ 100 ไร่ในพื้นที่ ต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ คือหนึ่งตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ คทช.ที่นอกจากจะทำให้ชาวบ้านได้มีพื้นที่ประกอบอาชีพเป็นของตัวเองแล้ว คทช. ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวของตัวเอง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ดร.รวีรรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ สคทช. ระบุว่า แนวนโยบายของ คทช. นั้น ได้วางหลักการไว้อย่างชัดเจนว่า นอกจากจะแก้ไขที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านมีพื้นที่ใช้สอยเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานแล้ว การเพิ่มพื้นที่พื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกป่า ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้พัฒนาพื้นที่เกิดความยั่งยืน
โดยพื้นที่ ต.บ้านกองแขก อ.แม่แจ่ม ถือเป็น 1 ตัวอย่างด้านการปลูกป่าควบคู่กับการทำกิน ซึ่ง สคทช.ได้มีส่วนในการช่วยประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ จนทำให้เกิดความร่วมกับองค์กรนานาชาติอย่าง องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ที่ให้เงินทุนสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกป่า ผ่านโครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารยั่งยืน (FLR 349) เป็นโครงการที่น้อมนำศาสตร์พระราชา การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการสร้างห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งเป็นโมเดลให้กับเกษตรกรในพื้นที่ป่าต้นน้ำ โดยมีบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM นำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้ในการสำรวจการเติบโตของพื้นที่ป่า และการวัดปริมาณคาร์บอนเครดิต
นายศรีวรรณ ปภัสสรวัฒนกุล นายก อบต.กองแขก เล่าว่า ย้อนกลับไปในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาพื้นที่บ้านกองแขก และในพื้นที่ใกล้เคียง ชาวบ้านต้องทำกินอย่างผิดกฎหมาย และส่วนใหญ่เป็นการทำไร่เลื่อนลอยพืชเชิงเดียวอย่างข้าวโพด จนทำให้ป่าต้นน้ำกลายเป็นเขาหัวโล่น เพราะส่วนใหญ่ในเวลานั้น ชาวบ้านต่างมองว่าการลงทุนทำอะไรในพื้นที่ที่ไม่เอกสารสิทธิ ย่อมมีความเสี่ยง และไม่แน่นอน การปลูกพืชที่เป็นไม้ใหญ่ เพื่อรอเก็บเกี่ยวผลผลิตอาจต้องใช้เวลานาน
แต่เมื่อมีการจัดตั้ง สคทช. ขึ้นมาในปี 2564 ทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจกับการทำกินมาขึ้นกับการมีสิทธิอาศัยและทำกินในพื้นที่ที่ทางการอนุญาต และยังส่งต่อพื้นที่ไปยังรุ่นลูกและรุ่นหลาน นั้นหมายความว่า ชาวบ้านย้อมเกิดความมั่นใจกับการเพาะปลุกที่ต้องใช้เวลาในการเก็บเกี่วรรยวมากขึ้น แต่ปัญหาสำคัญกับการสร้างผืนป่าขนาดใหญ่นั้นคือ แหล่งเงินทุนในการปลูกป่า หากมีภาคเอกชนที่สนใจลงทุนในการปลูกป่า เพื่อสร้างคาร์บอนเครดิต ชาวบ้านยินดีพร้อมรับเงินสนับสนุน เพราะนอกจากที่จะได้ป่าที่เป็นพื้นที่สีเขียวของประเทศกลับคืนมาแล้ว ป่าที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับภาคเอกชน จะกลายเป็นแหล่งอาหารที่มีความยั่งยืนให้กับคนรุ่นหลังต่อไป
ดร.รวีวรรณ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การที่ภาคเอกชนมาลงทุนปลุกป่าในพื้นที่ทำกินของชาวบ้านที่อยู่ในแผนการจัดสรรที่ดินทำกินของ สคทช.ถือเป็นเรื่องที่ดินและสามารถทำ เพราะผืนแผ่นดินทำกินของชาวบ้านเป็นพื้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการปลูกป่าถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ สคทช.อยากให้เกิดขึ้นกับการสร้างพื้นที่สีเขียว และปอดของประเทศ เพราะนอกจากชาวบ้านจะมีรายได้แล้ว ยังมีอากาศบริสุทธิ์ไว้สำหรับการหายใจด้วย
สำหรับพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งพื้นที่นำร่องกับการจัดสรรพื้นที่ทำกิน โดยมีชาวบ้าน 1,347 รายได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่แจ่ม เนื้อที่ 11,455 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา ซึ่งโครงการปลูกป่าที่เกิดขึ้นกับภาคเอกชนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ไม่ถึง 1% ของพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรร นั้นเท่ากับว่า ยังมีพื้นที่ชาวบ้านอีกจำนวนมากที่สามารถสร้างพื้นที่สีเขียว ที่ได้ทั้งผืนป่าที่เป็นแหล่งอาหาร และปริมาณคาร์บอนเครดิตที่จะมีผลต่อการทำธุรกิจ และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภาคบังคับของประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้