สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 5 มี.ค. 2567
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 5 มี.ค. 2567
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (5 มี.ค. 67) ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ร่วงลงกว่า 1% ด้วยเช่นกัน โดยถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นเทคโนโลยีรายใหญ่ อาทิ หุ้นแอปเปิ้ล ขณะที่หุ้นชิปฉุดดัชนี Nasdaq ลงมากที่สุด ก่อนสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญและนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงนโยบายการเงินต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,585.19 จุด ลดลง 404.64 จุด หรือ -1.04%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,078.65 จุด ลดลง 52.30 จุด หรือ -1.02% และดัชนี NASDAQ ปิดที่ 15,939.59 จุด ลดลง 267.92 จุด หรือ -1.65%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบในวันอังคาร (5 มี.ค. 67) เนื่องจากหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวลงตามราคาโลหะ หลังจีนไม่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ขณะที่นักลงทุนรอการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซนและสหรัฐ รวมถึงการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์นี้
ดัชนี STOXX600 ปิดตลาดที่ระดับ 496.27 จุด ลดลง 1.14 จุด หรือ -0.23%, ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 7,932.82 จุด ลดลง 23.59 จุด หรือ -0.30%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 17,698.40 จุด ลดลง 17.77 จุด หรือ -0.10% และดัชนี FTSE100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,646.16 จุด เพิ่มขึ้น 5.83 จุด หรือ +0.08%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันอังคาร (5 มี.ค. 67) โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัย อาทิ กลุ่มเฮลท์แคร์ และกลุ่มสาธารณูปโภค
ดัชนี FTSE100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,646.16 จุด เพิ่มขึ้น 5.83 จุด หรือ +0.08%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (5 มี.ค. 67) โดยไม่ได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีมติขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจไปจนถึงไตรมาส 2/2567 เพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาด
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 59 เซนต์ หรือ 0.75% ปิดที่ 78.15 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 76 เซนต์ หรือ 0.92% ปิดที่ 82.04 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มขึ้นในการซื้อขายเมื่อวันอังคาร (5 มี.ค. 67) โดยตลาดยังคงขานรับการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคาดหวังว่า ธนาคารกลางในประเทศอื่น ๆ จะผ่อนคลายนโยบายการเงินในปีนี้ด้วย นอกจากนี้ ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยยังได้แรงหนุนจากความกังวลเรื่องสถานการณ์ขัดแย้งในตะวันออกกลาง โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นมากกว่า 300 ดอลลาร์แล้วนับตั้งแต่สงครามอิสราเอล-ฮามาสได้เปิดฉากขึ้น
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 15.60 ดอลลาร์ หรือ 0.73% ปิดที่ 2,141.90 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ขยับลง 0.70 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 23.984 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 17.10 ดอลลาร์ หรือ 1.89% ปิดที่ 887.20 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 26.50 ดอลลาร์ หรือ 2.72% ปิดที่ 946.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (5 มี.ค. 67) หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้ว่า การขยายตัวของภาคบริการสหรัฐชะลอตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB), การแถลงนโยบายการเงินของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรส และการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานเดือนก.พ.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้
ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.03% สู่ระดับ 103.799 โดยดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.4% สู่ระดับ 149.925 เยน ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลง 0.04% สู่ระดับ 1.08515 ดอลลาร์ หลังการเปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า กิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนบ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวในเดือนที่แล้ว ส่วนปอนด์แข็งค่า 0.09% สู่ระดับ 1.2702 ดอลลาร์ ก่อนอังกฤษเปิดเผยงบประมาณในวันพุธนี้ ขณะที่นายเจเรมี ฮันท์ รมว.คลังอังกฤษพยายามที่จะลดการคาดการณ์ที่ว่า จะมีการปรับลดภาษีครั้งใหญ่ก่อนการเลือกตั้งในอังกฤษ