ITEL ผนึก 6 พันธมิตร ยกระดับโครงข่าย “โทรคมนาคม” ระหว่างประเทศ

ITEL จับมือ 6 พันธมิตร ร่วงลงนามใน “โครงการ AseanConnect.One” ยกระดับโครงข่าย “โทรคมนาคม” ระหว่างประเทศในอาเซียน มุ่งให้บริการสื่อสารความเร็วสูงครบวงจร พร้อมรับมือการขยายตัวทางธุรกิจ


นายสุวัฒน์ ปุณณชัยยะ กรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ITEL ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศไทย ร่วมลงนามในโครงการ AseanConnect.One กับพันธมิตรบริษัทโทรคมนาคมและผู้ให้บริการศูนย์สำรองข้อมูลชั้นนำจาก 7 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อยกระดับโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศในอาเซียน พร้อมรับมือการขยายตัวทางธุรกิจ เสริมความแข็งแกร่งในตลาดและเพิ่มความได้เปรียบให้กับลูกค้า

โดยในก้าวย่างทางยุทธศาสตร์นี้ มีเป้าหมายเพื่อให้บริการสื่อสารความเร็วสูงแบบครบวงจร ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นเอกภาพในกลุ่มความร่วมมือและบริการที่ไร้รอยต่อ ช่วยให้ลดระยะเวลาในการติดตั้งให้บริการได้อย่างรวดเร็วกว่าที่เคยมีมา และการซ่อมบำรุงระบบแบบองค์รวม รองรับให้ลูกค้าทั้งบริษัทโทรคมนาคมและผู้ให้บริการ OTTs ในอาเซียนสามารถเข้าใช้บริการ AseanConnect.One ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

อนึ่ง บริษัทที่อยู่ในความร่วมมือครั้งสำคัญนี้ ได้แก่ ITEL, บริษัท เอพีที แซทเทิลไลท์ จำกัด (ฮ่องกง), บริษัท เอฟพีที อินเตอร์เนชั่นแนล เทเลคอม จำกัด (เวียดนาม), บริษัท นีโอคอม ไอเอสพี จำกัด (กัมพูชา), บริษัท เอ็นทีซี เอเชีย จำกัด (ฮ่องกง), บริษัท ซีแอ็ค โกลบอล พีทีอี จำกัด (มาเลเซียและสิงคโปร์) และบริษัท เทเลคอมมูนิคาซิ อินโดนิเซีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (อินโดนีเซีย)

โดยบริษัทชั้นนำข้างต้น เป็นบริษัทโทรคมนาคมและผู้ให้บริการศูนย์สำรองข้อมูล ที่จดทะเบียนในประเทศของตนเอง มีใบอนุญาตให้บริการการสื่อสารข้อมูล ซึ่งครอบคลุมบริการการสื่อสารผ่านสายเคเบิลในประเทศ บริการการสื่อสารผ่านสายเคเบิลระหว่างประเทศ และบริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม รวมถึงบริการศูนย์สำรองข้อมูลภายในภูมิภาคของบริษัท          ซึ่งบริษัทชั้นนำทั้ง 7 นี้ตกลงทำงานร่วมกัน เพื่อเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม และศูนย์สำรองข้อมูลในภูมิภาคอาเซียน โดยการรวมตัวกันภายใต้โครงการ AseanConnect.One

ทั้งนี้ ความร่วมมือในครั้งนี้จะผนึกบริการสื่อสารโทรคมนาคมและบริการศูนย์สำรองข้อมูลทั้ง 7 ประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว ทำให้มั่นใจได้ว่าบริการมีความเสถียรเชื่อถือได้ ส่งมอบให้บริการได้อย่างรวดเร็วกว่าที่เคยมีมา และบริการมีความยืดหยุ่นพร้อมประสิทธิภาพสูงสุดด้วยข้อได้เปรียบข้างต้นนี้ โดยผู้ให้บริการคอนเทนต์ผ่านอินเทอร์เน็ต (OTTs) สามารถส่งมอบคอนเทนต์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มั่นใจในการสตรีมคอนเทนต์อย่างราบรื่นสำหรับผู้ใช้งานในภูมิภาค

นอกจากนั้นความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์นี้ ไม่เพียงเพิ่มการเข้าถึงบริการและเพิ่มคุณภาพของบริการ OTT แต่ยังเป็นการบุกเบิกโซลูชั่นการมอบคอนเทนต์ใหม่ๆ ขับเคลื่อนการมีปฏิสัมพันธ์ของลูกค้าต่อคอนเทนต์และการเติบโตในภูมิทัศน์ธุรกิจดิจิทัลที่สดใสในอาเซียน

“โครงการ AseanConnect.One แสดงถึงช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาบริการการสื่อสารโทรคมนาคมและศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคของเรา ด้วยการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่สมาชิกในกลุ่มความร่วมมือมีร่วมกัน เรามั่นใจว่าจะสร้างมูลค่าและสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่มีใครเทียบให้กับลูกค้า ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในด้านดิจิทัลและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการให้บริการแบบวันสต็อปเซอร์วิส

 พร้อมข้อเสนอมาตรฐานการให้บริการ (SLA) ที่ดีเยี่ยมด้วยระบบการสื่อสารไร้พรมแดนที่รองรับโดยเครือข่ายสายเคเบิลบนพื้นดิน ใต้น้ำและดาวเทียมจำนวนมาก สร้างการประสานกันอย่างราบรื่น ส่งมอบบริการได้อย่างรวดเร็ว ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเริ่มยุคใหม่ของโซลูชันด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และศูนย์สำรองข้อมูล และผู้ให้บริการ OTT ในภูมิภาคอาเซียน” ตัวแทนจาก AseanConnect.One กล่าว

Back to top button