THCOM ส่งซิกรายได้ปี 67 โต 10% เปิดตัวธุรกิจ “Space Tech” เร่งสร้างดาวเทียมใหม่ 3 ดวง
THCOM ส่งซิกรายได้ปี 67 โต 5-10% ลุยแตกไลน์ธุรกิจใหม่ “Space Tech” และ “LEO” ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก พร้อมเดินหน้าสร้างดาวเทียมเพิ่มอีก 3 ดวงในอนาคต หนุนธุรกิจโตยั่งยืน
นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM เปิดเผยข้อมูลภาพรวมธุรกิจของบริษัทผ่านงาน Opportunity Day ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 กล่าวถึงภาพรวมในปี 2566 ธุรกิจได้กลับมา “เทิร์นอะราวด์” ส่งผลให้ผลการดำเนินงานปี 2566 บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 354 ล้านบาท เติบโต 738% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อนมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 42 ล้านบาท และ Net Margin เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ระดับ 1% เป็น 13% ในปี 2566 ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานในการตั้งเป้าไว้
ทั้งนี้ในส่วนของรายได้ในปี 2566 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 2,627 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีรายได้อยู่ที่ 2,940 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากดาวเทียม “ไทยคม4” ที่กำลังจะหมดออายุในช่วงปลายปี 2568 ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าบางรายหมดอายุการเป็นคู่ค้าไปด้วย อย่างไรก็ดีบริษัทได้มีการเตรียมจัดทำ “ไทยคม10” โดยตั้งเป้าเจาะกลุ่มตลาดใน 5 ประเทศ จึงสงผลให้ลูกค้าที่ไม่ได้อยู่ในไกด์ไลน์ของบริษัทได้หายไป อีกทั้งในสิ่งที่ THCOM กำลังทำอยู่นั้นคือการปรับพอร์ตรายได้ และโฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีการเติบโตดี อาทิ กลุ่มลูกค้าในประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เนื่องจากตลาดเหล่านี้เป็นตลาดที่บริษัทต้องการจะเข้าถึงให้ได้ และเมื่อรายได้ลด ส่วนของ EBITDA มีการปรับลดตามมา
นอกจากนี้ในส่วนของกำไรจากการดำเนินงาน (Core Profit) ในปี 2566 อยู่ที่ 217 ล้านบาท และเมื่อรวมกับกำไรในธุรกิจอื่นๆ จะอยู่ที่ 505 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2565 ที่อยู่ที่ 527 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ในส่วนของกำไรจาก “ไทยคม4” จะหายไปในบางส่วน แต่ยังคงสามรถที่จะควบคุม Core Profit ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาได้
“ในปี 2567 บริษัท ตั้งเป้าในส่วนของธุรกิจ SATCOM ที่จะสร้างรายได้ ให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่องในระยะสั้น อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากดาวเทียมที่มีอยู่ในมือ 4 ดวง และต่อยอดในส่วนของลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายที่ไปยังดาวเทียมไทยคม 9 ,9Aและ 10 ในอนาคตอีกด้วย” นายปฐมภพ กล่าว
นายปฐมภพ กล่าวอีกว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนมที่จะพัฒนาธุรกิจดาวเทียมหลักและเดินหน้าธุรกิจใหม่อย่าง “Space Tech.” อีกทั้งในช่วงปลายปี 2566 ได้มีการเปิดตัวธุรกิจ The first Low Earth Orbit (LEO) เป็น Gateway แห่งแรกในประเทศไทย และภูมิภาค CLMB ตั้งอยู่ ณ สถานีบริการ ภาคพื้นดินไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ที่ร่วมกับบริษัท โกลบอลสตาร์ (Globalstar, Inc.)
อนึ่งแม้ THCOM ว่าจะเซ็น 50% ของดาวเทียม “ไทยคม 10” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่บริษัทยังคงเดินหน้าในการคุยกับพันธมิตรเพื่อความมุ่งมันในการสร้างดาวเทียมอีก 3 ดวงในอนาคต อีกทั้งในส่วนของธุรกิจใหม่อย่าง “Space Tech.” เป็นธุรกิจที่มองว่ามีอนาคตยาวไกลและยั่งยืน ทั้งยังได้มีการผสมผสานระหว่าง Space Tech. และ ESG เข้าด้วยกัน ซึ่งมองว่าเป็นธุรกิจที่สามารถต่อยอดไปในระดับภูมิภาคได้ในอนาคต ซึ่งโฟกัสไปที่ 3 เรื่อง ได้แก่ PM 2.5, ประกันนาข้าว และ การใช้คาร์บอนในไทยและสปป. ลาว
“ส่วนของธุรกิจ LEO เราประสบความสำเร็จอย่างมากในการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทต่างประเทศ อีกทั้งได้เริ่มให้บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้วและได้รับความสนใจจากภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้บริษัทยังคงหาโอกาสในการร่วมงานกับเจ้าอื่นๆ อีกด้วย” นายปฐมภพ กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน ดร.ปิยะวัฒน์ จริยเศรษฐพงศ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการค้า THCOM เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทมีดาวเทียมอยู่ทั้งหมด 4 ดวงที่ใช้งานอยู่ใน 3 วงโคจร และยังคงสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทในปัจจุบัน โดย 2 ดวง เป็นของ THCOM ที่ได้บริหารจัดการอยู่ ได้แก่ ดาวเทียมไทยคม 7 และ ดาวเทียมไทยคม 8 ส่วนอีก 2 ตัว ได้ซื้อมาจากบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT: National Telecom (Public) Company Limited) ได้แก่ ดาวเทียมไทยคม 4 และ ดาวเทียมไทยคม 6
ขณะที่ในปี 2567 บริษัทตั้งเป้าเติบโต 5-10% และมีแผนการดำเนินงานที่จะมีดาวเทียมอีก 3 ดวง เริ่มต้นด้วยดาวเทียม “ไทยคม 10” ที่ได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และได้มีการเซนสัญญากับ “แอร์บัส” เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมาและในขณะนี้อยู่ระหว่างการสร้างดาวเทียมอยู่ในประเทศฝรั่งเศษ และคาดการณ์ว่าจะเริ่มให้ใช้บริการได้ในช่วงปลายปี 2570 จึงส่งผลให้ในช่วงปี 2568-2570 จะมีช่องว่างจากการที่ดาวเทียม “ไทยคม 4” หมดอายุในช่วงปลายปี 2568
ดังนั้นบริษัทจึงได้มีการสร้างดาวเทียมเพิ่มอีก 2 ดวง เพื่อเสริมความต่อเนื่องของการให้บริการแก่ลูกค้า และความต่อเนื่องของธุรกิจ ได้แก่ ดาวเทียมดาวขนาดเล็ก “ไทยคม 9” ที่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดการณ์จะสามารถยิงขึ้นสู่วงโครจรได้อีกในปี 2568 และมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 8 ปี โดยจะให้บริการในประเทศไทยและประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดหลัก นอกจากนี้ยังได้มีการตกลงกับทางฝั่งยุโรปในการลากดาวเทียมที่มีการใช้งานอยู่แล้วจากวงโคจรอื่นลากมาที่ตำแหน่ง 119.5E เพื่อมาใช้งานเป็นเวลา 2 ปี โดยเรียนว่าดาวเทียม “ไทยคม 9A” โดยได้ตั้งเป้างบลงทุนสำหรับดาวเทียมดาวใหม่ ได้แก่ ไทยคม9, ไทยคม 9A และ ไทยคม10 ในปี 2567 อยู่ที่ 100-120 ล้านบาท