เปิดชื่อ 14 บริษัทติดโผ “S&P Global Yearbook 2024” ดันไทยมีบริษัท “น่าลงทุน” มากสุดในโลก

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดรายชื่อ 14 บริษัทติดโผ “S&P Global Yearbook 2024” ส่งผลให้ประเทศไทยมีบริษัท “น่าลงทุน” มากที่สุดในโลก


ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (20 ก.พ.67) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้นำเสนอข้อมูลรายงานประจำปีผลการประกาศบริษัททั่วโลกใน S&P Global Yearbook 2024 ซึ่งเป็นประเมินผลการดำเนินงาน ตามกรอบการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และการด้านความยั่งยืนมุ่งหวังบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมของตนที่แต่ละบริษัทได้แสดงให้เห็นถึงจุดแข็งในด้านความยั่งยืนขององค์กร ปรากฏว่า มีบริษัทสัญชาติไทยจำนวน 14 บริษัท ได้รับคะแนน CSA ทั่วโลกของ S&P สูงสุดระดับ 1% จาก Top Performing score ในกลุ่ม Gold ทั้งหมด 14 บริษัท ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่มีบริษัทได้รับการจัดอันดับ Gold มากที่สุด แบ่งเป็น 12 บริษัทที่จดทะเบียนใน SET อาทิ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) ได้รับคัดเลือก ในหมวดอุตสาหกรรมการค้าปลีก และ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (GC), บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) (AWC) บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS)

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (BJC), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS), บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ (SCC) บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (SCGP), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE), บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) (VGI) และ 2 บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนใน SET ได้แก่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด (mitr phol) และสุดท้าย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด หรือ (ThaiBev)

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทสัญชาติไทย 7 บริษัทที่ได้รับคะแนน CSA ทั่วโลกของ S&P สูงสุดระดับ 1% – 5% จาก Top Performing score ในกลุ่ม Silver แบ่งเป็น 6  บริษัทที่จดทะเบียนใน SET ได้แก่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ (BCP), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF), บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (CRC), บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (HMPRO), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT)  และ 1 บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนใน SET ได้แก่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CP)

ส่วนบริษัทสัญชาติไทยที่ได้รับคะแนน CSA ทั่วโลกของ S&P สูงสุดระดับ 5% – 10% จาก Top Performing score ในกลุ่ม Bronze จำนวน 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT), บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (BGRIM), บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC), บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  (MINT), บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)  (PTTEP) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TU)

อย่างไรก็ตาม ยังมีบริษัทสัญชาติไทยอีก 20 บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน S&P Global Yearbook 2024 ซึ่งมีผลคะแนนความยั่งยืนอยู่ในอันดับ 15% แรกของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันทั่วโลก และอยู่ในช่วง 30% ของบริษัทที่มีผลการดำเนินงานเป็นเลิศของกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (ADVANC) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL), บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (CBG), บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) (CENTEL), บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL), บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) (CPAXT), บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN), ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (CPNREIT), บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  (DELTA) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA)

รวมไปถึง บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (GLOBA) บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF), บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) (IVL), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB), บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC), บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) (OSP), บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCB), บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  (STGT), ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) (TTB) และ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (WHA)

สำหรับการจัดอันดับใน S&P Global Yearbook 2024 มีบริษัทที่เข้าร่วมการประเมินความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Assessment: CSA) จัดโดย S&P Global มากกว่า 9,400 บริษัท จาก 62 อุตสาหกรรมทั่วโลก โดยมีบริษัทเพียง 759 แห่งเท่านั้นที่ติดอันดับ Sustainability Yearbook โดย 1% สูงสุดในแต่ละอุตสาหกรรม

ทั้งนี้การประเมินของ S&P Global ต่างจากชุดข้อมูล ESG ที่ใช้เพียงข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งคะแนน S&P Global ESG ได้รับการแจ้งโดยเฉพาะจากการมีส่วนร่วมของบริษัทในเชิงลึกผ่านทาง การประเมินความยั่งยืนองค์กรระดับโลกของ S&P (CSA) ด้วยชุดข้อมูล ESG ที่ตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลสาธารณะที่เชื่อถือได้สำหรับทุกบริษัทที่เข้ารับการประเมิน นอกเหนือจากการวิเคราะห์สื่อและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก ESG โดยละเอียดก่อนที่จะเข้าถึงผู้อื่น

ขณะเดียวกัน S&P Global Sustainability Yearbook เป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับทุกคนที่สนใจในความยั่งยืน เป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัท ยังเป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในบริษัทที่ยั่งยืน

 

Back to top button