“สคทช.” ผลักดันพื้นที่ “คทช.น่าน” เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

“สคทช.” ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน จัดสรรที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่ “คทช.” บ้านห้วยธนู-บ้านน้ำป้าก และบ้านพนาไพร จังหวัดน่าน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยไม่ทำ ควบคู่กับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า


ดร.รวีรรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดสรรพื้นที่ทำกินให้กับชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดน่าน หลังได้มอบหมายให้นายณัฐวุฒิ เปลื้องทุกข์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสคทช. ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในพื้นที่ คทช.บ้านห้วยธนู, บ้านน้ำป้าก และพื้นที่ คทช. บ้านพนาไพร ซึ่พื้นที่ดังกล่าวได้รับหนังสืออนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้

ทั้งนี้ หลังจากที่มีการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาวและป่าน้ำสวด ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เนื้อที่ 2,353 ไร่ มีการจัดการคนเข้าไปใช้ประโยชน์ 158 ราย และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน เนื้อที่ 10,452 ไร่  มีการจัดการคนเข้าไปใช้ประโยชน์ 563 รายปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าว ได้มีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยดำเนินโครงการตามกรอบการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ 6 ด้าน ตามที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ได้แก่

1.  พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาวและป่าน้ำสวด ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพดินในพื้นที่จัดการปัญหาที่ดินทำกิน,โครงการพัฒนาคุณภาพดินในพื้นที่จัดการปัญหาที่ดินทำกิน (คทช.) กิจกรรมจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ, กิจกรรมการปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ คทช., ฝายห้วยป้าก 1 พร้อมระบบส่งน้ำ และฝายห้วยป้าก 2 พร้อมระบบส่งน้ำ
2. พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพดินในพื้นที่จัดการปัญหาที่ดินทำกิน, โครงการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติทางการเกษตร ในพื้นที่ คทช. กิจกรรมจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ, ฝายห้วยเฮี้ยพร้อมระบบส่งน้ำ, ก่อสร้างระบบส่งน้ำฝายห้วยเฮี้ย, กิจกรรมส่งเสริมการผลิตไก่พื้นเมือง, ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่อความต่อเนื่องแก่เกษตรกรต้นแบบ, โครงการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช, ส่งเสริมการปลูกไผ่เศรษฐกิจทดแทนพื้นที่เขาหัวโล้นและพื้นที่ปลูกข้าวโพด, ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่อสร้างความต่อเนื่องแก่เกษตรต้นแบบ ปีที่ 6, ส่งเสริมและจัดทำบัญชีครัวเรือน และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพและการพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ในพื้นที่ คทช.

 

นอกจากนี้ สคทช. ยังมีนโยบายที่จะผลักดันส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในพื้นที่ คทช. โดยได้มีการมอบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากชุมชน คทช. เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงสินค้าจากพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และไม่บุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติม อีกทั้ง จะขยายผลยกกระดับเครื่องหมายแสดงสินค้า และคุณภาพสินค้าเพื่อให้ไปสู่ระดับสากล ต่อไป รวมถึงการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยไม่ทำการก่อสร้างเพิ่มเติม ควบคู่กับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า

Back to top button